backup og meta

แผลที่ใกล้หาย ทำไมถึงคัน-คั้น-คัน?!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    แผลที่ใกล้หาย ทำไมถึงคัน-คั้น-คัน?!

    นี่เป็นสิ่งที่แทบทุกคนต่างต้องเคยเจอ เมื่อ แผลที่ใกล้หาย เกิดอาการคันขึ้นมาจนแทบห้ามใจให้เกาไม่ไหว ทำไมจึงเกิดอาการคันเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อแผลใกล้หาย? แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่มีหลายทฤษฎีที่อาจอธิบายได้ดังนี้

    กระบวนการของการสมานแผล

    ก่อนจะหาคำตอบของคำถามว่า ทำไมจึงเกิดอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย คุณควรทำความเข้าใจกระบวนการเยียวยาตนเองของแผล ผิวหนังเป็นปราการด่านแรก ในการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เปรียบเหมือนระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อบริเวณรอบๆ ถูกรุกราน จะเกิดสัญญาณเตือน ทำให้ร่างกายทำปฏิกิริยาบางอย่าง และเริ่มกระบวนการเยียวยา

    สี่ขั้นตอนในกระบวนการของการสมานแผล

  • ขั้นตอนแรกคือ การห้ามเลือด (hemostasis) หลังจากที่เส้นเลือดบีบแคบลง ทำให้เลือดไหลช้าลง เกล็ดเลือดจะเกาะกลุ่มกัน และเกิดเป็นลิ่มเลือดบริเวณบาดแผล การแข็งตัวของเลือดนี้เกิดขึ้นเมื่อเส้นใยในเลือดหรือไฟบริน (Fibrin) สร้างตาข่ายเส้นใย และดักเกล็ดเลือดกับเซลล์เม็ดเลือดแดงเอาไว้เพื่อสร้างเป็นลิ่มเลือด
  • ขั้นต่อไปคือขั้นอาการอักเสบ เกิดขึ้นในระหว่างที่ร่างกายเริ่มทำความสะอาดบาดแผล สิ่งสกปรกต่างๆ ถูกกำจัดออกไปจากบาดแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ระยะเพิ่มจำนวน คือขั้นต่อมาที่ร่างกายเริ่มสร้างเส้นเลือดใหม่และผิวหนังใหม่
  • ขั้นสุดท้าย คือขั้นของปรับตัวและฟื้นฟู เซลล์ที่ถูกทำลายจะได้รับการซ่อมแซม รวมถึงเซลล์ประสาทด้วย
  • ทำไมจึงเกิดอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย

    มีหลักการมากมายที่สามารถอธิบายการเกิดสะเก็ดแผลที่ทำให้คัน ในสะเก็ดแผลมีฮีสตามีน ที่ทำให้ผิวหนังรอบบาดแผลระคายเคือง แพทย์บางท่านคิดว่าเป็นกลไกของร่างกาย ในการกำจัดสะเก็ดแผลที่ไม่ต้องการอีกต่อไป เมื่อเกิดอาการคัน คุณมักเกา และสะเก็ดจะหลุดออก แต่ก็มีข้อบกพร่องในทฤษฎีนี้ เนื่องจากในบางครั้งอาการคันที่สะเก็ดแผล เกิดขึ้นก่อนที่แผลจะสมานเสียอีก

    ทฤษฎีที่สองเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนัง เมื่อร่างกายเริ่มเยียวยาตนเอง เส้นประสาทจะไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ เมื่อแผลเริ่มหาย สัญญาณต่างๆ อาจส่งผลกระทบ และสมองได้รับสัญญาณผิดประเภท จึงตีความว่าเป็นอาการคัน และทำให้ร่างกายต้องเกาสะเก็ดที่เกิดขึ้น

    อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ ในขณะที่แผลเริ่มสมาน สะเก็ดแผลจะดึงรั้งผิวหนังใหม่ ทำให้เกิดอาการคันที่บริเวณสะเก็ดแผล

    ประการสุดท้ายก็คือ สภาพผิวที่แห้งอาจเป็นสาเหตุของอาการคัน เมื่อมีแผลเกิดขึ้น ผิวหนัง เส้นประสาท และต่อมเหงื่อ จะได้รับความเสียหาย และไม่มีน้ำมัน จึงทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแห้ง

    การเกาจากอาการคัน

    วิธีที่ช่วยบรรเทาอาการคัน

    • ทาครีมฆ่าเชื้อทันที วิธีนี้สามารถช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และมีสะเก็ดเล็กลง ดังนั้น จะไม่เกิดอาการคันมาก การปิดแผลเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แผลสะอาดและป้องกันการติดเชื้อ
    • คุณอาจหาผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาท่ัวไป เช่น ครีมแก้อาการคัน หรือน้ำมันวิตามินอี เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาอาการคัน โดยการทาเบาๆ บริเวณแผล

    การปฐมพยาบาล

    หากคุณกำลังมีคำถามว่า “ทำไมถึงมีอาการคันเมื่อแผลใกล้หาย’ นั่นหมายความว่า แผลของคุณกำลังมีอาการดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี ในการช่วยให้แผลเยียวยาตัวเองได้ การปฐมพยาบาลในตอนแรกเป็นสิ่งสำคัญมาก และนี่คือวิธีการ

    • ห้ามเลือด โดยการกดแผลด้วยผ้าสะอาดอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 20-30 นาที หากคุณเอาผ้าที่ปิดแผลออก ลิ่มเลือดที่ปากแผลอาจหลุดออกมา และอาจทำให้เลือดไหลอีกครั้งได้ ควรไปพบหมอหากเลือดไม่หยุด
    • ทำความสะอาดแผล โดยการให้น้ำเย็นไหลผ่านแผล หากเป็นไปได้ ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่และซับแผลให้แห้ง
    • ทายาฆ่าเชื้อบางๆ บริเวณแผล เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
    • ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ควรปิดพลาเตอร์ตามแนวขวางชองแผลเสมอ ไม่ใช่ตามแนวยาว เมื่อแผลเริ่มหาย ควรเปิดแผลให้ได้รับอากาศ ไม่จำเป็นต้องปิดพลาสเตอร์ต่อ
    • เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกวัน หรือเมื่อผ้าที่ปิดแผลสกปรก หรือเปียก ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าปิดแผลต่อ หากแผลตกสะเก็ดแล้ว
    • เข้ารับการเย็บแผล หากแผลลึกกว่า 1/4 นิ้ว หรือมีขอบแผลที่ผิดปกติ และควรเข้ารับการเย็บแผลทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา