backup og meta

โยโย่ เอฟเฟค ผลของการลดน้ำหนักผิดวิธี ที่ ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

    โยโย่ เอฟเฟค ผลของการลดน้ำหนักผิดวิธี ที่ ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ

    การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเป็นรูปแบบการลดน้ำหนักที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีความรีบร้อนในการลดน้ำหนัก แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธี การลดอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ผลของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการที่น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงผันผวนอย่างรวดเร็วยังส่งผลต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โยโย่ เอฟเฟค ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ มาฝากกันค่ะ

    โยโย่ เอฟเฟค ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ อย่างไรบ้าง

    โยโย่ เอฟเฟค (Yoyo effect) คือ ผลที่เกิดจากการลดน้ำหนัก เช่น การลดน้ำหนักแล้วก็กลับมาอ้วนอีก ลดอีกแล้วก็กลับมาอ้วนอีก ทำให้น้ำหนักเกิดการผันผวน ซึ่งการจะกลับมาลดน้ำหนักอีกครั้งนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะไขมันสะสมที่มีจำนวนมาก และมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายเกิดความผิดปกติ ผลของโยโย่ เอฟเฟคนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ลดน้ำหนักยาก แต่โยโย่ เอฟเฟคส่งผลต่อสุขภาพหัวใจ ได้อีกด้วย

    โยโย่ เอฟเฟค ส่งผลต่อการเกิด โรคหัวใจ

    จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Catholic ของประเทศเกาหลีใต้ ที่ใช้ข้อมูลจากคนจำนวน 6,748,773 ที่มาจากข้อมูลระบบประกันสุขภาพของชาติ โดยศึกษากลุ่มคนที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไม่มีคอเลสเตอรอลสูง และไม่เคยเป็นเป็น โรคหัวใจ มาก่อน จากปี 2005 ถึง 2012 ได้ทำการติดตามน้ำหนัก ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอลของกลุ่มคนเหล่านี้พบว่า ผู้ที่มีน้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคหัวใจ

    น้ำหนักที่ผันผวนส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียด

    สำหรับบางคนที่อยู่ในช่วงลดน้ำหนัก แล้วมีการอดอาหาร หรือบริโภคอาหารน้อยกว่าปกติจะทำให้ร่างกายนั้น ทำงานอย่างหนัก เพื่อเผาผลาญไขมันและมวลกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอในการใช้ชีวิต ทำให้ร่างกายสามารถเกิดการอักเสบและมีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ซึ่ง คอร์ติซอล(Cortisol) เป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย เมื่อระดับคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลเสียในระยะยาวคือ จะทำให้น้ำหนักเพิ่ม เกิดความวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ระบบคอเลสเตอรอลเพิ่ม ความดันโลหิตเพิ่ม ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ เป็นสาเหตุหลักๆ ที่นำไปสู่ การเป็น โรคหัวใจ

    ลดน้ำหนักถูกวิธี เพิ่มสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

    ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วนั้น จะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว นักโภชนาการหลายๆ คนแนะนำให้ใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป จะส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่า เพราะร่างกายไม่เกิดความเครียดและร่างกายสามารถค่อยๆ ปรับตัวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป วิธีการต่างๆ เหล่านี้อาจช่วยลดการเกิดโยโย่ เอฟเฟค

  • ลดไขมันในร่างกาย
  • รักษามวลกล้ามเนื้อในร่างกาย
  • ไม่งดอาหารแต่จำกัดให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา