backup og meta

ยิ่งรู้จักยิ่งรัก “เผือก” พืชหัวมากประโยชน์ กินแล้วดีต่อสุขภาพสุดๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ยิ่งรู้จักยิ่งรัก “เผือก” พืชหัวมากประโยชน์ กินแล้วดีต่อสุขภาพสุดๆ

    เมื่อพูดถึงอาหารจาน “เผือก” อาจทำให้หลายคนรู้สึกคันคอขึ้นมาอย่างอดไม่ได้ เพราะอาการคันคอนั้นถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากเวลาที่เรากินเผือก แล้วก็เป็นสาเหตุให้ใครหลายคนยอมแพ้ เลิกกินเผือกไปโดยปริยาย จนต้องพลาดประโยชน์ดีๆ จากเผือกไป Hello คุณหมอ เลยมีเคล็ดลับกำจัดอาการคันจากการกินเผือก และประโยชน์สุขภาพของเผือกมาฝาก รับรองว่าต่อไปนี้ คุณจะกินเผือกได้อร่อยขึ้น และได้ประโยชน์จากเผือกเต็มๆ

    เรียนรู้สารอาหารใน เผือก

    เผือกต้ม 1 ถ้วย (132 กรัม) จะให้พลังงานทั้งหมด 187 กิโลแคลอรี่ ส่วนใหญ่เป็นพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต อีกทั้งเผือกยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย เช่น

    โดยวิตามินและแร่ธาตุที่เรากล่าวมาข้างต้นนั้น ในเผือกถือว่ามีปริมาณสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น ไฟเบอร์และวิตามินอีในเผือกต้มหนึ่งถ้วย มีปริมาณคิดเป็น 25% ของปริมาณแนะนำที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ซึ่งถือว่าเยอะมาก เมื่อเทียบกับปริมาณเผือกที่คุณกินเข้าไป เราจึงไม่อยากให้คุณมองข้ามพืชหัวดีๆ อย่างเผือก เพราะทั้งไฟเบอร์ วิตามินอี และสารอาหารอีกมายมายในเผือก ล้วนแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณทั้งสิ้น

    ประโยชน์สุขภาพของเผือก

    การบริโภคพืชหัวอย่างเผือกนั้นดีต่อสุขภาพของเราหลายด้าน ดังนี้

    อาจช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

    เผือกประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 2 ชนิดที่ดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นั่นคือ ไฟเบอร์และแป้งทนการย่อย ซึ่งไม่สามารถถูกย่อยด้วยเอนไซม์และไม่ถูกดูดซึมในลำไส้เล็กของเรา จึงผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่ โดยไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยชะลอการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตประเภทอื่นๆ จึงช่วยป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นๆ ลงๆ อย่างรวดเร็ว (Sugar spikes) หลังกินอาหารด้วย จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กินไฟเบอร์อย่างน้อย 42 กรัมต่อวัน จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ประมาณ 10 mg/dL

    อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

    ผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า หากคุณบริโภคไฟเบอร์เพิ่มขึ้นอีกวันละ 10 กรัม จะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ 17% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเป็นเพราะไฟเบอร์มีส่วนในการทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลง และไม่ใช่แค่ไฟเบอร์ แต่แป้งทนการย่อยและวิตามินอีในเผือกเองก็ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้เช่นกัน

    ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

    เผือกมีวิตามินซีสูง ซึ่งวิตามินซีช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างเม็ดเลือดขาว ที่คอยทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งวิตามินซียังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ได้ด้วย

    เผือก… มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

    เผือกมีสารที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพนานัปการ รวมถึงมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง หรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งด้วย โดยโพลิฟินอลที่พบในเผือกมีชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองหลายชิ้นพบว่า เควอซิทินสามารถกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตาย และชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้หลายชนิด นอกจากนี้ ในเผือกยังมีสารประกอบอีกมากมายที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเผยว่ามีส่วนทำให้เกิดมะเร็งได้

    ช่วยบำรุงสายตา

    เผือกมีสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย รวมถึงเบต้าแคโรทีนและคริปโตแซนทีน (Cryptoxanthin) ที่ขึ้นชื่อเรื่องช่วยบำรุงสายตา โดยการป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระทำร้ายเซลล์ หรือก่อให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม หรือต้อกระจก

    ช่วยในการลดน้ำหนัก

    เมื่อพูดถึงเผือกแล้ว หลายคนก็ต้องคิดว่าเผือกเป็นพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง คงไม่เหมาะนำมาบริโภคช่วงลดหรือควบคุมน้ำหนัก แต่ความจริงแล้ว เผือกนั้นเหมาะกับการลดน้ำหนักมาก เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง ซึ่งผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า คนที่กินไฟเบอร์เยอะ ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวและปริมาณไขมันในร่างกายน้อยกว่าคนที่ไม่ค่อยกินไฟเบอร์ นั่นอาจเป็นเพราะไฟเบอร์ช่วยทำให้อิ่มเร็วและอยู่ท้อง ส่งผลให้คุณไม่หิวบ่อย จึงกินได้น้อยลง และได้รับปริมาณแคลอรี่น้อยลงด้วย แต่ทั้งนี้ คุณก็ไม่ควรกินแต่เผือกอย่างเดียว หรือกินเผือกมากเกินไป เพราะอาจกลายเป็นได้ปริมาณแคลอรี่สูงกว่าเดิมได้

    ดีต่อสุขภาพลำไส้

    อย่างที่บอกไปแล้วว่าไฟเบอร์และแป้งทนการย่อย ไม่สามารถถูกย่อยด้วยเอนไซม์และไม่ถูกดูดซึมในลำไส้เล็กของเราได้ จึงผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ และช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ด้วย เมื่อลำไส้มีแบคทีเรียชนิดดีในปริมาณมากพอ ก็จะก่อให้เกิดกรดไขมันชนิดสายสั้นที่ดีต่อเซลล์ในลำไส้ และช่วยให้ลำไส้แข็งแรง ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และโรคลำไส้อักเสบจึงลดลง

    กินเผือกยังไงให้ปลอดภัย ไม่คันคอ

    หลายคนอาจไม่ชอบกินเผือก เพราะกินเผือกแล้วรู้สึกคันคอ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในเผือกดิบมีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) และแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ที่อยู่ในรูปแบบของผลึกรูปเข็มที่สามารถทิ่มแทงผิวหนังและเนื้อเยื่อในปากและคอของเรา จนทำให้เรารู้สึกคันได้

    ฉะนั้น หากคุณอยากกินเผือกแบบสบายใจไม่คันคอ คุณก็ต้องกำจัดกรดออกซาลิกและแคลเซียมออกซาเลตในเผือกออกให้หมดก่อนกิน เริ่มจาก…

    1. สวมถุงมือยาง ป้องกันคันมือ
    2. ล้างหัวเผือกในน้ำไหลผ่าน โดยต้องล้างให้สะอาด เอายางออกให้หมด เพราะในยางเผือกนั้นมีแคลเซียมออกซาเลตอยู่มาก
    3. หากยังไม่สะอาด สามารถขัดล้างหัวเผือกในน้ำเย็นอีกครั้งได้
    4. ปอกเปลือกเผือกให้เกลี้ยงจะได้ไม่มีสารแคลเซียมออกซาเลตตกค้างอยู่

    ส่วนกรดออกซาลิกนั้น คุณสามารถกำจัดออกได้ด้วยการต้มเผือกให้สุกเต็มที่ จากนั้นก็สามารถนำเผือกไปเชื่อม ผัด แกง ทอด ได้ตามต้องการ เพียงแค่นี้คุณก็สามารถดื่มด่ำกับเมนูเผือกสุดโปรดได้โดยไม่มีอาการคันคอ หรืออาจหลงเหลืออาการคันคอเพราะเผือกอยู่ได้บ้าง แต่ก็น้อยมากจนคุณแทบไม่รู้สึกด้วยซ้ำ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา