backup og meta

สูตรชาโกจิเบอร์รี่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/08/2020

    สูตรชาโกจิเบอร์รี่

    โกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อเรียก เก๋ากี้ นับว่าเป็นสมุนไพรที่เราสามารถพบเห็นกันได้บ่อย ๆ ในเมนูอาหารจำพวก แกงจืด ซุปตุ๋นยาจีน ข้าวผัด และของหวานอื่น ๆ เป็นต้น แต่บทความของ Hello คุณหมอวันนี้ ขอนำอีกเมนูหนึ่งในรูปแบบของเครื่องดื่มมาแนะนำ นั่นก็คือ สูตรชาโกจิเบอร์รี่ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่อาจมาพร้อมกับประโยชน์มากมาย บำรุงร่างกายของเราจากภายในสู่ภายนอก Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนให้ได้ลองทำรับประทานกันค่ะ

    ประโยชน์ทางสุขภาพของ โกจิเบอร์รี่

    ถึงแม้ว่าโกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ จะมีลักษณะ หรือขนาดของผลที่ค่อนข้างเล็ก แต่ก็กลับได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคทั่วโลกมิใช้น้อยในการนำมารับประทาน เพราะสารอาหารภายในโกจิเบอร์รี่ อาจสามารถให้ประโยชน์แก่ร่างกายของคุณได้ ดังนี้

    • ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

    ในโกจิเบอร์รี่ ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ วิตามินซี จำนวนมากที่มีบทบาทหน้าที่เข้าไปช่วยในเรื่องของการต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญยังอาจเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้เรานั้น เกิดการล้มป่วยได้อีกด้วย

    • ชะลอการเสื่อมสภาพของดวงตา

    ซีแซนทิน (Zeaxanthin) นับว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่ง ที่อาจมีส่วนช่วยในการส่งเสริมของด้านการมองเห็นให้กลับมามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้สายตาเสื่อมสภาพตามช่วงอายุ หรือผู้ที่มักเผชิญกับแสงแดดอยู่บ่อยครั้ง

    งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารของ American Academy of Optometry พบว่าผู้สูงอายุที่รับประทานน้ำโกจิเบอร์รี่เป็นเวลา 90 วัน มีระดับของสารซีแซนทิน และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ สูงขึ้น เพื่อที่จะพร้อมปกป้องดวงตาของพวกคุณจากสภาพแวดล้อมตลอดเวลา

    • บำรุงผิวพรรณ

    เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene) ที่ประกอบอยู่ใน เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่ อาจสามารถทำให้สุขภาพผิวของคุณนั้น ดูชุ่มชื้น เปล่งปลั่งขึ้น พร้อมทั้งยังมีผู้ผลิตมากมายที่ได้นำโกจิเบอร์รี่มาเป็นส่วนประกอบและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ให้มีการใช้งานได้สะดวกกว่าเดิม โดยทำการคิดค้นมาให้อยู่ในรูปแบบของครีม หรือโลชั่นบำรุงผิว จากภายนอกร่วมด้วยนั่นเอง

    ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

    ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) และ ซีแซนทิน (Zeaxanthin) อาจสามารถเข้าไปช่วยในการต่อต้าน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งได้ ทั้งนี้ยังมีการพบงานวิจัยชิ้นหนึ่งในวารสาร Design Design, Development and Therapy ที่ระบุไว้ว่าโกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ อาจช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้จริง และยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งชิดต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร ให้มีอาการที่ดีขึ้นได้

    โกจิเบอร์รี่

    สูตรชาโกจิเบอร์รี่

    ปัจจุบันโกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาเก็ต หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยคุณไม่จำเป็นต้องทำการนำแบบสดมาอบแห้งเองให้ยุ่งยาก ซึ่งในการทำชาโกจิเบอร์รี่นั้น สิ่งที่คุณควรเตรียมมีดังต่อไปนี้

    วัตถุดิบในการทำ ชาโกจิเบอร์รี่

    • โกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ อบแห้ง ¼ ถ้วย
    • น้ำร้อน 3 ถ้วย

    ขั้นตอนการทำ

  • ล้างโกจิเบอร์รี่แห้งในน้ำเย็นประมาณ 2-3 ครั้ง
  • สะเด็ดน้ำที่ผ่านการล้างออกให้หมาด ๆ และนำไปเทลงในหม้อต้ม หรือภาชนะที่ทนความร้อนแบบมีฝาปิด เช่น กาน้ำ เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า เป็นต้น
  • เทน้ำร้อนลงไป จากนั้นปิดฝา และทำการทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือจนกว่าเม็ด เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่จะลอยตัวขึ้นมา
  • เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ชาโกจิเบอร์รี่ไว้รับประทานยามว่าง ตามที่คุณต้องการ แต่ในกรณีที่คุณรู้สึกว่ารสชาติของชาค่อนข้างจืดชืดเกินไป คุณสามารถเปลี่ยนแปลงสูตร โดยอาจเพิ่มมะนาว เพื่อความเปรี้ยวลงไปเล็กน้อยได้

    ผลข้างเคียงจาก ชาโกจิเบอร์รี่ ที่คุณควรรู้

    การรับประทานชาโกจิเบอร์รี่ อาจทำให้ผู้บริโภคบางคนเกิดการย่อยได้ยาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่ค่อนข้างมีไฟเบอร์ในตัวสูง และอาจทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับของเรา อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่ไม่เหมาะแก่ผู้ที่กำลังรับประทานยาที่เกี่ยวข้องกับยาลดความดัน ยารักษาโรคเบาหวาน และยาที่ค่อนข้างเชื่อมโยงไปยังระบบไหลเวียนของเลือด

    ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย โปรดตรวจสอบสุขภาพของตนเอง หรือเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอว่า คุณสามารถรับประทานผลไม้ชนิดนี้ได้หรือไม่ เพราะหากผู้ป่วยท่านใดมีประวัติในการใช้ยาข้างต้นร่วมอยู่ ก็อาจทำให้เกิดข้างเคียงรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายของเราตามมาภายหลังได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา