backup og meta

โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) เป็นแล้วควรดูแลอาหารการกินยังไงดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis) เป็นแล้วควรดูแลอาหารการกินยังไงดี

    การกินอาหารนั้นสำคัญต่อสุขภาพมาก เราต้องเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ และเหมาะสมกับสภาวะร่างกายของตัวเอง ยิ่งหากคุณมีปัญหาสุขภาพหรือเป็นโรคใด ๆ อยู่ ก็ยิ่งต้องเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ ด้วย จะได้ช่วยให้คุณควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากพาคุณไปรู้จักกับอาหารที่เหมาะสมกับโรคหายากอย่าง โรคพังผืดในไขกระดูก ว่าควรกินยังไงถึงจะเหมาะสมกับโรคนี้ที่สุด เผื่อวันหนึ่ง คุณต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ จะได้สามารถจัดเตรียมอาหารการกินให้กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

    ทำความรู้จักกับ โรคพังผืดในไขกระดูก

    โรคพังผืดในไขกระดูก (Myelofibrosis หรือ MF) เป็นโรคมะเร็งไขกระดูกชนิดหายาก จัดอยู่ในกลุ่มของมะเร็งโลหิตวิทยา หรือมะเร็งเม็ดเลือด (Blood Cancers) ที่เรียกว่า กลุ่มโรคเม็ดเลือดสูง หรือกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ (Myeloproliferative neoplasm หรือ MPN) เมื่อเซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดพังผืด ทำให้ผู้ป่วยมีโลหิตจางรุนแรง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ม้ามและไตโตขึ้น

    โรคพังผืดในไขกระดูกนี้ หากเกิดขึ้นเองจะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกปฐมภูมิ (Primary Myelofibrosis) แต่หากเป็นผลมาจากโรคอื่น จะเรียกว่า โรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิ (Secondary Myelofibrosis) โดยโรคที่ทำให้เกิดโรคพังผืดในไขกระดูกชนิดทุติยภูมิได้ เช่น โรคเลือดข้น (Polycythemia Vera หรือ PV) โรคเกล็ดเลือดสูง (Essential Thrombocythemia หรือ ET)

    เป็นโรคพังผืดในไขกระดูกควรกินอย่างไร

    งานศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกจะมีสารก่อการอักเสบในร่างกายอยู่ในระดับสูง ทำให้ร่างกายเสี่ยงเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น และการอักเสบก็อาจส่งผลให้อาการของโรคแย่ลง หรือทำให้โรคลุกลามเร็วขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกจึงต้องเลือกกินอาหารให้เหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอักเสบในร่างกาย โดยอาหารที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกบริโภคและลดหรืองดบริโภค มีดังนี้

    อาหารที่ควรกิน

  • ผลไม้หลากชนิด
  • ผัก โดยเฉพาะผักใบเขียวเข้ม ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บร็อคโคลี ปวยเล้ง เคล คะน้า
  • พืชตระกูลถั่ว
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด หรือธัญพืชไม่ขัดสี
  • ไข่
  • น้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว
  • เนื้อปลา
  • เนื้อไก่
  • ผลิตภัณฑ์นมชนิดไขมันต่ำ
  • อาหารที่ควรเลี่ยง

    • อาหารแปรรูป
    • เนื้อแดง เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว
    • อาหารโซเดียมสูง
    • อาหารน้ำตาลสูง
    • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น นมสด ชีส
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป
    • ผักและผลไม้ที่ไม่ได้ล้างให้สะอาด

    อย่างไรก็ดี แม้ผู้เชี่ยวชาญจะเชื่อว่าการอักเสบเรื้อรังเกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดมากผิดปกติ อย่างโรคพังผืดในไขกระดูก เพราะทำให้อาการของโรคแย่ลง และทำให้โรคลุกลาม และแนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารที่ช่วยต้านการอักเสบให้มากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมอาการและช่วยชะลอการลุกลามของโลก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่า อาหารเหล่านี้ช่วยรักษาโรคพังผืดในไขกระดูกได้

    ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจกินอาหารใด ๆ ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน แพทย์จะได้แนะนำชนิดของอาหารและรูปแบบการกินอาหารที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 29/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา