backup og meta

ไนอะซินาไมด์ ส่วนผสมเพื่อผิวหน้า สวยครบจบในหนึ่งเดียว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2020

    ไนอะซินาไมด์ ส่วนผสมเพื่อผิวหน้า สวยครบจบในหนึ่งเดียว

    เชื่อว่าสาวๆหลายคน คงกำลังมองหาผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ที่ตอบโจทย์ครบทุกปัญหาผิว ไนอะซินาไมด์ตัวช่วยของผิวหน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ ผิวอ่อนแอ และริ้วรอย ไนอะซินาไมด์ส่วนผสมยอดนิยมในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่วโลก ที่แก้ไขปัญหาผิวให้กับสาวๆ ด้วยคุณสมบัติครอบคลุมที่ผ่านการทดสอบโดยแพทย์ผิวหนัง จึงมั่นใจได้ว่า ไนอะซินาไมด์ หนึ่งในส่วนผสมเพื่อผิวหน้าตัวเดียว สามารถทำให้สาวๆสวยครบ จบทุกปัญหาผิว

    ทำความรู้จักกับ ไนอะซินาไมด์

    ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า นิโคตินาไมด์ (Nicotinamide) เป็นวิตามินละลายในน้ำที่มีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาผิวได้อย่างดีเยี่ยม ทนต่อแสงแดด ความร้อน ความชื้นได้เป็นอย่างดี มีโอกาสที่จะเกิดการระคายเคืองต่อผิวต่ำ ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหลายราย นิยมนำไนอะซิมาไมด์มาผสมลงในผลิตภัณฑ์ของตน

    สาวๆต้องสังเกตความเข้มข้นของสารตัวนี้ในผลิตภัณฑ์ให้ดี เพราะถึงแม้สารตัวนี้จะมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม ต้องมีความเข้มข้นตั้งแต่ 2% ขึ้นไป เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพต่อผิว หากผลิตภัณฑ์ใดใส่สารตัวนี้แบบเจือจาง อาจจะไม่ครอบคลุมปัญหาผิวของสาวๆ

    บอกลา ผิวหน้าหมองคล้ำ

    ปัญหาผิวหน้าหมองคล้ำ และสีผิวไม่สม่ำเสมอ เป็นปัญหากวนใจสาวๆ หลายคน เพราะไม่ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ใด ก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้เสียที ลองให้คุณสาวๆได้ใช้สารที่ออกฤทธิ์เพื่อให้ความกระจ่างใสอย่างไนอะซินาไมด์ ที่ช่วยจัดการปัญหาดังกล่าว ด้วยการขัดขวางไม่ให้เมลาโนโซม (Melanosome) ที่เป็นแคปซูล บรรจุสารเมลานินลงไปในเซลล์ผิว

    ผลจากทดสอบด้วยการทา ที่ความเข้มข้น 5% เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า สารตัวนี้ออกฤทธิ์ให้ผิวกระจ่างใสและลดเลือนจุดด่างดำได้ สาวๆจึงคาดหวังผลกับสารตัวนี้ได้ว่า หากทาในความเข้มข้นที่เพียงพอแล้ว ผิวหน้าของคุณจะสว่างกระจ่างใสขึ้น

    ตัวช่วยหยุดปัญหา สิวอักเสบ

    สิวอักเสบ เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบจัดการ เนื่องจากส่งผลเสียต่อผิวอย่างมาก เพราะผลิตภัณฑ์รักษาสิวในปัจจุบันส่วนใหญ่ส่งผลข้างเคียงที่ทำร้ายผิว เช่น การทำให้ผิวหน้าแห้งจุดเริ่มต้นของริ้วรอย หรือก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองต่อผิว เนื่องจากยารักษาสิวมีฤทธิ์ในการรักษาค่อนข้างรุนแรง แต่ไม่ใช่กับไนอะซินาไมด์

    เนื่องจากไนอะซินาไมด์ สารตัวนี้มีฤทธิ์ให้ความชุ่มชื้น อีกทั้งมีอัตราการระคายเคืองผิวต่ำ แต่ยังสามารถช่วยรักษาปัญหาผิวอักเสบได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการดื้อยา จากการทดสอบใช้ไนอะซิมาไมด์ที่มีความเข้มข้น 4% เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในผู้ที่เป็นสิวพบว่า ช่วยลดความรุนแรงของสิว รวมไปถึงสามารถลดรอยแผลที่เกิดจากสิวได้ ไนอะซิมาไมด์จึงเป็นเลือกที่น่าสนใจในการลดความรุนแรงของสิวอักเสบบนใบหน้าได้อย่างดีเยี่ยม

    ดูแลผิวอ่อนแอ

    ผิวอ่อนแอ เป็นปัญหาผิวส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากจากการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด ที่ทำลายเกราะป้องกันผิวและกรดไขมันอิสระบนผิว (Free fatty acid) ดังนั้นตัวช่วยที่จะทำให้ผิวของสาวๆ กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง ก็คือ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของเกราะป้องกันผิว

    จากการทดสอบด้วยการทาไนอะซิไมด์ที่ความเข้มข้น 2% เป็นเวลา 2-8 สัปดาห์ ให้ผลลัพธ์ในเรื่องของความชุ่นชื้นและยืดหยุ่น เพราะช่วยเพิ่มปริมาณกรดไขมันอิสระ และเซราไมด์ (Cerammide) ส่งเสริมความแข็งแแรงของกำแพงผิวหนัง ที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันผิวจากสิ่งแปลกปลอม พร้อมทั้งลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนัง จึงช่วยให้ผิวของสาวๆกลับมาสวยสดใส และมีความแข็งแรง

    จัดการ ริ้วรอย ปัญหากวนใจ

    ปัญหาริ้วรอยบนใบหน้าของสาวๆ เกิดจากได้หลายสาเหตุ ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น และมลภาวะที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน ทำให้ปัญหานี้เป็นปัญหากวนใจที่สาวๆหลายคนต้องการแก้ไข ทางเลือกหนึ่งสำหรับปัญหาริ้วรอย คือ การเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างผิว และส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีนในชั้นผิว

    ไนอะซินาไมด์ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับปัญหาริ้วรอย เพราะสามารถลดการสูญเสียน้ำทางผิวหนัง พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว นำไปสู่การสังเคราะห์โปรตีนหลายชนิดที่ช่วยเติมเต็มร่องริ้วรอย และเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวที่มีอายุมาก ผลของสารตัวนี้ จะช่วยเติมเต็มริ้วรอย หรือ จัดการกับปัญหาผิวหย่อนคล้อยที่สาวๆต้องเผชิญ

    แต่ถึงไนอะซินาไมด์จะมีผลลัพธ์ที่ครอบจักรวาลช่วยแก้ปัญหาผิว ก็ต้องอาศัยระยะเวลาในการออกฤทธิ์ด้วย สาวๆจึงต้องหมั่นดูแลผิวให้ดี เพื่อบอกลาทุกปัญหาผิวบนใบหน้า เผยผิวสวยและเนียนนุ่ม ดูงดงามชวนมองอีกครั้ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ศศวัต จันทนะ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา