backup og meta

ปัญหาฟันผุ ป้องกันได้ด้วยยาสีฟันที่เหมาะสม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/10/2021

    ปัญหาฟันผุ ป้องกันได้ด้วยยาสีฟันที่เหมาะสม

    คุณรู้ไหมว่า การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี ถือเป็นจุดเริ่มต้นง่าย ๆ ในการดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นมีมากมาย และปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย แต่หลายคนอาจจะยังละเลย เพราะคิดว่าไม่ใช่เรื่องรุนแรงอะไรก็คือ ปัญหาฟันผุ นั่นเอง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดแบบนี้ เราบอกเลยว่า คุณกำลังคิดผิด! เพราะ ฟันผุ ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ยิ่งปล่อยไว้ก็ยิ่งทำร้ายสุขภาพ ว่าแต่ฟันผุส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร แล้วเราจะรักษาหรือป้องกันฟังผุได้ด้วยวิธีไหนบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลย

    “ฟันผุ” ไม่ใช่แค่ “ฟันเป็นรู”

    ฟันผุ เป็นภาวะที่พื้นผิวของฟันถูกทำลายถาวร จนเกิดเป็นรูหรือโพรงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แบคทีเรียในช่องปาก การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล การแปรงฟันผิดวิธี การใช้ยาสีฟันที่ไม่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า ฟันผุก็แค่ฟันเป็นรู ดูไม่สวยงาม หรือแค่ทำให้รับประทานอาหารลำบากขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว หากคุณปล่อยไว้นานวันเข้า จากรูฟันผุที่คุณเคยคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็อาจทำร้ายสุขภาพของคุณได้มากจนคุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

    ภาวะฟันผุ นอกจากจะทำให้เกิดรูหรือโพรงที่เนื้อฟันแล้ว ยังอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ด้วย

    • อาการปวดฟัน
    • อาการเสียวฟัน
    • อาการบวมบริเวณฟันซี่ที่ปวด
    • ฟันถูกทำลายหรือฟันหัก
    • ปัญหาในการเคี้ยวอาหาร
    • ฟันที่ซี่ผุหลุดออก จนฟันซี่ข้าง ๆ เคลื่อน

    หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา ปัญหาฟันผุอาจรุนแรงขึ้น จนคุณเจ็บปวดจนใช้ชีวิตลำบาก ร่างกายขาดสารอาหารเพราะเคี้ยวไม่ได้ ฟันหักหรือฟันหลุดจนสูญเสียความมั่นใจ และในบางครั้ง อาจทำให้เกิดฝีหนองที่รากฟันจนคุณต้องรักษารากฟัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หรืออาจนำไปสู่โรคในช่องปากที่ร้ายแรงกว่า เช่น โรคปริทันต์ รวมถึงโรคเกี่ยวกับอวัยวะอื่น ๆ ที่คุณอาจคาดไม่ถึง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด ที่อาจส่งผลให้อวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทำงานล้มเหลว จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และไม่ใช่แค่ไหน เพราะ ฟันผุ ยังทำให้อาการของโรคหัวใจและโรคเบาหวานแย่ลงได้

    ปัญหาฟันผุ… แค่อุดฟันไม่พอ ต้องป้องกันวิธีอื่นด้วย

    เมื่อเกิดปัญหาฟันผุ หากอาการอยู่ในช่วงเริ่มต้น แพทย์จะแนะนำให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ แต่หากฟันเริ่มเป็นรู ส่วนใหญ่จะต้องรักษาด้วยการอุดฟัน หรือถ้าฟันผุรุนแรงกว่านั้น อาจต้องรักษารากฟัน หรือถอนฟันซี่ที่ผุออกแล้วใส่ฟันปลอมแทน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ต้องใช้เวลาทำนาน แต่ยังมีค่าใช้จ่ายสูงด้วย

    วันนี้ เราเลยมี วิธีป้องกันและรับมือกับฟันผุที่ทำได้ง่ายมาก ๆ แถมราคาถูกกว่ามาฝาก นั่นก็คือ…

    การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนิดที่มีฟลูออไรด์ขั้นสุด คือ 1,500 PPM ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดที่สามารถใส่ในยาสีฟันได้ จึงสามารถช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่า ยิ่งยาสีฟันมีฟลูออไรด์สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งป้องกันฟันผุได้ดีขึ้นเท่านั้น ฟลูออไรด์มีหน้าที่ช่วยเข้าไปเคลือบฟันให้แข็งแรง ทั้งยังช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ แถมยังมีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับการที่คุณปล่อยให้ปัญหาฟันผุลุกลามจนต้องรักษาด้วยวิธีอื่น เพราะฟันแท้มีแค่ชุดเดียว เราจึงควรดูแลให้ดีที่สุดฟันจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ

    การเลือกยาสีฟัน นอกจากจะเลือกชนิดที่มีฟลูออไรด์ขั้นสุด 1,500 PPM แล้ว คุณจะต้องดูด้วยว่า มีสาร IPMP ที่ช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย และซิลิก้า (Silica) ที่ช่วยขจัดคราบอาหาร และลดคราบบนผิวฟันหรือเปล่า เพราะหากมีสารประกอบครบทั้งสามตัวในยาสีฟัน ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุและดูแลสุขภาพช่องปากให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

    นอกจากการเลือกยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ และสารประกอบที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้ว วิธีต่อไปนี้ก็ช่วยป้องกันฟันผุให้คุณได้เช่นกัน

  • ลดหรืองดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม น้ำอัดลม
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อฟัน เช่น ผักและผลไม้สด
  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือตามแพทย์นัด
  • ใครที่มีปัญหาฟันผุ แนะนำให้รีบไปพบทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด แต่ทางที่ดีที่สุด เราอยากให้คุณหันมาป้องกันฟันผุด้วยวิธีง่าย ๆ ที่เราแนะนำไปข้างต้น เพราะสุขภาพช่องปากที่ดี เป็นจุดเริ่มต้นสู่สุขภาพกายใจที่แข็งแรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/10/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา