backup og meta

ปวดในช่องปาก..อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2023

    ปวดในช่องปาก..อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของ ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

    ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint หรือ TMJ) เกิดขึ้นบริเวณขากรรไกรและกล้ามเนื้อใบหน้า ที่ควบคุมขากรรไกร เพื่อทำความรู้จักกับอาการผิดปกตินี้ ลองอ่านข้อมูลที่นำเสนอต่อไปนี้

    สาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

    นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ข้อสันนิษฐานที่ดีที่สุดก็คือ อาการอาจเกิดขึ้นจากขากรรไกรและกล้ามเนื้อโดยรอบ อาการบาดเจ็บที่ขากรรไกรและบริเวณที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้เช่นกัน สาเหตุอื่นๆ ยังมีปัญหาข้ออักเสบ การกัดฟัน ความเครียด และการเลื่อนของกระดูกบริเวณข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูก

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

    หากคุณมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร คุณอาจรู้สึกปวดและไม่สบายในช่องปาก บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรัง ขณะที่บางรายอาการอาจเกิดเพียงชั่วคราว ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรมาพร้อมกับอาการปวดบริเวณใบหน้า และขากรรไกร รวมถึงคอและไหล่ อาจลามไปถึงหูเมื่อคุณเคี้ยว พูด หรือเปิดปากกว้าง คุณอาจรู้สึกเหมือนขากรรไกรล็อค และอาจเกิดเสียงแปลกๆ ขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหว คุณอาจพบปัญหาทางการเคี้ยวหรือกัด นอกจากนี้ แก้มอาจบวมข้างเดียว อาการอื่นๆ ได้แก่ ปวดฟัน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดคอ ปวดหู ปัญหาทางการได้ยิน ปวดไหล่ช่วงบนและมีเสียงอื้อในหู (tinnitus)

    วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

  • -พักการใช้ขากรรไกร ทานอาหารนิ่มๆ เช่น โยเกิร์ต มันบด ชีส และซุป หั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเคี้ยวมาก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง กรอบ หรือเหนียว
  • อย่าหาวมากเกินไป อาจฟังดูเป็นวิธีการที่แปลก แต่เมื่อคุณเกิดอาการ การอ้าปากหาวสามารถทำให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงได้ ดังนั้น หากคุณหาว พยายามอย่าอ้าปากกว้าง และนำไปปรับใช้กับการตะโกนหรือร้องเพลงได้ กฎหลักก็คือไม่ควรเปิดปากกว้างเกินไป
  • ถือโทรศัพท์มือถือด้วยมือหรือใช้อุปกรณ์ช่วยขณะคุยโทรศัพท์ อย่าหนีบโทรศัพท์ไว้ระหว่างไหล่และหู และหยุดพฤติกรรมการเท้าคาง
  • พยายามไม่ขบฟันเพื่อลดแรงกดที่ขากรรไกร หากคุณขบฟันมากๆ ใช้ลิ้นแทรกระหว่างฟันเพื่อควบคุมการหุบแน่น
  • ใส่ฟันยาง หากคุณนอนกัดฟันในช่วงกลางคืน อาจปรึกษาแพทย์เพื่อของฟันยาง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติกเพื่อช่วยแยกฟันบนและฟันล่างออกจากกัน ไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันการกัดฟันแล้ว ยังช่วยจัดเรียงฟันให้สวยอีกด้วย
  • ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรจำเป็นต้องรักษาหรือไม่

    อาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต คุณสามารถใช้ยาบรรเทาอาการปวดที่แพทย์สั่ง หรือหาซื้อยาระงับปวดที่ไม่มีสารสเตียรอยด์มารับประทานได้ โดยยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ในการระงับปวดและบวม ซึ่งช่วยให้คุณสามารถรับประทานอาหารได้ดีขึ้น คุณสามารถซื้อยาระงับปวดได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือซื้อตามใบสั่งยาจากแพทย์เพื่อให้ได้ปริมาณยาที่มากขึ้น ในกรณีที่อาการปวดรุนแรง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา