backup og meta

ตาแพ้แสง อาการ และวิธีป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/12/2021

    ตาแพ้แสง อาการ และวิธีป้องกัน

    ตาแพ้แสง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากดวงตามีความไวต่อแสงต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลในเรื่องของการมองเห็น นอกจากนั้นมันยังสามารถส่งผลไปยังสมอง จนอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้นำบทความเรื่องอาการตากลัวแสงมากฝากกัน

    ตาแพ้แสง คืออะไร

    ตาแพ้แสง (Photophobia) คือ อาการที่ตามีความไวต่อแสงมาก ๆ ไม่สามารถทนต่อแสงทุกประเภทได้ ไม่ว่าจะเป็น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงสว่างภายในอาคาร ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บปวดขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วแสงยังทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ หรืออาการอื่นๆ ที่เกิดจากแสงได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่มีดวงตาสีอ่อนมักจะมีความไวต่อแสงมากกว่าคนที่มีดวงตาสีเข้ม ความจริงแล้วอาการปวดไมเกรนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการตากลัวแสง ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่จึงมีอาการตากลัวแสงประกอบด้วย

    อาการตาแพ้แสง

    โดยปกติแล้วอาการแพ้อาจเชื่อมโยงกับการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ในดวงตาที่ทำหน้าที่ตรวจจับแสงและเส้นประสาทไปที่ศีรษะ ไมเกรนเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความไวแสงถึง 80% ซึ่งไมเกรนอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยเกิดจากปัจจัยหลายประการรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาหาร ความเครียด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเกิดขึ้น นอกจากนั้นแล้ว อาการไมเกรนยังอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย อาการตาแพ้แสงยังอาจส่งผลต่อสมองและต่อตาได้อีกด้วย

    อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อสมอง

    • สมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบเกิดขึ้นเมื่อสมองเกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือสาเหตุอื่น ๆ ความรุนแรงของโรคไข้สมองอักเสบ อาจคุกคามชีวิตได้
    • อาการไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง การติดเชื้อแบคทีเรียลักษณะนี้สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น สมองถูกทำลาย สูญเสียการได้ยิน เกิดอาการชัก จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
    • เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Subarachnoid Hemorrhage) อาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เกิดขึ้นจากการมีเลือดออกระหว่างสมองและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของสมอง โรคหลอดเลือดสมอง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    อาการตาแพ้แสงที่ส่งผลต่อดวงตา

    • กระจกตาถลอก การขัดกระจกตาเป็นการบาดเจ็บที่กระจกตาชั้นนอกสุดของตา การบาดเจ็บประเภทนี้ถือเป็นเรื่องปกติและอาจเกิดขึ้นได้หากคุณได้รับทราย สิ่งสกปรก โลหะ หรือสารอื่น ๆ เข้าสู่ดวงตา หากกระจกตาติดเชื้อมันจะส่งผลทำให้เกิดภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า “แผลในกระจกตา”
    • ตาขาวอักเสบ (Scleritis) เกิดขึ้นเมื่อส่วนสีขาวของดวงตาอักเสบ โดยส่วนตาขาวอักเสบนั้นมักเกิดจากโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาการปวดตา น้ำตาไหล และการมองเห็นไม่ชัด
    • ตาแดง เกิดขึ้นจากเยื่อบุชั้นเนื้อเยื่อที่ปกคลุมส่วนสีขาวของดวงตาติดเชื้อหรืออักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส แต่ก็สามารถเกิดจากแบคทีเรีย และอาการแพ้ ได้เช่นกัน ส่งผลให้เกิดอาการคัน ตาเป็นสีแดง และปวดตา

    ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการตาแพ้แสง

    หากสงสัยว่ากำลังมีอาการตาแพ้แสง สิ่งที่ดีที่สุด คือ การไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพดวงตาและสมอง ซึ่งการทดสอบของคุณหมอ อาจรวมถึงการทดสอบต่าง ๆ เหล่านี้

    • ตรวจตาด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์พิเศษที่มีแสงส่องสำหรับตรวจดวงตา
    • ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งใช่แม่เหล็กและคลื่นวิทยุอันทรงพลัง เพื่อสร้างรายละเอียดของดวงตา
    • ตรวจสอบปริมาณน้ำตา เพื่อดูว่าตาแห้งหรือไม่

    นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

    • ใช้ยาหยอดตา เพื่อบรรเทาอาการตาแพ้แสง
    • รับประทานยาแก้ปวด เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะ เช่น อะเซตามิโนเฟน (ฤcetaminophen) หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
    • สวมแว่นกันดด สวมแว่นตาย้อมสี หมวก เพื่อลดการเปิดรับแสงของดวงตา แต่แว่นตาย้อมสีอาจไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอจะเป็นการดีที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา