backup og meta

สัญญาณเตือนของดวงตา ที่เป็นสัญญาณของการเกิด โรคต้อกระจก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/08/2020

    สัญญาณเตือนของดวงตา ที่เป็นสัญญาณของการเกิด โรคต้อกระจก

    ดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นอย่างมากในชีวิตคนเรา และถึงแม้ว่าคุณไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพตา แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่างในการใช้ชีวิต เช่น การใช้สายตาในชีวิตประจำวัน หรืออายุที่มากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น การเป็นโรคตาอย่าง ต้อกระจก (Cataracts) ซึ่งเป็นโรคตาที่หลายคนต่างเป็นกังวล ตามหลักแล้วก่อนการเกิดโรคต้อกระจก มักจะมี สัญญาณเตือนของดวงตา ที่อาจสื่อถึงอาการหรือการเกิดต้อกระจกได้ แล้วสัญญาณเหล่านั้นจะเกิดขึ้นในรูปแบบใดบ้าง ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝาก

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจก

    ในชีวิตประจำวัน เมื่อคุณต้องใช้สายตาในการอ่านหนังสือ ทำงาน หรือแม้แต่การมองธรรมชาติในทุก ๆ วัน และด้วยอายุที่มากขึ้น ส่งผลให้โปรตีนภายในดวงตารวมตัวกันแล้วเปลี่ยนเลนส์กระจกตาจากที่ใสๆ ให้เป็นขุ่นได้ นอกจากนั้นแล้วยังมีพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ดังนี้

    ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่อาจจะสื่อถึงการเกิด โรคต้อกระจก โดยสัญญาณต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา มีดังต่อไปนี้

    สัญญาณเตือนของดวงตา ที่อาจบ่งบอกว่าคุณอาจเป็น โรคต้อกระจก

    วิสัยทัศน์ในการมองเห็นเลือนลางหรือพร่ามัว

    ต้อกระจกจะเริ่มจากจุดเล็กๆ ซึ่งยังอาจมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการมองเห็น สิ่งต่างๆ อาจดูพร่ามัวหรือเลือนลางเพียงนิดหน่อย บางครั้งวิสัยทัศน์ที่คุณมองเห็นอาจจะดูเหมือนภาพวาดอิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist Painting) หรือภาพวาดจากสีน้ำนั่นเอง

    เมื่อเวลาผ่านไปผลกระทบนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โลกของคุณอาจจะดูพร่ามัวหรือสลัวมากขึ้น นอกจากนั้นการอ่านหนังสือพิมพ์ หรือการอ่านฉลากยาที่มีตัวหนังสือเล็ก ๆ จะยากขึ้น แม้จะใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ก็ตาม

    มีปัญหาการมองเห็นในตอนกลางคืน

    เมื่อต้อกระจกมีการพัฒนาอาการก็จะเริ่มเกิดรอยคล้ำ ที่เป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลเกิดขึ้นที่ดวงตา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในเวลากลางคืน ทำให้การทำกิจกรรมในช่วงกลางคืนยากขึ้น เช่น การขับรถ

    หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นต้อกระจก ควรระวังอย่างมากในเวลากลางคืน ทางที่ดี่ไม่อย่าขับรถเมื่อเริ่มมองเห็นได้ไม่ดี

    ความสามารถในการมองเห็นสีลดลง

    เนื่องจากดวงตาเริ่มขุ่นมัว จึงทำให้การมองเห็นสีที่มีชีวิตชีวาลดน้อยลง แต่การมองเห็นสีลดลงนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ทั้งยังทำให้ความสามารถในการบอกความแตกต่างของสีลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะไม่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน จนกว่าจะได้รับการผ่าตัดเพื่อทำการรักษาต้อกระจก

    ดวงตาไวต่อแสงที่จ้า

    อาการดวงตาไวต่อแสงเป็นอาการทั่วไปของต้อกระจก แสงจ้าอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นต้อกระจกแบบที่มีเลือดออกใต้เปลือกหุ้มตา (Subcapsular) ซึ่งต้อกระจกประเภทนี้จะเริ่มต้นอาการจากด้านหลังของเลนส์ปิดกันทางของแสง และมักจะรบกวนการมองเห็น

    ขับรถตอนกลางคืนลำบาก

    ต้อกระจกทำให้ยากต่อการรักษาสมดุลระหว่างความมืดและแสงสว่างที่เกิดจากการจราจร ดังนั้น ผู้ที่มีอาการเหล่านี้มักจะประสบปัญหาในการขับรถตอนกลางคืนเป็นอย่างมาก หากไฟหน้าหรือแสงที่ส่องเข้ามาที่ตาทำให้คุณเกิดอาการปวดหัว คุณอาจจำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

    ใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์บ่อย

    หากพบว่าตัวเองต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์บ่อยขึ้น ให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นต้อกระจก นอกจากนั้นถ้าสายตาของคุณมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันทีเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะคุณอาจจะเป็นต้อกระจกหรืออาจจะมีปัญหาทางตาอื่นๆ ซึ่งเมื่อตรวจเจอเร็วก็จะได้รับการรักษาที่รวดเร็วไปด้วย

    มีปัญหาในการอ่านหนังสือที่มีความละเอียด

    ต้อกระจกจะทำให้โปรตีนภายในดวงตาจับเป็นก้อน จึงส่งผลให้การอ่านหนังสือที่มีการพิมพ์แบบละเอียด มีตัวหนังสือขนาดเล็กการเป็นเรื่องที่ลำบากสำหรับคุณ นอกจากนั้นถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ทางไกล นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าดวงตาของคุณกำลังจะเป็นต้อกระจก

    มองเห็นภาพซ้อน (Diplopia)

    การมองเห็นภาพซ้อนก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของโรคต้อกระจก การมองเห็นภาพซ้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แม้ใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวมอง ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเมื่อต้อกระจกมีขนาดโตขึ้น นอกจากนั้นการมองเห็นภาพซ้อนยังอาจสื่อถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้

    อย่างไรก็ตาม หากคุณสังเกตพบว่า ตนเองเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพดวงตา หรือพบว่ามีสัญญาณอาการผิดปกติใดๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น โปรดเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์จักษุเฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา