backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ฝี สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/06/2022

ฝี สาเหตุ อาการ และการรักษา

ฝี เป็นตุ่มหนองสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ลักษณะคล้ายสิว หากอักเสบอาจขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสัมผัสอาจรู้สึกเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน หากเป็นฝีควรไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี

คำจำกัดความ

ฝี คืออะไร 

ฝี เป็นตุ่มหนองสะสมใต้ชั้นผิวหนัง ลักษณะคล้ายสิว หากอักเสบอาจขยายใหญ่ขึ้น เมื่อสัมผัสอาจรู้สึกเจ็บ เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกและภายใน ฝีสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  • ฝีที่ผิวหนัง เกิดใต้ผิวหนัง 
  • ฝีที่อวัยวะภายใน เกิดบริเวณอวัยวะภายใน เช่น โพรงหนองที่ฟันจากการติดเชื้อในเหงือกหรือฟัน ฝีในสมอง ฝีที่ก้น

ฝี พบได้บ่อยแค่ไหน

ฝีอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย หากร่างกายหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนไม่สามารถต่อสู้กับแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้

อาการ

อาการของฝี

อาการของฝีอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ตำแหน่งที่เป็น โดยอาการทั่วไปของฝี อาจมีดังนี้ 

  • มีตุ่มหนองอักเสบบวม
  • มีหนองสีขาว หรือเหลืองใต้ผิวหนัง
  • เมื่อสัมผัสโดนจะรู้สึกเจ็บหรือปวด 
  • รู้สึกไม่สบายตัวหรือหนาวสั่น และอาจมีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
  • ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    หากมีอาการหนาวสั่น และมีไข้สูงกว่า 38.5 องศา และบริเวณที่เป็นฝีมีอาการเจ็บ ปวด หรือมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกวิธี

    สาเหตุ

    สาเหตุของการเกิดฝี 

    สาเหตุของการเกิดฝี คือ การอุดตันของต่อมน้ำเหลืองหรือต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง รวมถึงเกิดการอักเสบของรูขุมขน ทำให้เชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เข้าไปในต่อมเหล่านั้น นอกจากนั้น การที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดฝี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ลดลง

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดฝี  

    ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดฝี มีดังนี้

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 
  • สภาพแวดล้อมที่สกปรก รวมถึงมีสุขอนามัยที่ไม่ดี 
  • สัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อที่ผิวหนังบางประเภท
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยฝี

    คุณหมออาจสอบถามถึงระยะเวลาในการเกิดฝี ชนิดของยาที่ใช้อยู่ โดยการวินิจฉัยอาจดูจากตำแหน่งที่เกิดของโรค เช่น หากอยู่ใกล้ทวารหนัก คุณหมอจะตรวจทวารหนัก หากเกิดฝีบริเวณแขนหรือขา คุณหมอจะตรวจหาต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ หรือใต้วงแขน และหากมีฝีที่ผิวหนังมากกว่า 1 ตำแหน่งอาจมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพิ่มเติม 

    วิธีการรักษาฝี 

    การรักษาฝี อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้ 

    • การประคบอุ่น ประมาณครั้งละ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง อาจช่วยลดอาการบวม และอาจช่วยให้เส้นเลือดบริเวณที่เกิดฝีไหลเวียนได้ดีขึ้น รวมถึงอาจทำให้ฝีฝ่อได้ง่ายขึ้น 
    • การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยลดการติดเชื้อ และป้องกันไม่ให้ฝีแพร่กระจาย
    • การผ่าตัด วิธีนี้อาจใช้กับฝีที่อวัยวะภายใน และมีขนาดใหญ่เกิดกว่าที่จะสามารถระบายฝีออกได้หมดด้วยการใช้เข็ม 

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับไลฟ์สไตล์เหล่านี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นฝีได้

    • ล้างมือบ่อย ๆ 
    • ดูแลสุขอนามัย รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้สะอาด
    • หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า มีดโกน ร่วมกับผู้อื่น  
    • หากมีบาดแผล ควรทำสะอาดแผลให้แห้งและใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าแผล 
    • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถต้านทานโรคหรือเชื้อโรคได้อย่างเป็นปกติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 17/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา