backup og meta

9 วิธีลดสิว ด้วยสารสกัดธรรมชาติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

    9 วิธีลดสิว ด้วยสารสกัดธรรมชาติ

    วิธีลดสิว คือ การจัดการสิวที่เกิดขึ้นจากปัญหารูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว หรือการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า หน้าอก หลังส่วนบน วิธีลดสิวอาจมีหลายวิธี เช่น ใช้ยาแต้มสิว กินวิตามินเสริมบำรุงผิว กินยาปฏิชีวนะ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการลดสิวด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ อาจมีความปลอดภัย ลดการระคายเคือง และอาจช่วยปรับความสมดุลของผิว 

    สิว คืออะไร 

    สิว คือ ภาวะทางผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำให้เกิดสิวหัวขาว สิวหัวดำ สิวเสี้ยน และสิวประเภทอื่น ๆ ซึ่งสิวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้เกิดแผลเป็นบนผิวหนังหากบีบสิวผิดวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวด้วย

    สาเหตุการเกิดสิว 

    สาเหตุของการเกิดสิวอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น 

    • กรรมพันธุ์ หากบุคคลในครอบครัวมีสภาพผิวมันและเป็นสิวเยอะ อาจส่งผลให้มีโอกาสเป็นสิวได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากลักษณะของพันธุกรรมอาจทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป
    • ความเครียด ความเครียดอาจทำให้ระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งไปกระตุ้นต่อมไขมันทำให้เกิดความมันส่วนเกินมากขึ้นส่งผลให้เกิดสิว 
    • ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตน้ำมันซีบัมเพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้เกิดการบวมของรูขุมขนและเกิดการอุดตัน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน อาจเกิดจาก 
    • ช่วงก่อนมีประจำเดือน และระหว่างมีประจำเดือน
    • ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน 
    • ช่วงหยุดหรือเพิ่มใช้ยาคุมกำเนิด
    • ช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ 
  • ผลข้างเคียงของยา เช่น ยารักษาซึมเศร้า ยารักษาโรควิตกกังวล ยาสเตียรอยด์
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวหนัง อาจมีส่วนผสมของน้ำมัน ทำให้อาจเกิดการอุดตัน ดังนั้น ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ เช่น Non-Acnegenic Oil-free
  • อาหาร เช่น ขนมปัง มันฝรั่งทอด อาจทำให้เกิดสิวอุดตัน หรือแย่ลงกว่าเดิมได้ 
  • 9 วิธีลดสิว จากสารสกัดธรรมชาติ

    สารสกัดจากธรรมชาติที่อาจสามารถช่วยลดสิวได้ มีดังต่อไปนี้ 

    • น้ำผึ้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย เช่น วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ที่มีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ควบคุมความมันส่วนเกิน และยังอาจช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว วิธีใช้น้ำผึ้งลดสิว คือ 
  • ล้างมือให้สะอาด 
  • ใช้นิ้วหรือแผ่นสำลีจุ่มน้ำผึ้งเล็กน้อยและทาบริเวณที่เป็นสิว ทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้วเช็ดออกเบา ๆ  นอกจากนั้น ยังอาจผสมน้ำผึ้งลงไปในที่มาส์กหน้าหรือมาส์กผิวกายก็ได้เช่นกัน โดยหลังทำความสะอาดผิว ทามาส์กให้ทั่วบริเวณที่ต้องการ ทิ้งไว้ 10-15 นาที ล้างมาส์กออกและซับผิวให้แห้ง
  • น้ำมันมะพร้าว มีสารต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรีย ซึ่งอาจช่วยทำลายแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ลดรอยแดงและบวมของสิว ทั้งยังอาจเร่งการรักษาแผลเป็นที่เกิดจากสิว โดยนำน้ำมันมะพร้าวทาลงบริเวณที่เกิดสิว 
  • ว่านหางจระเข้ ประกอบด้วยกรดซาลิไซลิกและกำมะถัน รวมถึงมีสารต้านแบคทีเรียและต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดการเกิดสิวและป้องกันการเกิดสิวได้ เนื่องจาก ว่าหางจระเข้มีน้ำจำนวนมากและยังเป็นแหล่งมอยเจอร์ไรเซอร์ชั้นเยี่ยม จึงนิยมนำมาใช้รักษาสิว ทั้งยังอาจเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้งและ 
  • ชาเขียว มีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มโพลีฟีนอล (Polyphenol) หรือที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechins) ทั้งยังมีสารประกอบที่อาจช่วยลดสิวผด ลดการอักเสบ ลดการผลิตซีบัม การดื่มชาเขียวอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดสิว
  • กระเทียม มีสารประกอบออร์กาโนซัลเฟอร์ (Organosulfur) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบ รวมทั้งยังอาจช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ การเพิ่มกระเทียมลงในอาหาร เช่น ขนมปังกระเทียม ชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอากระเทียมทาลงบริเวณสิวโดยตรง อาจช่วยลดสิวได้ แต่ก็อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน 
  • โจโจ้บาออยล์ (Jojoba Oil) สกัดมาจากเมล็ดของต้น Simmondsia chinensis (Jojoba) หรือต้นโฮโฮบา โดยเมื่อผ่าเมล็ดออกมาจะพบครีมลักษณะคล้ายขี้ผึ้งอยู่ข้างใน ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่นำมาใช้สกัดเป็นน้ำมัน  วิธีลดสิวด้วยโจโจ้บาออยล์ทำได้โดยนำโจโจ้บาออยล์ผสมกับเจล หรือครีม ทาลงบนสิว หรือหยดลงบนสำลีแล้วถูเบา ๆ บริเวณสิว วิธีนี้อาจช่วยลดการอักเสบและรอยแดงของสิวได้ 
  • ทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil) เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดใบของต้นทีทรี น้ำมันทีทรีเป็นสารต้านแบคทีเรียและต้านการอักเสบ อาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P. Acnes ที่ทำให้เกิดสิวได้ การนำผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของทีทรีออย์ในรูปแบบเจนหรือครีมมาทาบริเวณที่เกิดสิว อาจช่วยลดอาการบวมและรอยแดงของสิว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำมันทีทรีกับผิวโดยตรง ควรผสมน้ำมันทีทรี 1 ส่วนกับน้ำ 9 ส่วน จุ่มสำลีในส่วนผสมแล้วทาบริเวณที่เป็นสิว และทาซ้ำประมาณ 1-2 ครั้งต่อวัน เพราะการทาบนผิวโดยตรงโดยไม่มีการเจือจาง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ 
  • น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล มีกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก ที่อาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes รวมถึงยับยั้งการอักเสบ และกรดแลคติกที่อาจช่วยลดรอยสิว โดยผสมน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล 1 ส่วนกับน้ำเปล่า 3 ส่วน และใช้สำลีถูลงบริเวณสิว ทิ้งไว้ประมาณ 5-20 วินาทีแล้วล้างออก
  • ขัดผิว เป็นการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วของผิวหนังชั้นบนออกด้วยน้ำตาลหรือเกลือ โดยนำน้ำตาลหรือเกลือผสมกับน้ำมันมะพร้าวในปริมาณที่เท่ากัน ถูผิวเบา ๆ แล้วล้างออก 
  • วิธีป้องกันการเกิดสิว 

    การปรับพฤติกรรมบางอย่าง อาจช่วยป้องกันการเกิดสิวได้ ดังต่อไปนี้

    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า รวมถึงไม่ควรบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและแผลเป็นได้ 
    • หลีกเลี่ยงผิวจากแสงแดด โดยเฉพาะเวลา 10.00-16.00 น. เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตของแสงแดด อาจทำให้ผิวแดงคล้ำ และเป็นสิวเรื้อรังได้ หากต้องตากแดดเป็นเวลานาน ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ขึ้นไป และควรเป็นแบบ Non-Comedogenic ที่ไม่มีส่วนผสมที่อุดตันรูขุมขน 
    • ทำความสะอาดใบหน้าเป็นประจำ โดยใช้โฟมหรือเจลล้างหน้าที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก เพื่อขจัดสิ่งสกปรกเซลล์ผิวที่ตาย รวมถึงน้ำมันส่วนเกินออกจากผิว
    • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อเพิ่มความชุ่นชื้นให้กับผิว โดยควรดูส่วนประกอบที่มีมอยเจอร์ไรเซอร์ และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล 
    • ใช้เครื่องสำอางเท่าที่จำเป็น และในช่วงที่เกิดสิว ควรหลีกเลี่ยงการทารองพื้น แป้ง บลัชออน เพราะอาจเกิดการอุดตันของรูขุมขนและเป็นสิวเรื้อรังได้ ควรทำความสะอาดเครื่องสำอางบนใบหน้าทุกครั้ง ไม่ควรทิ้งไว้ข้ามคืน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 15/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา