backup og meta

เป็นสิวรุนแรง เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

    เป็นสิวรุนแรง เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร

    สิวเป็นหนึ่งในปัญหาผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยสิวมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เชน สิวหัวหนอง สิวอักเสบ สิวหัวดำ สิวหัวช้าง ซึ่งในบางคนอาการของสิวอาจเกิดขึ้นเรื้อรังจนกลาย เป็นสิวรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียความมั่นใจ ดังนั้น การรักษาสิวอย่างถูกวิธี อาจช่วยทำให้อาการสิวดีขึ้นได้

    เป็นสิวรุนแรง เกิดจากอะไร

    ผู้ที่ เป็นสิวรุนแรง มักจะมีสิวเห่อทั่วบริเวณใบหน้า หน้าอก แผ่นหลัง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึ้นที่กราม ลำคอ รวมถึงที่ก้นด้วย โดยสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยระบุว่า สิวในระดับรุนแรงอาจมีลักษณะเป็นสิวชนิดอักเสบ เช่น สิวตุ่มหนอง สิวผื่นนูน สิวหัวช้าง หรืออาจมีสิวตุ่มใหญ่อักเสบเกิดขึ้นซ้ำ ๆ หรืออาจมีหนองไหลร่วมด้วย โดยสิวตุ่มใหญ่หรือสิวหัวช้างที่ลึกลงไปในผิวหนังอาจยิ่งทำให้มีอาการเจ็บ และอาจเกิดชแผลเป็นได้ง่ายเมื่อสิวหาย ในบางคนอาจมีสิวชนิดไม่รุนแรง เช่น สิวอุดตัน สิวหัวขาว สิวหัวดำ ร่วมด้วย

    สาเหตุที่ไม่ควรปล่อยให้สิวเห่อ

    การเป็นสิวรุนแรงและการปล่อยให้สิวเห่อ อาจทำให้เสียความมั่นใจ และหากปล่อยไว้นานก็อาจส่งผลทำให้สุขภาพจิตแย่ลงจนนำไปสู่โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือความภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low self-esteem) ได้ นอกจากนี้ ปัญหาสิวรุนแรงยังส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในสังคม หรือความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ เนื่องจาก ผู้ที่ เป็นสิวรุนแรง อาจไม่อยากพบปะสังสรรค์กับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง

    ดังนั้น หากเป็นสิวรุนแรงจึงควรรีบรักษาสิว เพราะการรักษาสิวนอกจากจะช่วยให้สิวหายแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันจุดด่างดำ หลุมสิว ทั้งยังอาจช่วยพัฒนาอารมณ์และเพิ่มความนับถือตัวเองได้ด้วย

    เป็นสิวรุนแรงควรดูแลและรักษาอย่างไร

    สำหรับผู่ที่เป็นสิวรุนแรง อาจทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อช่วยทำให้อาการสิวดีขึ้น

    1. อาจทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน

    เพื่อป้องกันผิวถูกทำร้าย หรือสิวเห่อหนักกว่าเดิม อาจทำความสะอาดผิวด้วยดังต่อไปนี้

    • ล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยนวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและก่อนนอน
    • โกนขนอย่างเบามือ
    • ล้างหน้าทันทีหลังจากทำกิจกรมมที่ทำให้เกิดเหงื่อมาก เช่น เล่นกีฬา หรืออาบน้ำทันที เพื่อขจัดเหงื่อและสิ่งสกปรก เพราะการเช็ดเหงื่ออย่างเดียวอาจทำให้อาการสิวแย่ลง
    • เช็ดเครื่องสำอางและล้างหน้าให้สะอาดก่อนเข้านอนทุกครั้ง

    2. อาจปกป้องผิวจากแสงแดด

    ในผู้ที่มีผิวบอบบาง เมื่อบริเวณที่เป็นสิวรุนแรงโดนแสงแดดโดยไม่มีการป้องกันอาจทำให้สิวเห่อมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น จึงควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยวิธีต่อไปนี้

    • ทาครีมกันแดดทุกวันทั้งตอนอยู่ในที่ร่มและอยู่กลางแจ้ง โดยทาทิ้งไว้อย่างน้อยประมาณ 15-30 นาที จึงค่อยออกแดด และควรทาครีมกันแดดซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง
    • หากต้องอยู่ในที่กลางแจ้ง นอกจากทาครีมกันแดดแล้วอาจต้องสวมหมวกปีกกว้าง เพื่อช่วยปกป้องผิวหนังบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือบริเวณที่เป็นสิวรุนแรง

    4. อาจใช้ยารักษาสิวที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา

    อาจรักษาสิวด้วยการซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิวจากร้านขายยา โดยต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ซัลเฟอร์ (Sulfur) รีซอร์ซินอล (Resorcinol) ซึ่งควรล้างหน้าให้สะอาด และซับหน้าให้แห้งก่อนทาครีมรักษาสิว แต่ถ้าหากใช้แล้วสิวเห่อ หรือสิวมีอาการแย่ลง ควรหยุดใช้และรีบเข้าพบคุณหมอทันที

    เป็นสิวหนัก อาจต้องรักษากับแพทย์ผิวหนัง

    หากเป็นสิวหนักและมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจต้องเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

    • รักษาด้วยยาที่ซื้อจากร้านขายยาแล้วไม่ได้ผล
    • สิวเห่อหนักกว่าเดิม หรือมีอาการเจ็บปวดมาก
    • ผิวเริ่มติดเชื้อ
    • สิวหายแต่ทิ้งจุดด่างดำ หรือหลุมสิวเอาไว้
    • เป็นสิวหนักมากจนทำให้เสียความมั่นใจ และทำให้เสียสุขภาพจิต

    คุณหมออาจทำการรักษาสิวขั้นรุนแรง โดยใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้

    • ให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น มิโนไซคลีน (Minocycline) ดอกซีไซคลีน (Doxycycline)
    • รักษาด้วยเลเซอร์ หรือบำบัดด้วยแสง
    • ฉีดสิว
    • สำหรับผู้หญิง คุณหมออาจให้กินยาคุมกำเนิดเพื่อรักษาสิว

    นอกจากนี้ คุณหมออาจสั่งจ่ายยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ซึ่งเป็นยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ ที่ใช้รักษาสิวชนิดรุนแรงโดยเฉพาะ และควรทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะหากใช้ผิดวิธีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา