backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคเซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/06/2022

โรคเซ็บเดิร์ม อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแลตัวเอง

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบบ่อยมาก ส่งผลให้ผิวหนังเกิดรอยแดง เป็นสะเก็ดรังแคบนหนังศีรษะ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อบริเวณที่มีความมันบนร่างกาย เช่น ใบหน้า ข้างจมูก คิ้ว หู เปลือกตา และหน้าอก

คำจำกัดความ

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)  คืออะไร

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) เป็นภาวะทางผิวหนังที่พบบ่อยมาก ส่งผลให้ผิวหนังเกิดรอยแดง เป็นสะเก็ดรังแค มักพบที่หนังศีรษะ และอาจพบที่ผิวหนังบริเวณที่มันง่าย เช่น ใบหน้า ข้างจมูก คิ้ว หู เปลือกตา หน้าอก

หากมีอาการแสดงออกคล้ายกับเซ็บเดิร์มควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะอาจทำให้สับสนกับโรคสะเก็ดเงิน โรคอีสุกอีใส อาการภูมิแพ้ได้ 

พบได้บ่อยเพียงใด

โรคนี้มักพบได้บ่อยในทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวมัน

อาการ

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคเซ็บเดิร์มมักพบที่ผิวหนังในบริเวณที่เกิดความมันค่อนข้างง่าย  เช่น หนังศีรษะ ใบหู รอบใบหู คิ้ว ร่องจมูก แผ่นหลัง หน้าอก อาการที่พบได้บ่อย เช่น ผิวหนังมีอาการคันหรือไหม้ ผิวเป็นรอยแดง มีสะเก็ดลักษณะคล้ายรังแคเป็นสีขาวหรือเหลือง

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

โรคเซ็บเดิร์ม อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • ความเครียด
  • ยีสต์ชื่อมาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งพบได้ในน้ำมันที่ผิวหนังหรือซีบัม
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคเซ็บเดิร์ม

    • การใช้ยาบางชนิด
    • การฟื้นฟูจากสภาวะทางการแพทย์ที่ตึงเครียด เช่น ภาวะหัวใจวาย
    • ภาวะทางระบบประสาท เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน 
    • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะในระยะเอดส์ โรคตับอ่อนอักเสบจากแอลกอฮอล์ โรคมะเร็งบางชนิด 

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

    ในเบื้องต้นคุณหมอจะซักประวัติ ตรวจดูอาการของผู้ป่วย และอาจขูดเอาตัวอย่างเซลล์ผิวบริเวณที่สงสัยว่าเป็นโรคเซ็บเดิร์มไปทดสอบทางห้องปฏิบัติการ โดยมีการวินิจฉัยแยกประเภท ดังต่อไปนี้ 

    • โรคสะเก็ดเงิน จะมีสะเก็ดสีขาวออกเงิน เกิดขึ้นบริเวณข้อศอก หัวเข่า และอาจส่งผลให้ลักษณะของเล็บผิดปกติไปจากเดิม
    • โรคผิวหนังอักเสบ มักจะทำให้ผิวหนังบริเวณศีรษะ ข้อศอก หรือเข่าอักเสบ
    • โรคโรซาเซีย (Rosacea) ส่งผลให้ผิวเกิดอาการคัน อักเสบ มีผื่นแดง และสะเก็ดเล็ก ๆ มักขึ้นบริเวณใบหน้า 
    • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังคัน เป็นผื่นแดง มักเกิดจากสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ เช่น ผ้าขนสัตว์ ละอองเกสร

    การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม

    โรคเซ็บเดิร์มส่วนใหญ่สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่ในบางกรณีอาจเป็นโรคเซ็บเดิร์มเรื้อรังที่ต้องเข้าพบคุณ เพื่อรับการรักษาด้วยการรับประทานยาต้านเชื้อรา การใช้ครีม เจล หรือยาสระผมน้ำมันดิน ทาครีมที่ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง เป็นต้น

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโรคเซ็บเดิร์ม

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้ อาจช่วยควบคุมอาการของโรคเซ็บเดิร์มได้

    • อาบน้ำสระผมเป็นประจำ เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และเชื้อโรคที่อาจอยู่บนผิวหนัง
    • หลีกเลี่ยงสบู่ที่มีกรดรุนแรงและใช้ครีมบำรุงผิวทุกครั้ง
    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม
    • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเส้นผมที่มีแอลกอฮอล์ 
    • ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มันง่าย เช่น เปลือกตา เป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 20/06/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา