backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและดูแล

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก เป็นโรคภูมิต้านตนเองแบบเรื้อรังที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดจุดนูนแดงจำนวนมากและเกิดสะเก็ดบนผิวหนัง โรคนี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

คำจำกัดความ

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก คืออะไร

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก พบมากในเด็ก โรคนี้เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดจุดสีแดงบนผิวหนัง มีสะเก็ดขนาดเล็ก โดยปกติจะไม่ทิ้งเป็นรอยแผลเป็น

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กเป็นโรคภูมิต้านทานตนเอง คือ ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าทำลายเซลล์ผิวหนัง และเกิดการสร้างเซลล์ใหม่อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความผิดปกติ สามารถหายได้ด้วยการรักษาแบบควบคุมอาการ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก

อาการ

อาการของโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

อาการของโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก มีดังนี้

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กมีลักษณะอาการที่แตกต่างกับโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาเล็กน้อย คือ จะมีจุดนูนสีแดงที่มีขนาดเล็กกว่า และบางกว่า กระจายเป็นวงกว้างบริเวณแขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ ใบหน้า ฝ่าเท้า ฝ่ามือ และใบหู

สาเหตุ

สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโทคอกคัส (Streptococcus) ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกันและส่งผลทำให้เกิดจุดสีแดงบนผิวหนัง

โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก อาจส่งต่อทางพันธุกรรมได้ และความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้จะยิ่งมากขึ้น หากคนในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน ในบางกรณี โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กอาจเกิดขึ้นเมื่อมีตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกัน จึงทำให้ผู้ป่วยบางคนที่อาการหายไปแล้วอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก มีดังนี้

โรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดเดียวที่มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน แต่โรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก ไม่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

การวินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก สามารถทำให้ดังนี้

  • แพทย์ผิวหนังจะทำการตรวจร่างกาย เพื่อดูว่าตุ่มหนองเกิดจากโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กหรือไม่
  • แพทย์อาจต้องเก็บตัวอย่างผิวหนัง และตรวจเพื่อยืนยันคำวินิจฉัยเบื้องต้น และอาจตรวจเลือดเพื่อแยกแยะโรคอื่น ๆ ด้วย
  • แพทย์อาจสอบถามเกี่ยวกับอาการเจ็บคอหรือการติดเชื้ออื่น ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก
  • แพทย์ทำการประเมินความรุนแรงของโรค พร้อมทั้งแนะนำวิธีป้องกันโรคไม่ให้กลับมาเกิดซ้ำ

การรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

โรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงต้องเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมเพื่อทำให้อาการดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง ภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้ การรักษาอาจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสุขภาพของผู้ป่วยด้วย วิธีรักษาที่นิยมใช้ มีดังนี้

  • ใช้ยาเฉพาะที่ในการรักษา ได้แก่ การรักษาด้วยวิตามิน สเตียรอยด์ชนิดครีม เจล หรือขี้ผึ้ง โดยทายาที่แผลเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
  • การฉายแสงอัลตราไวโอเลต
  • ยาปฏิชีวนะ รักษาโรคคออักเสบหรือการติดเชื้ออื่น ๆ

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองที่จะช่วยจัดการกับโรค สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการดูแลตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติอาจช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้ ดังนี้

  • การออกไปรับแสงแดดบ้างในแต่ละวัน อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กได้
  • การแช่ตัวในน้ำทะเล หรือน้ำเกลือ อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เพราะเกลือจะช่วยลดการอักเสบ ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคือง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยควบคุมการทำงานของระบบเมตาบอลิซึมภายในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) เป็นภาวะการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับโรคสะเก็ดเงิน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา