backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตุ่มน้ำพอง อาการ สาเหตุ การรักษา

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์ · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

ตุ่มน้ำพอง อาการ สาเหตุ การรักษา

ตุ่มน้ำพอง (Pemphigus หรือ Pemphigoid) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ค่อนข้างยาก เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ผิวหนังมีอาการเจ็บปวด คัน เกิดแผลพุพอง หรือตุ่มน้ำ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อลุกลามและอาการรุนแรงขึ้นได้ 

คำจำกัดความ

ตุ่มน้ำพอง คืออะไร

ตุ่มน้ำพอง เป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้น้อยมาก เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ผิวหนังมีอาการเจ็บปวด เกิดแผลพุพอง หรือตุ่มน้ำ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดการติดเชื้อได้ 

ตุ่มน้ำพองพบได้บ่อยเพียงใด

โรคตุ่มน้ำพองอาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนหรืออายุ 40 ปีขึ้นไป 

อาการ

อาการของตุ่มน้ำพอง

ตุ่มน้ำพองอาจทำให้ผิวหนังเกิดแผลพุพอง และมีผลต่อเยื่อเมือกบริเวณปาก ลำคอ จมูก ตา อวัยวะเพศ ปอด บริเวณผิวหนังต่าง ๆ หรือบริเวณเยื่อเมือกที่อวัยวะเพศ บางครั้งอาจเกิดตุ่มน้ำที่แตกง่าย ผิวหนังพองเป็นตุ่มน้ำได้ง่ายเมื่อถู และอาจมีอาการปวดเมื่อยร่วมด้วย

ควรพบคุณหมอเมื่อใด

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ควรไปพบคุณหมอ เมื่อมีอาการต่าง ๆ ที่อาจเข้าข่ายอาการตุ่มน้ำพอง เพื่อให้คุณหมอประเมินวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามระดับความรุนแรงของอาการ

สาเหตุ

สาเหตุของตุ่มน้ำพอง

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสเหตุที่แท้จริงของโรคตุ่มน้ำพอง แต่มีข้อสันนิษฐานว่าโรคตุ่มน้ำพองอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยปกติระบบภูมิกันจะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า แอนติบอดี (Antibody) เมื่อระบบภูมิคุ้มกันผิดพลาดในการสร้างแอนติบอดี แอนติบอดีจึงเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อระหว่างชั้นผิวหนัง ส่งผลให้ผิวหนังเกิดแผลพุพอง 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยตุ่มน้ำพอง

ในเบื้องต้นคุณหมอจะสอบถามประวัติอาการและตรวจสอบดูความผิดปกติของผิวหนัง โดยอาจนำชิ้นเนื้อเยื่อของตุ่มที่ขึ้นตามผิวหนังไปตรวจวิเคราะห์เพื่อวินิจฉัยยืนยันโรค

การรักษาตุ่มน้ำพอง 

วิธีการรักษาโรคตุ่มน้ำพองเน้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจรวมถึงวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • การรับประทานยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) แต่ยาเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ต้อหิน น้ำตาลในเลือดอาจเพิ่มสูงขึ้น หรือเกิดแผลในกระเพาะอาหาร 
  •  การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ หากมีแผลในปากรุนแรง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ คุณหมออาจต้องให้อาหารทางสายเลือด 
  • การกรองพลาสมา หากมีอาการที่รุนแรงมาก คุณหมออาจต้องทำการกรองพลาสมา เพื่อกำจัดแอนติบอดีที่ทำลายผิวหนังออกจากเลือด

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

 การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการตุ่มน้ำพอง

 การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการตุ่มน้ำพอง อาจมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการเสียดสีหรือถูผิวหนัง
  • ดูแลความสะอาด และทำแผลบริเวณตุ่มน้ำที่แตก เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 06/03/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา