backup og meta

อันตรายจากพิษของแมลงก้นกระดก และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 08/03/2022

    อันตรายจากพิษของแมลงก้นกระดก และวิธีการรักษา

    แมลงด้นกระดก หรือ ด้วงก้นกระดก (Rove Beetles) เป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมด ลำตัวเป็นปล้อง ๆ สีแดงออกส้ม มีจุดเด่นอยู่ส่วนหางหรือก้นที่จะกระดกขึ้น และมีปีก แมลงก้นกระดกอาจพบได้มากในช่วงที่ฝนตก เมื่อสัมผัสกับพิษของแมลงก้นกระดกอาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง มีรอยแดง แสบ คล้ายผิวไหม้ อีกทั้งยังอาจเกิดอาการตุ่มพุพองหรือเป็นไข้ได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของแมลงก้นกระดก และวิธีการรักษาเบื้องต้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรง และลดการลุกลามของอาการ

    แมลงก้นกระดก คืออะไร

    แมลงด้นกระดก เป็นแมลงขนาดเล็กที่อยู่ในตระกูลเดียวกับด้วงสายพันธุ์ Staphylinidae ถึงแม้จะเป็นแมลงตัวเล็กที่ดูเผิน ๆ เหมือนมด แต่ยังคงมีข้อสังเกตอยู่บ้างถึงความแตกต่าง โดยเฉพาะลำตัว ที่มีความยาว 7-8 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นปล้อง ๆ สีออกแดง ส้ม เด่นชัด บริเวณหลังหัว และเป็นสีดำยาวลงไปจนถึงบริเวณก้น หรือหาง และตัดสลับด้วยสีแดง ส้ม อีกรอบ ส่วนปลายก้นจะกระดกโค้งงอขึ้น และมีปีกไว้คอยบินตอมแสงไฟ ในบางครั้งแมลงก้นกระดกอาจร่วงลงสู่พื้น หรือหล่นใส่ร่างกายได้ทุกเมื่อ หากไม่ระวังให้ดี อาจได้รับพิษทันทีที่ถูกสัมผัส จนเกิดเป็นรอยแดงบนผิวหนังได้

    พิษในตัวแมลงก้นกระดก ส่งผลต่อผิวหนังอย่างไร

    แมลงชนิดนี้มักมาพร้อมกับความชื้น หรือช่วงที่ฝนตก น้ำท่วมอย่างหนัก หากไม่สังเกตให้ดีเผลอไปสัมผัสเข้า แมลงก้นกระดกจะปล่อยพิษสู่ผิวหนัง โดยอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ มีดังนี้

    • รู้สึกปวดแสบ ปวดร้อน
    • รอยไหม้ยาวตามผิวหนัง คล้ายโรคเริม หรืองูสวัด
    • ตุ่มน้ำใส ๆ และผดผื่น หลังจากถูกพิษประมาณ 2-4 วัน
    • ไข้ขึ้น
    • อาเจียน

    กรณีที่รู้ตัวว่าเผลอไปสัมผัสกับแมลง ห้ามนำมือขยี้ตาหรือนำมือไปสัมผัสกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการสัมผัสกับแมลงก้นกระดก เนื่องจาก พิษของแมลงชนิดนี้มีความรุนแรงอย่างมากอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบ รวมทั้งชั้นผิวหนังส่วนที่นำพิษไปแพร่กระจายเกิดพุพองได้

    วิธีรักษาเมื่อถูกพิษจาก แมลงก้นกระดก

    การรักษาเบื้องต้นจากพิษของแมลงก้นกระดก ให้รีบล้างมือ หรือส่วนที่สัมผัสด้วยสบู่ และน้ำสะอาด หรืออาจใช้น้ำเกลือที่ทางการแพทย์รับรองว่าใช้ล้างแผลได้ นำไปเช็ดบริเวณนั้นในทันที

    ถ้าหากมีอาการอื่น เช่น ผดผื่น รอยไหม้แดง สามารถซื้อยาที่จำหน่ายโดยเภสัชกรเพื่อรักษาเองได้ ซึ่งรอยไหม้แดงดังกล่าวนี้จะหายจากผิวหนังเองภายใน 2-3 วัน แต่สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้หรือผื่นชนิดรุนแรง ควรรีบไปสถานพยาบาลใกล้เคียง เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

    วิธีป้องกันที่ดีที่สุดจึงป้องกันไม่ให้แมลงก้นกระดกเข้ามาในบ้าน ควรเช็กประตู หน้าต่างให้ดีว่ามีการปิดสนิทหรือไม่ เพราะแมลงก้นกระดกมักชอบบินเข้ามาเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และอาจตกลงบนพื้น ที่นอน หรือเก้าอี้นั่งเล่นก็เป็นได้ ที่สำคัญ เมื่อพบเจอให้เปลี่ยนจากการนำมือไปปัด เปลี่ยนเป็นวิธีการเป่า หรือสะบัดออกเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงจากการโดนพิษของพวกมันให้ได้น้อยที่สุด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 08/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา