backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/02/2021

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) เป็นภาวะที่หาได้ยากที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณตับอ่อน และบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น มีลักษณะก่อตัวเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกดังกล่าวจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า แกสตริโนม่า (Gastrinomas)’ ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาการท้องร่วง อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เป็นต้น

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) คืออะไร

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES) เป็นภาวะที่หาได้ยากที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารมักเกิดขึ้นบริเวณตับอ่อน และบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น มีลักษณะก่อตัวเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกดังกล่าวจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า แกสตริโนม่า (Gastrinomas)’ ออกมามากกว่าปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาการท้องร่วง อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เป็นต้น 

พบได้บ่อยเพียงใด

กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสั มักพบในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี 

อาการ

อาการ กลุ่มโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน จะมีลักษณะการแสดงออก ดังต่อไปนี้ 

  • อาการปวดท้อง
  • อาการท้องร่วง
  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณช่องท้องส่วนบน
  • กรดไหลย้อน
  • เรอ
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
  • การลดน้ำหนัก
  • ความอยากอาหารลดลง 
  • ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

    ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของกลุ่มอาการซลลิงเจอร์-เอลลิสัน โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากเนื้องอกอย่างน้อย 1 ก้อน อยู่ในบริเวณลำไส้เล็ก หรือตับอ่อน ปล่อยฮอร์โมนที่มีชื่อเรียกว่า แกสตริโนม่า (Gastrinomas)’ อาจทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ 

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของ กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

    หากญาติทางสายเลือด เช่น พ่อ แม่ พี่ หรือน้อง มีประวัติอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีเนื้องอกต่อมไร้ท่อ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของ Multiple Endocrine Neoplasia Type 1 หรือ MEN1 นั่นแสดงว่า คุณก็อาจมีแนวโน้มในการเป็นกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน ซึ่งส่วนใหญ่มักพบได้ในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี 

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน (Zollinger-Ellison Syndrome หรือ ZES)

    ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติ อาการ และตรวจสอบดูความผิดปกติด้วยการตรวจเลือด เพื่อตรวจดูความผิดปกติของระดับฮอร์โมนแกสตริโนม่า หรืออาจใช้การส่องกล้องโดยการสอดท่อ เพื่อดูความผิดปกติบริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักทำร่วมกับการอัลตร้าซาวด์เพื่อดูเนื้องอก 

    การรักษาอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน

    วิธีการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการรักษาด้วยการลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร ด้วยการแนะนำยาที่ช่วยลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาแลนโซพราโซล (Lansoprazole)  ยาโอเมพราโซล (Omeprazole) และแพนโทพราโซล (Pantoprazole) เป็นต้น

    ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการร้ายแรง แพทย์อาจแนะนำให้ทำเคมีบำบัด เพื่อลดขนาดของเนื้องอกหรือใช้วิธีการรักษาด้วยคลื่นวิทยุ เพื่อฆ่าเซลล์หรือหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอก รวมถึงการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก 

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน 

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสันได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา