backup og meta

เวียนหัวเมื่อลุกยืน คุณอาจมีภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้

เขียนโดย นายแพทย์กษิต ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ · สุขภาพ · โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ


แก้ไขล่าสุด 08/04/2021

    เวียนหัวเมื่อลุกยืน คุณอาจมีภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้

    คุณเคยรู้สึกเวียนหัวเมื่อเปลี่ยนท่าจากการนั่งหรือนอนเป็นยืนขึ้น บ้างหรือเปล่า? เพราะถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะจะสามารถค่อย ๆ หายไปได้เองเพียงไม่กี่วินาที หรือสองสามนาทีเท่านั้น แต่บางกรณีที่คุณมีอาการวิงเวียนอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจคาดการณ์ได้เช่นกันว่าคุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้

    ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า คืออะไร

    ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (Orthostatic or postural hypotension) หรือ ความดันตกขณะเปลี่ยนท่า เป็นความดันโลหิตต่ำในรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง จากการนั่ง นอนเป็นยืนขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการที่ชัดเจนมากที่สุดคือ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ จนนำไปสู่เป็นลมหมดสติ และเกิดโรคแทรกซ้อนบางอย่างร่วม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

    ส่วนใหญ่ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่ามักมีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ดี หากคุณมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาต่าง ๆ ที่ร้ายแรงได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวขึ้นโปรดพบคุณหมอทันที แม้จะเป็นแค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม

    สาเหตุที่ของ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า

    มีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า ได้แก่

    • ภาวะเกี่ยวกับหัวใจ
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
    • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท

    ใครเสี่ยงที่จะเกิดอาการนี้

    • ช่วงวัยอายุมากกว่า 65 ปี ตัวเลขทางสถิติเผยว่า ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนพบได้ทั่วไป ในผู้ที่มีอายุ 65 ปี หรือสูงกว่า เนื่องจากความสามารถของเซลล์ชนิดพิเศษใกล้หลอดเลือดหัวใจ ที่ช่วยจัดการความดันเลือดจะทำงานได้ช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป
    • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิด ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน ยารักษาภาวะซึมเศร้าบางชนิด ยาระงับอาการทางจิตบางชนิด และยาคลายกล้ามเนื้อ อาจมีความเสี่ยงสูงในการเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกขึ้นยืน
    • โรคบางชนิด ภาวะเกี่ยวกับหัวใจบางประการ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทบางชนิด เช่น โรคพาร์กินสัน ทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการมีความดันโลหิตต่ำ
    • การสัมผัสกับความร้อน การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง และความชื้นต่ำสามารถทำให้คุณมีเหงื่อออก จนอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ หรือความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่าขึ้นได้
    • การนอนติดเตียง หากคุณต้องนอนพักบนเตียงเป็นเวลานานเนื่องจากเจ็บป่วย คุณอาจอ่อนเพลียได้ และความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนอาจเกิดขึ้นเมื่อคุณพยายามยืนขึ้น
    • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งไม่ดีต่อหลอดเลือด เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน

    การรักษาความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า

    เพื่อช่วยในการวินิจฉัย แพทย์อาจใช้การเจาะเลือดตรวจ การตรวจสุขภาพหัวใจ ก่อนให้คำแนะนำถึงการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ มีกิจกรรมหลายประการที่คุณสามารถลอง ได้แก่ การดื่มของเหลวให้เพียงพอ จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การหลีกเลี่ยงการเดินในอากาศร้อน การยกศีรษะจากเตียงนอน และยืนขึ้นอย่างช้า ๆ บางครั้งแพทย์อาจให้มีการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง
  • การสวมใส่ถุงน่องรัด ประโยชน์ของถุงน่องรัด หรือผ้ารัดหน้าท้อง อาจช่วยลดการสะสมตัวของเลือดที่ขา และอาการของความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้
  • การใช้ยาบางชนิด หากการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไม่ได้ผล ยาหลายชนิด ไม่ว่าใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกัน อาจใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตต่ำในท่ายืน โดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้ทั่วไปมีดังนี้ ยาฟลูโดคอร์ติโซน (Fludocortisone) ยามิโดดรีน (midodrine) อย่างโปรอามาทีน (ProAmatine) ยาดรอกซิโดปา (droxidopa) อย่างนอร์เธร่า (Northera) ยาไพริโดสติกมีน (pyridostigmine) อย่างเรโกนอล (Regonol) หรือเมสทินอน (Mestinon) ยาแก้อักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ (NSAID)
  • วิธีป้องกัน ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า

    มีวิธีอย่างง่ายหลายวิธี ดังต่อไปนี้ ที่จะช่วยจัดการ หรือป้องกันความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า

    • ลองกินเกลือเพิ่มขึ้น อาจเป็นวิธีที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และหลังจากปรึกษาแพทย์แล้วเท่านั้น เนื่องจากการทานเกลือในปริมาณที่มากเกินไป สามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่ดีต่อสุขภาพ และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพประการใหม่ต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคไต
    • รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ หากความดันโลหิตลดลงหลังรับประทานอาหาร แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ
    • ดื่มน้ำให้มากขึ้น การดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันอาการต่าง ๆ ของความดันโลหิตต่ำ แต่ให้หลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากแอลกอฮอล์สามารถทำให้ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนมีอาการแย่ลงได้
    • การออกกำลังกายประจำวัน ให้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อน่องก่อนลุกขึ้นนั่ง นอกจากนี้ ก่อนลุกจากเตียงนอน ให้นั่งที่ปลายเตียงนอนชั่วครู่ หรืออาจเป็นการหมั่นออกกำลังกายบ่อย ๆ เมื่อมีเวลาว่าง
    • หลีกเลี่ยงการก้มตัว หากคุณทำบางสิ่งหล่นลงบนพื้น โปรดกนั่งยอง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงอาการิงเวียนศีรษะ
    • ลุกขึ้นอย่างช้า ๆ คุณสามารถลดอาการเวียนศีรษะร่วมกับความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้ ด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างช้า ๆ แทนที่จะลุกจากที่นอนทันทีในตอนเช้า คุณอาจให้หายใจเข้าลึกๆ สองสามนาที แล้วลุกขึ้นนั่งอย่างช้า ๆ ก่อนยืนขึ้น
    • เพิ่มหมอนในการนอน การนอนโดยศีรษะยกขึ้นเล็กน้อย สามารถช่วยต้านผลกระทบของแรงโน้มถ่วงได้
    • เคลื่อนไหวขาในขณะยืน หากคุณเริ่มมีอาการขณะยืน ให้ไขว้ต้นขาในรูปแบบกรรไกร และบีบขา หรือยกขาข้างใดข่างหนึ่งลงบนเก้าอี้ แล้วดันตัวมาข้างหน้าให้มากที่สุด เพราะการเคลื่อนไหวเช่นนี้สามารถทำให้เลือดไหลเวียนจากขาไปยังหัวใจได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    นายแพทย์กษิต ศักดิ์ศิริสัมพันธ์

    สุขภาพ · โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ


    แก้ไขล่าสุด 08/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา