backup og meta

ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/04/2021

    ยารักษาความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้จริงหรือ?

    มีการศึกษาหนึ่งที่ชี้ว่าการกิน ยารักษาความดันโลหิตสูง กลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ในระยะยาว อาจทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จะมีข้อมูล หรือสรุปถึงการกินยารักษาโรคความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมจริง หรือเท็จแค่ไหนนั้น Hello คุณหมอ เรามีข้อมูลในเรื่องนี้มาให้คุณได้ทราบกันค่ะ

    ยารักษาความดันโลหิตสูง กับ มะเร็งเต้านม

    การศึกษาก่อนหน้านี้

    เมื่อปี 2013 มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาจาก Fred Hutchinson Cancer Research Center ที่สังเกตเห็นว่า การใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blockers) ระยะยาวในปัจจุบัน อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงบางราย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างมาก เนื่องจากยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นยาชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา

    โดยปกติยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ดังต่อไปนี้ เป็นยารักษาความดันโลหิตสูงประเภทหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป ยานี้ใช้เพื่อป้องกันแคลเซียมไม่ให้เข้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของหัวใจ และผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลง

    • ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) อย่างเช่น Norvasc®
    • ยาดิลไทอาเซม (Diltiazem) อย่างเช่น Cardizem LA® และ Tiazac®
    • ยาไอซราดิพีน (Isradipine) อย่างเช่น DynaCirc CR®
    • ยาไนคาร์ดิพีน (Nicardipine) อย่างเช่น Cardene SR®
    • ยาไนเฟดิพีน (Nifedipine) อย่างเช่น Procardia® Procardia XL® และ Adalat CC®)
    • ยาไนโซลดิปีน (Nisoldipine) อย่างเช่น Sular®
    • ยาเวราพามิล (Verapamil) อย่างเช่น Calan® Verelan® และ Covera – PM®

    อย่างไรก็ดี การศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ แต่ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และผลลัพธ์ ระหว่างมะเร็งเต้านมกับยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้รักษาโรคความดันสูงได้

    การศึกษาในปัจจุบัน

    ต่อมาในปี 2014 การศึกษามักพัฒนาไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นโดย ศูนย์การแพทย์ Intermountain ของสถาบันหัวใจ ในเมืองเมอร์เรย์ รัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยว่า ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ไม่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม จากการศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้จากผู้หญิงจำนวนมากกว่า 3,700 รายในช่วงอายุ 50 ถึง 70 ปี ซึ่งไม่มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม ใน Intermountain Healthcare Center จำนวน 2 แห่ง

    สำหรับแต่ละกลุ่ม นักวิจัยได้เปรียบเทียบผู้หญิงกลุ่มที่ใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นเวลาหลายปี กับกลุ่มที่ไม่ใช้ยาดังกล่าว จากการตรวจสอบฐานข้อมูลประวัติการรักษาของประชากรโดยทั่วไป นักวิจัยพบว่า โอกาสที่เป็นไปได้ในการเป็นมะเร็งเต้านม จากการใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ มีค่าสูงขึ้น 1.6 เท่า ความเสี่ยงดังกล่าวมีค่าสูงจากค่าเฉลี่ยเพียงเล็กน้อย แต่มีค่าต่ำกว่าการศึกษาในปี 2013 เป็นอย่างมาก

    ในอีกทางหนึ่ง จากข้อมูลที่เก็บจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน Intermountain Cardiac Catheterization Laboratory ความสัมพันธ์ในเชิงกลับกันพบการลดลง 50% ของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม สำหรับผู้หญิงที่ใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ ดังนั้น ผลที่ขัดแย้งกันที่พบในฐาข้อมูลทั้งสองรายการ อาจพิสูจน์ยาไม่ได้ชัดเจนแต่แน่นอนว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ สามารถส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมได้มากกว่าการใช้ยากลุ่มนี้

    วิธีลดความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม

    ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับมะเร็งเต้านมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ภาวะน้ำหนักเกิน การออกกำลังกายไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงได้อีกขั้น คุณอาจนำข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ช่วยรักษาหัวใจให้อยู่ในสภาวะที่มั่นคงแข็งแรงที่สุด

  • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ระลึกไว้ว่า ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สองแก้ว หรือมากกกว่า 2 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการเป็นมะเร็งเต้านม
  • ออกกำลังกาย
  • ไม่สูบบุหรี่
  • นอกจากนี้หากคุณกำลังใช้ยากลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ อาจจำเป็นต้องเข้าขอรับคำปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ ขนาด หรือปริมาณให้เหมาะสมต่อสภาวะร่างกายคุณอีกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายทางสุขภาพระดับรุนแรงได้ในอนาคตค่ะ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 08/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา