backup og meta

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

    สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ การตรวจคอเลสเตอรอล

    ระดับคอเลสเตอรอลสูง นำไปสู่โรคร้ายแรงหลายอย่าง และอาจไม่แสดงอาการอะไร ดังนั้น การตรวจคอเลสเตอรอล อย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ หากอยากให้สุขภาพดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันและดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคที่มากับ คอเลสเตอรอลที่อาจเกิดขึ้นได้

    การตรวจคอเลสเตอรอล คืออะไร

    การตรวจคอเลสเตอรอลถูกนำมาใช้ เพื่อวัดคอเลสเตอรอลโดยรวม ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งเป็นโปรตีนดี ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ซึ่งเป็นโปรตีนไม่ดี และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

    ร่างกายต้องการคอเลสเตอรอล เพื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลมากเกินไป อาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ เช่น

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหัวใจ
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งรูปแบบหนึ่งของโรคหัวใจ ที่ทำให้เส้นเลือดถูกบีบให้เล็กลงและขัดขวางการไหลเวียนโลหิต
  • หัวใจวาย
  • โดยทั่วไปแล้วผู้ชายตั้งแต่วัย 35 ปีขึ้นไป และผู้หญิงตั้งแต่วัย 45 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ แต่ในบางกรณี ผู้ที่อายุน้อยกว่านั้นก็อาจต้องเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเช่นกัน การตรวจคอเลสเตอรอลในเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

    เหตุผลอีกหนึ่งข้อที่ควรเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล ก็เพราะระดับคอเลสเตอรอลที่สูงจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา คนส่วนใหญ่ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงไม่ค่อยรู้ตัว จนทำให้คอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานานหรือเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการทางการแพทย์ขั้นรุนแรงอื่นๆการเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ

    เตรียมตัวสำหรับการตรวจคอเลสเตอรอล

    ในบางกรณี อาจถูกขอให้อดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอล สามารถรับประทานอาหารก่อนการตรวจระดับ HDL และระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้ แต่หากเป็นตรวจคอเลสเตอรอลเต็มรูปแบบ ควรดื่มแค่น้ำเปล่าและหลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

    ก่อนเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลในเลือด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย หากมีปัญหาสุขภาพ คนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพหัวใจ หรือหากกำลังกินยาหรืออาหารเสริมใดๆอยู่ นอกจากนี้แพทย์อาจขอให้หยุดกินยาคุมกำเนิด ก่อนเข้ารับการตรวจระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพราะอาจทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้

    ความหมายของตัวเลขที่ได้จากการตรวจคอเลสเตอรอล

    หลังเข้ารับการตรวจคอเลสเตอรอลเต็มรูปแบบ จะได้ผลตรวจออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขค่าคอเลสเตอรอลโดยรวม แต่ยังเป็นตัววัดระดับความแตกต่างระหว่างระดับ LDL และ HDL ซึ่งเป็น 2 ตัวบ่งชี้หลักของปัญหาโรคหัวใจที่ซ่อนอยู่ หัวข้อต่อไปนี้เป็นตัวเลขบอกค่าต่างๆ ได้แก่

    ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดโดยรวม

    • 240 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูง
    • 200-239 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
    • ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับที่น่าพอใจ

    ระดับคอเลสเตอรอล LDL

    • 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูงมากสำหรับโรคหัวใจ (ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง เช่น การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ มื้ออาหาร)
    • 160 – 189 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
    • 130 – 159 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
    • 100 – 129 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ใกล้ระดับที่เหมาะสม/เกินระดับที่เหมาะสม
    • ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับที่เหมาะสม

    ระดับคอเลสเตอรอล HDL

  • ต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์

    • 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และมากกว่านั้น : ความเสี่ยงสูงมาก
    • 200 – 499 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ความเสี่ยงสูง
    • 150 – 199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : เข้าข่ายความเสี่ยงสูง
    • ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร : ระดับปกติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา