backup og meta

กระบวนการและขั้นตอน การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    กระบวนการและขั้นตอน การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

    การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery: CABG) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้กันบ่อยที่สุดในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน เนื่องจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง การผ่าตัดนี้จะเป็นการทำเส้นทางใหม่เพื่อให้เลือดไหลไปยังหัวใจได้ดีขึ้น โดยมักจะเป็นการสร้างเส้นทางใหม่สำหรับการไหลของเลือด 3, 4 หรือ 5 เส้น

    ทำไมถึงต้องมี การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

    การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา สาเหตุที่พบบ่อยๆ ของอาการปวดเค้นในหน้าอกก็คือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (myocardial infarction) การทำงานผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve) และการบาดเจ็บของหัวใจแบบอื่นๆ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้ที่ป่วยจากแขนงหลอดเลือดหัวใจตีบตัน อย่างเช่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    การผ่าตัดบายพาสทำอย่างไร

    การผ่าตัดบายพาสเป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของทางเดินเลือดใหม่ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจในเส้นทางใหม่ โดยแพทย์จะต้องใช้หลอดเลือดเสริม (Graft) ด้านหนึ่ง ไปต่อที่ใต้จุดของหลอดเลือดหัวใจแดงเดิมที่มีการตีบหรือตัน และอีกด้านหนึ่งไปต่อกับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่งผลให้เลือดจากหลอดเลือดแดงใหญ่เดินทางไปตามหลอดเลือดแดงเสริม เพื่ออ้อมการอุดตันและไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ในที่สุด

    ในปัจจุบันมีการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจหลักๆ ที่นิยมใช้กัน 2 วิธีคือ

  • การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) วิธีการนี้ ผู้ป่วยจะถูกทำทำให้หัวใจหยุดเต้นและใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เพื่อส่งเลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปทั่วร่างกาย การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแบบนี้จะกินเวลาราว 4 ชั่วโมง และใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมราว 90 นาที
  • การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม  (Off-Pump Coronary  Artery Bypass Grafting: OPCAB) เป็นการผ่าตัดโดยไม่ทำให้หัวใจต้องหยุดเต้น โดยใช้เครื่องมือช่วยให้บริเวณที่ผ่าตัดหยุดนิ่งพอที่ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดได้  การผ่าตัดชนิดนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาเรื่องความทรงจำ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในคนไข้หลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ระยะเวลาการผ่าตัดแบบนี้กินเวลาประมาณ 3-6 ชั่วโมง และโดยทั่วไปจะใช้ยาสลบตามปกติเท่านั้น
  • หลอดเลือดเสริมที่นำมาใช้ในการผ่าตัดบายพาส จะนำมาจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยหลอดเลือดแดงเสริมจะมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดเลือดดำเสริม หลอดเลือดที่นิยมนำมาใช้ได้แก่

    • หลอดเลือดแดงหลังกระดูกหน้าอก
    • หลอดเลือดแดงแขน บริเวณระหว่างข้อมือกับข้อศอก หรือหลอดเลือดแดงเรเดียล
    • หลอดเลือดดำที่ขา จากบริเวณข้อเท่าด้าในจนถึงโคนขาด้านใน

    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

    การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจเป็นขั้นตอนการผ่าตัดใหญ่ และผู้ป่วยมักไม่สามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ในเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย หรือเจ็บปวดบริเวณที่ผ่าตัดอยู่หายสัปดาห์ อาการซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัด และหากภาวะซึมเศร้าไม่ได้รับการเอาใจใส่และดูแล อาจทำให้การฟื้นตัวมีระยะเวลายาวนานขึ้น

    ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่สามารถเป็นไปได้หลังจากการผ่าตัด คือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจตายในระหว่างหรือหลังการผ่าตัด (เกิดขึ้นน้อยกว่า 5%) กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ (มักเป็นอาการชั่วคราว) หัวใจเต้นผิดจังหวะ (ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว) ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (มีการสะสมของเหลวระหว่างปอดและผนังอก) การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดหรืออาการผิดปกติทางความคิด

    และถ้าคุณมีอาการเหล่านี้เมื่อกลับบ้าน ควรแจ้งต่อแพทย์ของคุณทันที

    • มีไข้สูง
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • อาการเจ็บหน้าอกที่ใหม่เกิดขึ้น หรืออาการเจ็บเปิดขึ้นบริเวณที่ผ่าตัด
    • เลือดออกจากแผลผ่าตัด

    โดยทั่วไป การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจจะเพิ่มปริมาณเลือกไปสู่หัวใจ เพื่อที่คุณจะได้ไม่เจ็บหน้าอก อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดนี้แค่ทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่ใช่การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพระาฉะนั้น คุณจึงยังต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ และควรเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตให้ดีต่อสุขภาพ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา