backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/08/2020

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy)

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่

ข้อมูลพื้นฐาน

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ คืออะไร

ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ (Breast Biopsy) เป็นกระบวนการที่ได้รับการแนะนำจากผู้ดูแลสุขภาพ เพื่อนำเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อเต้านมชิ้นส่วนเล็กๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินผลบริเวณที่ต้องสงสัยของเต้านม ว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ โดยกระบวนการตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น การใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (Core Needle Biopsy) การเจาะดูดเซลล์ (Fine Needle Aspiration หรือ FNA) การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อทั้งก้อนออกไปตรวจ (Excisional Biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจจะให้ตัวอย่างของเนื้อเยื่อเต้านม ที่แพทย์สามารถใช้เพื่อระบุและวินิจฉัยความผิดปกติในเซลล์ที่ทำให้เกิดก้อนในเต้านม ความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม ข้อสงสัยหรือข้อกังวลที่พบจากการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) โดยผลจากการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมจะช่วยให้แพทย์บ่งชี้ได้ว่า จำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือการรักษาอื่นเพิ่มเติมหรือไม่

ความจำเป็นในการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ

สาเหตุของการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ มีดังนี้

  • คุณหรือแพทย์รู้สึกได้ถึงก้อนเนื้อในเต้านม และแพทย์สงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม แสดงให้เห็นบริเวณที่น่าสงสัยในเต้านม
  • สแกนด้วยอัลตราซาวด์แล้วพบสิ่งต้องสงสัย
  • ตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) ที่เต้านมแล้วพบสิ่งต้องสงสัย
  • มีความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณหัวนม หรือรอบหัวนม ทั้งตกสะเก็ด ลอก มีรอบบุ๋ม หรือมีสารคัดหลั่งเป็นเลือด

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการ ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ

ข้อมูลทั่วไปที่คุณควรทราบก่อนเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม ดังนี้

  • รอยช้ำหรือบวมที่เต้านม
  • การติดเชื้อ หรือมีเลือดออกบริเวณเต้านมที่ตัดชิ้นเนื้อออกไปส่งตรวจ
  • รูปร่างของเต้านมอาจเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อเยื่อที่ตัดออกไป และการฟื้นฟูของเต้านม
  • การผ่าตัดหรือการรักษาเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับผลการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม

ติดต่อแพทย์ในทันทีหาก

  • เป็นไข้
  • บริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ เป็นรอยแดงหรือรู้สึกอุ่น
  • มีสารคัดหลั่งที่ผิดปกติจากบริเวณเต้านมที่ถูกตัดชิ้นเนื้อ

อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ และต้องได้รับการรักษาทันที

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ

ก่อนเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณ

  • เป็นโรคภูมิแพ้
  • รับประทานยาแอสไพริน (Aspirin)ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา
  • รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)
  • นอนคว่ำนานๆ ไม่ได้

หากเป็นการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจที่มีการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging) หรือเอ็มอาร์ไอ คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ฝังอยู่ในร่างกาย หรือหากคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว แพทย์จะไม่แนะนำการทำเอ็มอาร์ไอสำหรับสถานการณ์ดังกล่าว

ในวันเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจ คุณควรสวมเสื้อชั้นในไปด้วย เนื่องจากผู้ดูแลสุขภาพอาจใส่ถุงเย็นประคบเต้านมบริเวณที่ต้องตัดชิ้นเนื้อ ซึ่งเสื้อชั้นในจะช่วยให้ถุงเย็นนั้นอยู่กับที่ และช่วยพยุงเต้านมด้วย

ขั้นตอนการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ

การตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่วนตรวจ อาจเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพียงบางส่วน (Incisional Biopsy) หรือการตัดชิ้นเนื้อออกทั้งก้อน (Excisional biopsy) ซึ่งเป็นการตัดในบริเวณกว้าง มักทำในห้องผ่าตัด โดยต้องให้ยาระงับความรู้สึกผ่านทางหลอดเลือดดำที่มือหรือแขน และให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อให้เต้านมรู้สึกชา

หากไม่สามารถสัมผัสก้อนเนื้อในเต้านมได้ รังสีแพทย์อาจใช้เทคนิคที่เรียกว่า การใช้สายปักชี้ตำแหน่ง (Wire localization) เพื่อเป็นแนวทางการผ่าตัดสำหรับศัลยแพทย์ วิธีนี้มักทำก่อนการผ่าตัด โดยรังสีแพทย์จะใช้ปลายของสายเล็กๆ จิ้มเข้าในไปภายในก้อนเนื้อเต้านมหรือจิ้มผ่านไป

เมื่อได้ชิ้นเนื้อที่ต้องการแล้ว แพทย์จะส่งเนื้อเยื่อไปให้ห้องปฏิการตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ และบริเวณขอบของก้อนเนื้อ นั้นมีเซลล์มะเร็งหรือไม่

หากมีเซลล์มะเร็งอยู่ที่ขอบของก้อนเนื้อ จะต้องมีการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อออกเพิ่มเติม แต่หากที่ขอบนั้นไม่มีเซลล์มะเร็งแล้ว และตัดมะเร็งออกไปหมด ก็หมายถึงได้กำจัดมะเร็งออกไปจนหมดแล้ว

หลังการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ

หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ คุณจะกลับบ้านพร้อมกับผ้าพันแผล และถุงประคบเย็นที่เต้านมในบริเวณที่ถูกตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจ โดยปกติแล้ว แพทย์แนะนำให้คุณพักผ่อนอย่างน้อย 1 วันก่อนกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ หากคุณเข้ารับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจด้วยวิธีการใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (Core Needle Biopsy) ก็อาจทำให้เกิดรอยช้ำได้

เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ แพทย์อาจให้คุณรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่แอสไพรินซึ่งมีอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) เป็นส่วนประกอบ และประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวม

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์

ผลการตรวจ

ผลการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมตัวอย่าง

ผลการรายงานพยาธิวิทยา (Pathology) มีทั้งข้อมูลเกี่ยวกับขนาด และความแข็งของก้อนเนื้อเยื่อตัวอย่างบริเวณตัดชิ้นเนื้อเต้านมเพื่อส่งตรวจ รวมถึงผลเกี่ยวกับชนิดของชิ้นเนื้อ ว่า ไม่เป็นมะเร็ง (Benign) หรือเป็นเซลล์เนื้อร้าย (Precancerous cells)

หากผลการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมบอกว่าเป็นปกติ หรือไม่เป็นมะเร็ง แพทย์จะต้องดูว่า ความเห็นตรงกันกับรังสีแพทย์และนักพยาธิวิทยาหรือไม่ ในบางครั้ง ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้อาจแตกต่างกัน เช่น รังสีแพทย์อาจเห็นว่า ผลการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมชี้ว่า มีจุดน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น หรือเป็นร่องรอยของโรคก่อนเป็นเนื้อร้าย แต่ผลรายงานทางพยาธิวิทยาอาจจะบอกว่า เป็นเนื้อเยื้อเต้านมปกติ ในกรณีดังกล่าวอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพิ่มเติม เพื่อประเมินในบริเวณนั้น

หากผลรายงานทางพยาธิวิทยาบอกว่า มีเซลล์มะเร็งอยู่ ก็จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เช่น ประเภทของโรคมะเร็งเต้านม และข้อมูลเพิ่มเติม เช่น โรคมะเร็งนั้นตัวรับฮอร์โมนบวกหรือลบ คุณและแพทย์จะต้องวางแผนการรักษาที่เหมาะกับคุณที่สุด

ค่าปกติสำหรับการตรวจชิ้นเนื้อเต้านม อาจมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบอย่างละเอียด

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตัดชิ้นเนื้อเต้านมส่งตรวจ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา