backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/09/2020

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia)

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia) คือการขาดกรดโฟลิคในเลือด ที่ช่วยร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ คุณก็จะเป็นโรคโลหิตจาง

คำจำกัดความ

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต คืออะไร

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate Deficiency Anemia) คือการขาดกรดโฟลิคในเลือด กรดโฟลิคเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ที่ช่วยร่างกายในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง หากคุณมีปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ คุณก็จะเป็นโรคโลหิตจาง

เซลล์เม็ดเลือดแดงจะลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย หากคุณมีภาวะโลหิตจาง เลือดจะลำเลียงออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้ไม่เพียงพอ และเมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น

ระดับของกรดโฟลิคที่ต่ำยังสามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ (megaloblastic anemia) ซึ่งเป็นสภาวะที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีจำนวนน้อยกว่า และยังเป็นรูปทรงรีไม่ใช่วงกลม ในบางครั้งเซลล์เม็ดเลือดแดงเหล่านี้ยังมีชีวิตสั้นกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติ

คนส่วนใหญ่จะได้รับกรดโฟลิคจางอย่างเพียงพอจากอาหารที่รับประทาน แต่บางคนอาจจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีปัญหากับการดูดซึมสารอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ว่า คุณควรจะรับประทานวิตามินเสริมที่มีกรดโฟลิคหรือไม่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับกรดโฟลิคที่เพียงพอ อาจทำให้ทารกเกิดความบกพร่องแต่กำเนิดอย่างรุนแรง

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต พบได้บ่อยได้แค่ไหน

โลหิตจางจากการขาดโฟเลตสามารถส่งผลกระทบได้กับคนทุกช่วงวัย สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

อาการ

อาการของโลหิตจางจากการขาดโฟเลตเป็นอย่างไร

อาการของภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตมีดังต่อไปนี้

  • ผิวซีด
  • รู้สึกหงุดหงิด
  • ขาดพลังงานหรือเหนื่อยได้ง่าย
  • ท้องร่วง
  • ลิ้นเรียบและนุ่ม
  • รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
  • หลงๆ ลืมๆ
  • เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
  • มีปัญหากับการรวบรวมสมาธิ
  • อาการโลหิตจางจากการขาดโฟเลตอาจดูเหมือนกับสภาวะเกี่ยวกับเลือด หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรไปหาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคทุกครั้ง

    อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

    ควรไปพบหมอเมื่อไร

    ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุ โลหิตจางจากการขาดโฟเลต

    คุณสามารถเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต ในกรณีดังนี้

    • คุณรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคไม่เพียงพอ ได้แก่ผักใบเขียว ผลไม้สด ยีสต์ และเนื้อสัตว์ (รวมถึงตับ)
    • ร่างกายของคุณดูดซีมกรดโฟลิคได้ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากคุณดื่มสุรามากเกินไป หรือมีปัญหาที่ไตอย่างรุนแรง และต้องการฟอกไต
    • คุณเป็นโรคบางอย่างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น โรคเซลิแอค (celiac disease) ภาวะโลหิตจางชนิดนี้ยังสามารถเกิดได้กับผู้ที่เป็นมะเร็งอีกด้วย
    • คุณกำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับอาการชักอย่างยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่างดิแลนทิน (dilantin) ยาเมโธเทรกเซท (methotrexate) ยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) ยาไตรแอมเทอรีน (triamterene) ยาไพริเมทามีน (pyrimethamine) ยาไตรเมโทพริม-ซัลฟาเมทอกซาโซน (trimethoprim-sulfamethoxazole) และยาในกลุ่มบาร์บิทูเรต (barbiturates)
    • คุณกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากในการพัฒนาการของเด็กทารกนั้นจำเป็นต้องใช้กรดโฟลิคมากขึ้น และมารดาจะดูดซึมกรดโฟลิคได้ช้าลง การขาดกรดโฟลิคระหว่างตั้งครรภ์ มีความเกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องแต่กำเนิดที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสมอง ไขสันหลัง และกระดูกสันหลัง อย่างภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects)

    ทารกบางคนเกิดมาโดยไม่มีความสามารถในการดูดซึมกรดโฟลิค ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเม็ดเลือดแดงโตผิดปกติ ที่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ และรูปร่างผิดปกติ การรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยป้องกันปัญหา เช่น ความสามารถในการใช้เหตุผลและการเรียนรู้ต่ำ

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโลหิตจางจากการขาดโฟเลต

    ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตมีมากมาย เช่น

    • การไม่รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • การดื่มสุรามากเกินไป
    • กำลังตั้งครรภ์
    • ไม่สามารถดูดซึมกรดโฟลิคได้
    • กำลังใช้ยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการชัก

    การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยภาวะ โลหิตจางจากการขาดโฟเลต

    แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักประวัติของคุณ และสอบถามความรู้สึกของคุณ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดง และดูว่าร่างกายของคุณมีกรดโฟลิคเพียงพอหรือไม่ การทดสอบอาจมีดังต่อไปนี้

    • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
    • ตรววจสอบระดับของโฟเลตในเซลล์เม็ดเลือดแดง

    นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบปริมาณของวิตามินบี 12 อีกด้วย บางคนมีที่ระดับของกรดโฟลิคน้อยเกินไป อาจจะมีระดับของวิตามินบี 12 น้อยด้วยเช่นกัน สภาวะทั้งสองนี้มีอาการที่คล้ายกัน

    นอกจากนี้อาจต้องมีการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยแบเรียม เพื่อดูว่าปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารนั้น เป็นสาเหตุหรือไม่ ที่ไม่ค่อยพบบ่อยก็คืออาจต้องมีการตรวจไขกระดูกอีกด้วย (bone marrow examination)

    การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต

    เป้าหมายคือการระบุและรักษาสาเหตุของอาการขาดโฟเลต แพทย์จะทำการเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด โดยขึ้นอยู่กับ

    • อายุ สุขภาพโดยรวม และประวัติทางการแพทย์
    • ระดับของอาการป่วยที่คุณเป็น
    • ความสามารถในการรับมือกับยาบางชนิด การรักษา หรือการบำบัด
    • ระยะเวลาที่คาดการณ์ว่าคุณจะเป็นโรคนี้
    • ความคิดเห็นหรือความชอบของคุณ

    การรักษาอาจมีดังนี้

    คุณอาจจำเป็นต้องรับกรดโฟลิคเสริมเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน อาจเป็นแบบยาเม็ดหรือยาฉีด ควรรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูงและลดการดื่มสุรา นอกจากนี้ปัญหาที่ระบบทางเดินอาหารยังสามารถทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ ดังนั้น แพทย์อาจจะรักษาที่อาการนี้ก่อน

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยจัดการภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต

    รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูงเพื่อที่จะได้ไม่เกิดภาวะโลหิตจางอีกครั้ง อาหารเหล่านี้คือขนมปังและซีเรียลเสริมอาหาร ผลไม้ตระกูลส้ม และผักใบเขียวเข้ม

    หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/09/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา