backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตับโต อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/03/2023

ตับโต อาการ สาเหตุ และการรักษา

ตับโต เป็นภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แพ้ยา ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย มะเร็งตับ ไขมันในตับ ส่งผลให้มีอาการอาเจียน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย แน่นท้อง หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อตับในระยะยาวจนอาจทำให้ตับเสียหายได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบความปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจนิจฉัยและทำการรักษา

คำจำกัดความ

ตับโต คืออะไร

ตับโต (Hepatomegaly) คือ ภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ในผู้ป่วยบางรายอาจส่งผลให้ตับและม้ามมีขนาดโตขึ้นพร้อมกัน โดยจะเรียกว่า ภาวะตับและม้ามโต (Hepatosplenomegaly)

ตับเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบย่อยอาหาร ที่ช่วยกระบวนการย่อยอาหาร และทำหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สร้างน้ำดีเพื่อช่วยสลายอาหารให้เป็นพลังงาน สังเคราะห์สารเคมีที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนต่าง ๆ ช่วยกำจัดสารพิษต่าง ๆ จากเส้นเลือด เช่น สารพิษจากยา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมการสะสมไขมัน รวมทั้งการสร้างและปลดปล่อยคอเลสเตอรอล

อาการ

อาการของตับโต

สัญญาณบ่งชี้และอาการของตับโต อาจมีดังนี้

  • อาการปวดบริเวณช่องท้องด้านขวาบน
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้
  • เบื่ออาหารและน้ำหนักลด
  • ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน)

ภาวะตับโตอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ที่รุนแรง หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขั้นรุนแรง ดังนี้

  • ภาวะตับแข็ง
  • โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic Encephalopathy)
  • โรคมะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma)
  • ภาวะตับวาย (Liver Failure)
  • ความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดดำที่เข้าสู่ตับไปสู่หัวใจ
  • มะเร็งลุกลาม
  • การติดเชื้อลุกลาม

ควรไปพบหมอเมื่อใด

ควรเข้าพบคุณหมอหากมีอาการใด ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น  อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และภาวะของโรคมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน จึงควรเข้าพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอเพื่อวินิจฉัย และรักษาอย่างเหมาะสม

สาเหตุ

สาเหตุของตับโต

ภาวะตับโตอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

อาการตับอักเสบ หรือไขมันพอกตับ

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำให้มีการสะสมตัวของไขมัน โปรตีน หรือสารอื่น ๆ
  • โรคอ้วน
  • การติดเชื้อ
  • การใช้ยาบางชนิด
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สารพิษต่าง ๆ
  • โรคตับอักเสบบางชนิด
  • โรคแพ้ภูมิตนเอง
  • กลุ่มอาการเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ระดับคอเรสเตอรอลสูง ไขมันในช่องท้องสูง

การเจริญเติบโตผิดปกติของอวัยวะภายใน

  • ถุงน้ำ
  • เนื้องอกที่เริ่มเกิดในหรือแพร่กระจายไปยังตับ

ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต

  • หัวใจวาย ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้ดี
  • ลิ่มเลือดในหลอดเลือดตับ ซึ่งเป็นการอุดตันของหลอดเลือดในตับ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของตับโต

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะตับโต อาจมีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การใช้ยา วิตามิน หรืออาหารเสริมในปริมาณมาก
  • การใช้สมุนไพร

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย

โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายเพื่อดูว่าตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติหรือไม่ อาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ตับโต นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจให้มีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การตรวจด้วยซีทีสแกน (CT Scan)
  • การตรวจด้วยการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษา

ทางเลือกในการรักษาขึ้นอยู่กับความผิดปกติพื้นฐานที่ทำให้เกิดภาวะตับโต หรือคุณหมออาจแนะนำทางเลือกอื่น ๆ ดังนี้

  • การใช้ยาและการรักษาภาวะตับวาย หรือการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบซี
  • การใช้เคมีบำบัด หรือการฉายรังสีสำหรับมะเร็งตับ
  • การผ่าตัด
  • การปลูกถ่ายตับ สำหรับตับที่ได้รับความเสียหาย
  • การรักษาสาเหตุของมะเร็งระยะแพร่กระจาย
  • การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระดับการลุกลาม และสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • การเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกใช้ยาเสพติดอื่น ๆ

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การปรับไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับภาวะตับโต

เนื่องจากมีปัจจัยเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์หลายประการที่ทำให้เกิดภาวะตับโต การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจลดความเสี่ยงสำหรับตับโตได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน คุณหมออาจแนะนำให้ลดน้ำหนักด้วย
  • หากเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดดื่ม โดยคุณหมอสามารถบอกได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคุณมากเกินไปหรือไม่
  • ปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามิน เนื่องจากอาจมีปฏิกิริยาต่อการทำงานของตับ
  • ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเสริมสมุนไพร
  • ปฏิบัติตามข้อแนะนำของนายจ้างอย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัย หากต้องทำงานกับสารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแบบฉีดละออง

หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 23/03/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา