backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/11/2023

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion)

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ที่เป็นต่อมสร้างน้ำมันหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตา เกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นไหลออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง

คำจัดความ

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ คืออะไร

ตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ (Chalazion) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก บวมปรากฏอยู่บริเวณเปลือกตา (ไม่มีอาการเจ็บ) โดยเกิดจากต่อมไมโบเมียน (Meibomian) ซึ่งเป็นต่อมสร้างน้ำตาหล่อลื่นดวงตาบริเวณขอบเปลือกตาเกิดการอุดตันหรืออักเสบ ทำให้น้ำมันหล่อลื่นออกจากท่อตาได้ยาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง

พบได้บ่อยแค่ไหน

อาการตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการอักเสบดังนี้ ต่อมไขมันอักเสบ สิว โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย เปลือกตาอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น

อาการ

อาการของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                     

ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด  แต่ขนาดของก้อนบริเวณเปลือกตาอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็น  และทำให้เกิดการระคายเคืองกับดวงตา

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาคุณหมอ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามภาวะสุขภาพที่แตกต่างกันไป

สาเหตุ

สาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ                    

โดยปกติสาเหตุของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ตาชนิดหนึ่ง โดยมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ  ดังนี้

  • ต่อมไขมันอักเสบ
  • สิว
  • โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรซาเชีย
  • เปลือกตาอักเสบระยะยาว
  • โรคตา
  • การติดเชื้อไวรัสบริเวณเปลือกตา

ปัจจัยเสี่ยงของโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ

  • การติดเชื้อไวรัส
  • วัณโรค
  • มะเร็งผิวหนัง
  • โรคเบาหวาน

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ

ในกรณีส่วนใหญ่คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะนี้ด้วยการดูก้อนที่ปรากฏบริเวณเปลือกตา และสอบถามอาการของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบยืนยันให้แน่ชัดว่าก้อนที่ปรากฎเป็นตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บหรือไม่

การรักษาตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ

ตากุ้งยิงมักหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่การรักษาอาจทำให้อาการตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บหายไวขึ้น โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้

  • การรักษาทางการแพทย์ คุณหมออาจฉีดยายาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)  หรือผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการให้หายไวยิ่งขึ้น
  • การรักษาที่บ้าน ประคบอุ่นที่เปลือกตาวันละ 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10 นาที วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการบวมได้โดยทำให้น้ำมันในต่อมอุดตันอ่อนตัวลง
  • การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาโรคตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ

    วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดตากุ้งยิงชนิดไม่เจ็บ มีดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตาทุกครั้ง
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่นำเข้าตาสะอาดและปลอดภัย เช่น การใส่คอนแทคเลนส์ การสวมใส่แว่นตา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/11/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา