backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/08/2020

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst)

หากคุณลองสังเกตตนเองว่าเริ่มมีการเคลื่อนไหวลำบาก ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง รวมทั้งเริ่มมีอาการเจ็บปวดเมื่อเผลอโดนเสียดสีบริเวณช่องคลอด ควรสำรวจอาการตนเอง และรีบเร่งทำการรักษา หรืออาจเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอโดยด่วน เพราะคุณอาจมีความเสี่ยงเป็นโรค ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst) หรือ โรคฝีในอวัยวะเพศ ได้

คำจำกัดความ

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst) คืออะไร

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst) สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า โรคฝีในอวัยวะเพศ ซึ่งมักมีอยู่ในแต่ด้านของภายในช่องคลอด ที่มีหน้าที่ในการผลิตของเหลว หรือสารหล่อลื่นออกมา เพื่อป้องกัน และลดการเสียดสีของเนื้อเยื่อช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์

แต่ขณะเดียวกันในระหว่างที่ผลิตน้ำหล่อเลี้ยงออกมานี้มากเกินไป ก็อาจให้เกิดการสะสมนำไปสู่การอุดตันภายในท่อ พร้อมทั้งยังอาจนำพาแบคทีเรียต่าง ๆ อย่าง Escherichia coli (E.coli) เข้าไปภายในจนเกิดการติดเชื้อ จนคุณรู้สึกเจ็บปวดช่องคลอดอย่างมาก

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ตั้งแต่อายุ 20-30 ปี นับไดว่าแทบจะเป็นอาการที่เกิดข้นได้ทุกช่วงของการเจริญเติบโตเลยทีเดียว

อาการ

อาการของถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

หากถุงน้ำต่อมบาร์โธลินของคุณเกิดการติดเชื้อ อาจกลับกลายเป็นก้อนเนื้อที่นูนออกมาให้คุณสังเกตได้อย่างง่ายดาย และสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ 0.2-1 นิ้ว ส่วนใหญ่แล้วหากผู้ที่อยู่ในภาวะติดเชื้อระดับต่ำ อาจไม่เผยอาการใด ๆ ออกมาให้คุณได้ทราบ แต่หากอยู่ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง อาจทำให้คุณรับรู้ได้ถึงอาการที่ผิดปกติดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณช่องคลอด พร้อมกับมีก้อนเนื้อ
  • ช่องคลอดมีลักษณะเป็นสีแดง
  • เคลื่อนไหวลำบาก
  • เจ็บช่องคลอดในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ไข้ขึ้นสูง
  • หนองภายในถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิดถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการอุดตันของน้ำหล่อลื่นในถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน อีกทั้งยังอาจมาจากการติดเชื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ จนทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในช่องคลอด ซึ่งสามารถอาจพัฒนาต่อไปยังให้เกิดโรคหนองในเทียมได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการอักเสบภายในถุงน้ำของคุณอาจมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่บ่อยจนเกินไป และอาจขาดการรักษาสุขอนามัยที่ดี จนทำให้เชื้อแบคทีเรียบางชนิดเข้ามาสู่ภายในช่องคลอดได้โดยง่าย

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

โดยทั่วไปแพทย์อาจทำการตรวจสอบบริเวณก้อนถุงน้ำในช่องคลอดของคุณว่ามีหนอง หรืออาการติดเชื้อใด ๆ ที่รุนแรงหรือไม่ และอาจทำการค้นหาโรคอื่น ๆ ที่แฝงเข้ามาเพิ่มเติม จากการนำเนื้อเยื่อผนังของช่องคลอดเข้าไปตรวจสอบร่วม เพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงอย่าง โรคเอดส์ โรคมะเร็ง ที่อาจตามมา

การรักษาอาการถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

บ่อยครั้งที่อาการถุงน้ำบาร์โธลินอักเสบแทบจะไม่ต้องการการรักษาใด ๆ แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่การพิจาณาของทางแพทย์ หากผ่านการวินิจฉัยเบื้องต้นจากทางแพทย์แล้วว่าขนาดของก้อนเนื้อคุณจำเป็นที่ต้องการได้รับการรักษา

ทางแพทย์อาจให้คุณใช้ยาปฏิชีวนะที่ช่วยต่อต้านกับเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อระบายสิ่งที่อุดตัดในถุงน้ำต่อมบาร์โธลินออกมา เพื่อลดอาการอักเสบ และอาการเจ็บปวดเรื้อรัง

ในบางกรณีอย่างขนาดถุงน้ำต่อมบาร์โธลินมิได้มีขนาดใหญ่โตจนสร้างความเจ็บปวด แพทย์อาจแนะนำให้คุณกลับไปรักษาตนเองที่บ้านได้ โดยควรหมั่นจากแช่น้ำอุ่น หรือการนำลูกประคบอุ่น ๆ มานวดบริเวณก้อนที่นูนออกมา ประมาณ 3-4 ครั้งต่อวัน เพื่อให้น้ำอุดตันภายในก้อนถุงน้ำนั้นแตก และยุบลง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ

ถึงแม้จะยังไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่ชัด แต่การที่ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบนั้น มีความข้องกับการมีเพศสัมพันธ์อยู่มาก ดังนั้น โปรดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ควรใส่ถุงยางอนามัยป้องกันเสมอ และหมั่นล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังจากทำกิจกรรมร่วมกันเสร็จทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคติดต่ออื่น ๆ ที่อาจตามมา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา