backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding)

อาการที่มีเลือดออกทางทวารหนัก หรือ ถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) ส่วนใหญ่มักได้รับการสันนิษฐานว่า เป็นเลือดที่ไหลมาจากลำไส้ส่วนล่างหรือไส้ตรง

คำจำกัดความ

ถ่ายเป็นเลือด คืออะไร

อาการถ่ายเป็นเลือด (Rectal Bleeding) หรือเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระมีเลือดปน คืออาการที่มีเลือดไหลผ่านออกมาทางทวารหนัก ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเลือดที่ไหลจากลำไส้ส่วนล่างหรือลำไส้ตรง (Rectum)

อาการถ่ายเป็นเลือด อาจอยู่ในรูปแบบของเลือดที่ปนอยู่ในอุจจาระ ในกระดาษชำระ หรือในโถส้วม โดยเลือดที่เกิดจากภาวะถ่ายเป็นเลือดมักเป็นสีแดงสด แต่บางครั้งก็เป็นสีแดงอมน้ำตาล

ถ่ายเป็นเลือด พบได้บ่อยเพียงใด

อาการถ่ายเป็นเลือด ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่จะพบได้ในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก อุจจาระแข็ง ริดสีดวงทวาร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาคุณหมอ

อาการ

อาการ ถ่ายเป็นเลือด มีอะไรบ้าง

อาการที่ชัดเจนที่สุดของ อาการถ่ายเป็นเลือด คือ มีเลือดสีแดงติดมากับกระดาษชำระที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระในชักโครกหรือโถส้วม อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องสังเกตสีของเลือดและสีอุจจาระอยู่เสมอ เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงลักษณะอาการต่าง ๆ ได้

  • เลือดสีแดงสด บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง เช่น ลำไส้หรือไส้ตรง
  • เลือดสีแดงคล้ำ หรือสีเหมือนไวน์ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกในบริเวณลำไส้เล็ก หรือลำไส้ส่วนต้น
  • อุจจาระสีดำและคล้ำ บ่งชี้ถึงอาการเลือดออกจากกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบน

อาการอื่น ๆ ที่พบได้ในภาวะถ่ายเป็นเลือด ได้แก่

  • ความงุนงง
  • หน้ามืด
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดบริเวณลำไส้ตรง (Rectal pain)
  • ปวดในช่องท้องหรือเป็นตะคริว (cramping)
  • อาจมี อาการถ่ายเป็นเลือด ลักษณะอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาคุณหมอ

    ควรไปพบหมอเมื่อใด

    คุณควรไปพบหมอหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีเลือดปนในอุจจาระของเด็กเล็กหรือเด็กทารก
  • มีเลือดปนในอุจจาระนานติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃฃบาง หรือยาวกว่าปกติ นานติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
  • มีอาการปวดรุนแรงที่บริเวณบั้นท้าย
  • มีอาการปวดหรือรู้สึกว่ามีก้อนในช่องท้อง
  • รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • และควรไปพบคุณหมอทันที ถ้าหาก

    • อุจจาระมีสีดำหรือแดงคล้ำ
    • มีอาการท้องเสียเป็นเลือด โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

    สาเหตุ

    สาเหตุของอาการถ่ายเป็นเลือด

    อาการถ่ายเป็นเลือด อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้

    สาเหตุที่พบได้ทั่วไป 

    • แผลที่ทวารหนัก (Anal fissure)
    • ท้องผูกเรื้อรัง (Chronic constipation)
    • อุจจาระแข็ง (Hard stools)
    • ริดสีดวง (Hemorrhoids)

    สาเหตุที่พบได้ไม่มากนัก

    • มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
    • หลอดเลือดผนังลำไส้ใหญ่ขยายตัว (Angiodysplasia)
    • มะเร็งลำไส้ (Colon cancer)
    • ติ่งเนื้อในลำไส้ (Colon polyps)
    • โรคโครห์น (Crohn’s disease)
    • ไส้ตรงอักเสบ (Proctitis)
    • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ (Pseudomembranous colitis)
    • การฉายแสง (Radiation therapy)
    • มะเร็งไส้ตรง (Rectal cancer)
    • แผลที่ผนังไส้ตรง (Solitary rectal ulcer syndrome)
    • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
    • ท้องเสีย (Diarrhea) ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก
    • โรคกระเปาะของลำไส้ใหญ่ (Diverticulosis) มีถุงนูนที่ก่อตัวขึ้นที่ผนังลำไส้
    • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (Ischemic colitis) ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการขาดเลือด

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของอาการถ่ายเป็นเลือด

    ปัจจัยเสี่ยงของ อาการถ่ายเป็นเลือด มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

    • แก๊สในช่องท้อง การมีแก๊สในช่องท้องปริมาณมากจะเพิ่มแรงดันต่อทวารหนัก เสี่ยงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก
    • โรคพิษสุราเรื้อรัง หากเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เสี่ยงที่จะมีอาการเส้นเลือดบวมในหลอดอาหาร และเกิดการแตก ทำให้มีเลือดออกในหลอดอาหาร
    • อาการท้องผูก การอุจจาระไม่ออก หรืออุจจาระแข็งจนขับถ่ายไม่ออก เสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บขณะขับถ่ายจนทำให้มีเลือดปนออกมาเวลาที่มีการขับถ่าย
    • พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคโครห์น ลำไส้อักเสบ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะพบกับ อาการถ่ายเป็นเลือด
    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดในลำไส้จะอ่อนแอลง เสี่ยงที่จะมีอาการเลือดออกในลำไส้และปนมากับอุจจาระ

    อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษากับคุณหมอ

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการถ่ายเป็นเลือด

    คุณหมอสามารถทำการวินิจฉัย อาการถ่ายเป็นเลือด ได้หลายวิธี ดังนี้

    • ทำการซักประวัติว่าเริ่มมีอาการถ่ายเป็นเลือดเมื่อใด มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
    • คุณหมอจะทำการตรวจโดยการสวมถุงมือและสารหล่อลื่นเข้าไปในทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น ริดสีดวงทวาร
    • คุณหมออาจทำการส่องกล้องเพื่อตรวจหาความผิดปกติในทวารหนัก
    • นำตัวอย่างอุจจาระไปเข้ากระบวนการตรวจในห้องแล็บ
    • ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง
    • คุณหมออาจทำการตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสูญเสียเลือดมากเกินไปหรือไม่

    การรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด

    คุณหมอสามารถทำการรักษา อาการถ่ายเป็นเลือดได้หลายวิธี ดังนี้

    • รักษาโดยการสอดกล้องเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร เพื่อตรวจหาบริเวณที่มีเลือดออก จากนั้นจะทำการห้ามเลือดโดยการใช้สารเคมี การเลเซอร์ หรือใช้กระแสไฟฟ้า ผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดดำ
    • รักษาโดยการถ่ายเลือด
    • รักษาโดยการระบายน้ำออกจากกระเพาะอาหาร
    • รักษาโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
    • รักษาตามสาเหตุ เช่น มีอาการถ่ายเป็นเลือดจากริดสีดวงทวาร คุณหมอจะทำการรักษาริดสีดวงทวารให้ดีขึ้น เพื่อบรรเทาอาการถ่ายเป็นเลือด หรือถ้าขับถ่ายเป็นเลือดจากอาการท้องผูก คุณหมออาจแนะนำให้มีการรับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง เพื่อกระตุ้นให้มีการขับถ่ายตามปกติ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไล์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่อาจช่วยจัดการกับคอตีบการถ่ายเป็นเลือด

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกัน อาการถ่ายเป็นเลือด ได้

    • รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • รักษาความสะอาดบริเวณไส้ตรง
    • ดื่มน้ำมาก ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา