backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

นอนไม่หลับ (Insomnia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

นอนไม่หลับ (Insomnia)

โรค นอนไม่หลับ เป็นภาวะที่คุณไม่สามารถนอนหลับได้ หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับ ถ้าการนอนหลับส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ และสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีรักษาโรคนอนไม่หลับ มีดังนี้

โรคนอนไม่หลับคืออะไร

โรค นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นภาวะที่คุณรู้สึกว่าหลับยาก นอนไม่หลับ หรือทั้งสองอย่าง โดยอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเรื้อรังที่ขัดขวางการนอนหลับ แม้ในเวลาที่คุณต้องการก็ตาม เมื่อมีอาการนอนไม่หลับคุณก็มักจะตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่น ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของคุณในระหว่างวันได้

จากการศึกษาวิจัยขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประมาณ 27% ของคนไข้ที่ได้ทำการสำรวจนั้น มีอาการ “นอนหลับยาก’  ซึ่งส่งผลต่อเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาจส่งผลต่อผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ แต่การที่มีอายุมากขึ้นก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ ซึ่งการลดปัจจัยเสี่ยงก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ กรุณาปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

อาการนอนไม่หลับเป็นอย่างไร

โรคนอนไม่หลับมักจะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ แต่ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการที่พบบ่อยในอาการนอนไม่หลับคือ :

  • นอนหลับยากในเวลากลางคืน
  • ตื่นขึ้นมาตอนกลางคืน หรือตื่นเร็วเกินไป
  • ไม่รู้สึกผ่อนคลายหลังจากนอนหลับ
  • เหนื่อยและง่วงนอนในเวลากลางวัน
  • รู้สึกหงุดหงิด ซึม หรือมีความวิตกกังวล
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ หรือการให้ความสนใจกับเรื่องงาน และการจดจำ
  • ปวดหัว
  • รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหารและลำไส้
  • มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ

อาจมีสัญญาณหรืออาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้นหากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใดๆ  โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาแพทย์

หากอาการนอนไม่หลับ ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุของปัญหาการนอนหลับ และให้ข้อปฏิบัติเพื่อทำการรักษา

สาเหตุโรคนอนไม่หลับคืออะไร

มีปัจจัยอยู่หลายอย่างที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ สภาพจิตใจบางอย่างอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า แม้ในคนที่มีสุขภาพดี…กิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็อาจนำไปสู่อาการนอนไม่หลับได้

  • ความเครียด สิ่งที่คุณมีความกังวลในชีวิตไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงาน โรงเรียน สุขภาพ หรือครอบครัว ก็สามารถทำให้รู้สึกตื่นตัว จนยากที่จะนอนหลับในเวลากลางคืนได้
  • ความวิตกกังวล ความวิตกกังวลก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากเป็นตัวขัดขวางไม่ให้สามารถนอนหลับได้
  • นิสัยการนอนที่ไม่ดี นิสัยการนอนที่ไม่ดีหมายความว่า คุณมีตารางการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น เล่นหรือทำอะไรให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ก่อนถึงเวลานอน สภาพแวดล้อมการนอนไม่สบาย และการใช้เตียงสำหรับกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการนอนหลับ หรือการมีเพศสัมพันธ์
  • คาเฟอีน นิโคติน และแอลกอฮอล์ การบริโภคอะไรพวกนี้ในตอนบ่ายแก่ๆ ไปแล้ว อาจทำให้คุณไม่สามารถนอนหลับได้ เพราะสารนิโคตินส่งผลต่อสมองของคุณ ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะขัดขวางกันไม่ให้คุณหลับได้ลึก และมักจะทำให้คุณตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืน
  • กินมากเกินไปในช่วงเย็น นี่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวในขณะที่เอนตัวลง จนทำให้ยากที่นอนหลับได้ นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกแสบร้อนกลางอก เนื่องจากกรดไหลย้อน ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวจนนอนไม่หลับได้
  • อาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ และไฟโบรมัยอัลเจีย ความยากลำบากในการหายใจ เช่น โรคกรดไหลย้อน และอาการแสบร้อนกลางอก หรือจำเป็นต้องปัสสาวะบ่อยๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคไข้เหลือง
  • ยา ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ เช่น ยาต่อต้านอาการซึมเศร้า ยาสเตอรอยด์ หรือยาลดความดัน รวมทั้งยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพ

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับการนอนไม่หลับเช่น:

  • เพศ มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระหว่างรอบประจำเดือน และอาจจะมีผลบ้างในในวัยหมดประจำเดือน
  • อายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอายุมากกว่า 60 ปี เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนและปัญหาสุขภาพ การนอนไม่หลับจะเป็นปัญหามากขึ้นตามอายุ
  • ปัญหาสุขภาพจิต หากคุณมีความผิดปกติของสุขภาพจิตเช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคไบโพลาร์ และความเครียดจากการเกิดบาดแผล
  • การทำงาน งานบางงานที่ต้องให้คุณทำงานในเวลากลางคืน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการนอนไม่หลับ
  • การเดินทาง คุณอาจมีความเสี่ยงสูงหากต้องเดินทางไกล ความล่าช้าในการเดินทางจากการเดินทางข้ามโซนเวลาหลายๆ อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

ทำความเข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยอาการ

แพทย์ของคุณสามารถถามคำถามต่างๆเพื่อวินิจฉัยอาการของคุณ พวกเขาอาจต้องการให้คุณกรอกแบบสอบถามเพื่อกำหนดรูปแบบการนอนหลับ และระดับความง่วงนอนตอนกลางวันของคุณ แพทย์อาจให้คุณทำไดอารี่สำหรับบันทึกการนอนหลับ เพื่อตรวจสอบรูปแบบการนอนของคุณ

หากแพทย์สงสัยว่าอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ก็อาจจะขอการทดสอบทางการแพทย์อย่างอื่นเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น อาจจำเป็นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อหาปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรืออาการอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

หากแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ถูกต้องของการนอนไม่หลับของคุณได้ คุณอาจต้องนอนค้างคืนที่ศูนย์ช่วยหายใจ ซึ่งที่นั่นจะมีเครื่องตรวจสอบ และบันทึกกิจกรรมในร่างกายของคุณ ในขณะที่คุณนอนหลับ รวมถึงคลื่นสมองการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวดวงตา และการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การรักษาโรค นอนไม่หลับ

คุณอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนิสัยการนอนหลับและเปลี่ยนยาเพื่อให้นอนหลับสบาย แพทย์อาจแนะนำคุณเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการนอนหลับ และวิธีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการนอนของคุณ

หากวิธีเหล่านี้ไม่สามารถช่วยได้ แพทย์อาจแนะนำยาเพื่อช่วยในการผ่อนคลายและนอนหลับ คุณสามารถใช้ยานอนหลับเช่น โซลพิเดม (Ambien) เอสโซปิโคลน (Lunesta) ซาปลอน (Sonata) หรือ ราเมลทีออน (Rozerem) เพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้ อย่างไรก็ตามคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจ ว่ายาชนิดใดควรใช้ในระยะสั้น และชนิดใดสามารถใช้ได้ในระยะยาว

แพทย์อาจให้ยานอนหลับที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา ซึ่งยาพวกนี้มีส่วนผสมของสารแอนตี้ฮิสตามีน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน แต่อาจเกิดอาการข้างเคียงได้

การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน และการเยียวยาที่บ้าน

การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน หรือการเยียวยาด้วยตัวเองอะไรบ้าง ที่สามารถช่วยในการจัดการกับอาการนอนไม่หลับ

วิถีชีวิตและการเยียวยาด้วยตัวเองต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณรับมือกับอาการนอนไม่หลับได้

  • ออกกำลังกาย ให้รู้สึกกระฉับกระเฉง
  • ตรวจสอบยาของคุณ ถ้าคุณใช้ยาเป็นประจำ ก็ตรวจสอบกับแพทย์เพื่อดูว่า มีส่วนในอาการการนอนไม่หลับของคุณอยู่หรือเปล่า
  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับ ซึ่งการงีบหลับควรมีเวลาไม่เกิน 30 นาที และอย่างีบหลับหลังจากบ่ายสามโมงไปแล้ว
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ รวมถึงอย่าบริโภคนิโคติน
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อหนัก ในช่วงเวลาก่อนนอน

หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา