backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

นิ้วเปื่อย (Pruney Fingers) สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/01/2024

นิ้วเปื่อย (Pruney Fingers) สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผิวหนังบนนิ้วมืออาจเกิดรอยย่นขึ้นได้ เมื่อแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “นิ้วเปื่อย” นอกจากนั้นการจับวัตถุที่เปียกหรือจับวัตถุต่าง ๆ ในน้ำก็สามารถทำให้นิ้วเปื่อยได้

คำจำกัดความ

นิ้วเปื่อย (Pruney Fingers) คืออะไร

ผิวหนังบนนิ้วมืออาจเกิดรอยย่นขึ้นได้ เมื่อแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “นิ้วเปื่อย” นอกจากนั้นการจับวัตถุที่เปียกหรือจับวัตถุต่าง ๆ ในน้ำก็สามารถทำให้นิ้วเปื่อยได้ แต่ถ้าหากนิ้วมือเปื่อยนั้นเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้โดนน้ำเลยแม้แต่น้อย มันอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาทางการแพทย์ก็ได้

ผิวหนังบนนิ้วมือและนิ้วเท้าของมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ผิวหนังเรียบไม่มีขน (Glabrous) แต่เมื่อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ผิวหนังที่เรียบและไม่มีขนนั้นมีลักษณะเหมือนลูกพรุน โดยคนส่วนใหญ่จะพบเจอนิ้วเปื่อยได้บ่อย ๆ จากการอาบน้ำนาน ๆ ว่ายน้ำ หรือล้างจาน ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นจากน้ำอุ่นมากกว่าน้ำเย็น

นิ้วเปื่อย พบบ่อยเพียงใด

โดยปกติแล้วนิ้วเปื่อยจะพบได้บ่อย เมื่อคุณอาบน้ำเป็นเวลานานๆ หรือใช้เวลาในสระว่ายน้ำเป็นเวลานาน ๆ แต่บางครั้งนิ้วเปื่อยก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากน้ำเพียงอย่างเดียว มันอาจเกิดขึ้นได้จากอาการของปัญหาทางการแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

นิ้วเปื่อยที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสน้ำไม่มีอะไรที่ต้องกังวล เพราะมันสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้หลังจากที่แห้งแล้ว บุคคลที่มีอาการนิ้วเปื่อยโดยที่ไม่ได้เกิดจากน้ำ แต่ไม่มีอาการอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจน อาจจะเกิดจากภาวะขาดน้ำที่ยังไม่รุนแรง ซึ่งทุกคนที่ประสบภาวะขาดน้ำควรดื่มน้ำให้มากขึ้น

หากบุคคลดื่มน้ำเพียงพอ แต่ยังมีอาการนิ้วเปื่อย มันอาจเป็นภาวะทางการแพทย์ ใครก็ตามที่มีอาการนิ้วเปื่อยบ่อย ๆ จนเกิดความกังวล คุณสามารถไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ นอกจากนั้นการจดบันทึกอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และตัวกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดอาการนิ้วเปื่อยได้นั้น สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้ดีขึ้น

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของนิ้วเปื่อย

นิ้วเปื่อยเกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทส่งข้อความไปยังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดตัวลง เส้นเลือดบริเวณปลายนิ้วตีบตันลงเล็กน้อย ทำให้เกิดรอยย่นขึ้นที่ผิวหนัง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการย่นของผิวนิ้วมือเมื่อสัมผัสกับน้ำหรืออุณหภูมิที่เย็น

การศึกษาขนาดเล็กในปี 2013 ขี้ให้เห็นว่าการจับวัตถุในน้ำด้วยนิ้วมือเป็นรอยย่นได้ง่ายกว่า ซึ่งจากปรากฎการณ์นี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงวิวัฒนาการที่ช่วยให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับสภาพเปียก อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในปี 2014 พบว่า ผลลัพธ์ของการศึกษาขัดแย้งกับการศึกษาก่อนหน้านี้และสรุปได้ว่า รอยย่นของนิ้วมือเกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสกับน้ำ และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสามารถของมนุษย์ในการจัดการกับวัตถุเปียกหรือแห้ง

การแช่ในน้ำเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของนิ้วเปื่อย อย่างไรก็ตามก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดนิ้วเปื่อยได้เช่นกัน แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วนิ้วเปื่อยไม่ได้เป็นเพียงอาการของโรคเท่านั้น หากบุคคลหนึ่งประสบปัญหาจากภาวะทางการแพทย์ก็มักจะเกิดอาการนิ้วเปื่อยที่มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ

ภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้เกิดนิ้วเปื่อย

ในขณะที่นิ้วเปื่อยมักจะเกิดจากการแช่มือในน้ำ แม้จะไม่เป็นปัญหาและสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แต่มันก็อาจเกิดขึ้นได้โดยจากการที่มือไม่ได้โดนน้ำเช่นกัน ซึ่งสาเหตุของนิ้วเปื่อยที่ไม่ได้เกิดจากการโดนน้ำ มีดังนี้

ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

เมื่อคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ ผิวของคุณก็จะสูญเสียความยืดหยุ่น ซึ่งอาจส่งผลให้นิ้วเปื่อย รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย โดยผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน โดยเฉพาะในระหว่างหรือหลังออกกำลังกาย หรือในสภาพอากาศที่ร้อน การดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจากน้ำเปล่า เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และชา อาจทำให้คุณขาดน้ำได้ สำหรับอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะขาดน้ำ ได้แก่

โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากโรคเบาหวานสามารถทำให้นิ้วเปื่อยได้ โรคเบาหวานสามารถทำลายต่อมเหงื่อ ทำให้เกิดการขาดเหงื่อ จนทำให้ผิวเกิดความแห้งกร้านได้ โรคเบาหวานนั้นมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ความกระหายที่เพิ่มมากขึ้น
  • หิวมาก
  • ความเมื่อยล้า
  • คีโตนในปัสสาวะสูง
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ติดเชื้อบ่อย

ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ซึ่งอยู่ภายในคอและมีรูปร่างเหมือนผีเสื้อ มีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิและควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนั้นมันยังทำหน้าที่ควบคุมวิธีการสลายอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ใช้พลังงานทันทีหรืออาหารที่ถูกเก็บสำรองเอาไว้

ผู้ที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อาจมีอาการนิ้วเปื่อย รวมถึงมีผื่นเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดริ้วรอยคล้ายลูกพรุน ความผิดปกติของไทรอยด์อาจส่งผลให้มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของไทรอยด์ ดังนี้

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

  • ใบหน้าอ้วน
  • ความเมื่อยล้า
  • ท้องผูก
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรืออ้วนขึ้น
  • มีความรู้สึกไวต่อความเย็น
  • อาการปวดและตึงในข้อต่อ
  • ผมบาง

ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid)

  • น้ำหนักลดอย่างฉับพลัน
  • เหงื่อออก
  • มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • มือสั่น (Tremor)
  • มีความรู้สึกไวต่อความร้อน
  • ผมบาง
  • การเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

อาการบวมที่แขนและขาเรียกว่า “ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)” ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเท่านั้น แต่บางครั้งก็อาจจะส่งผลกระทบทั้งแขนและขาทั้ง 2 ข้างได้เช่นกัน อาการบวมนั้นเกิดขึ้นจากการอุดตันในระบบน้ำเหลือง ซึ่งมักเกิดจากการกำจัดหรือทำลายต่อมน้ำเหลืองในระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งน้ำเหลืองไม่สามารถระบายได้อย่างถูกต้อง และเกิดการสะสมของของเหลวทำให้เกิดอาการบวม เมื่ออาการบวมเกิดขึ้นที่แขน อาจส่งผลกระทบต่อนิ้วมือ ทำให้นิ้วเปื่อยได้ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ปวดเมื่อยหรือไม่สบาย
  • การเคลื่อนไหวลดลง
  • ผิวแข็ง หนา หรือมีพังผืด
  • ติดเชื้อบ่อย

โรคลูปัส

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic lupus erythematosus หรือ SLE) ซึ่งมักเรียกกันว่า “โรคลูปัส” เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีตัวเองโดยไม่จำเป็นจนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เมื่อการอักเสบเกิดขึ้น นิ้วมืออาจจะกลายเป็นสีแดงหรือนิ้วเปื่อย เนื่องจากต่อมบวม นอกจากนั้นอาการอื่นๆ ของโรคลูปัสจะมีอาการแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งอาจรวมถึง

ขาดวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 เป็นเพียงหนึ่งในวิตามินที่สามารถป้องกันคุณจากการเกิดอาการนิ้วเปื่อยได้ เนื่องจากมันมีหน้าที่ในการสร้างเลือด การทำงานของเส้นประสาท ช่วยในการการเผาผลาญของเซลล์ และการผลิตดีเอ็นเอ คนส่วนใหญ่มักไม่ขาดวิตามินนี้ เพราะมันสามารถเก็บไว้ในร่างกายได้เป็นเวลาหลายปี

อย่างไรก็ตามหากคุณกินมังสวิรัติ ก็อาจมีโอกาสที่จะขาดวิตามินบี 12 ได้สูง เนื่องจากวิตามินเหล่านี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ปีก ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม สำหรับอาการที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 ได้แก่

การรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การรักษานิ้วเปื่อย

สาเหตุของการเกิดอาการนิ้วเปื่อยจะเป็นการกำหนดประเภทของวิธีการรักษาที่คุณจะต้องได้รับ ในขณะที่นิ้วเปื่อยซึ่งเกิดจากการแช่น้ำเป็นภาวะที่ไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการดื่มน้ำให้มากขึ้นยังเป็นการรักษาภาวะขาดน้ำได้ด้วย แต่หากเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อาจจะต้องได้รับการรักษาตามโรคต่าง ๆ ดังนี้

การรักษาโรคเบาหวาน

แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และใช้การรักษาด้วยอินซูลิน (Insulin) หรือยารักษาทางช่องปาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเบาหวานที่คุณเป็น

การรักษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

สำหรับไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid) การรักษาอาจจะรวมถึงการใช้ยาไอโอดีน กัมมันตรังสี การผ่าตัด หรือยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker)  ส่วนไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) มักจะรักษาด้วยยาฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ในรูปแบบเม็ดและมักจะต้องใช้ไปตลอดชีวิต

การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

การรักษาอาการนี้อาจรวมถึงการออกกำลังกาย นวด ใส่ผ้ารัดกล้ามเนื้อ (Compression garments) ใช้เครื่องบีบโดยใช้แรงลม (Pneumatic compression) ตัดแขน และการรักษาด้วยวิธีการรักษาที่ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดอาการบวมของรยางค์ที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง (Complete decongestive therapy หรือ CDT)

เนื่องจากยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะบวมน้ำเหลืองให้หายขาด มีเพียงจัดการกับอาการเพื่อลดอาการบวมและความคุมความเจ็บปวด

การรักษาโรคลูปัส

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์  (Corticosteroids) หรือยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า นิ้วเปื่อยที่เกิดจากน้ำแล้วสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คุณอาจจะหลีกเลี่ยงการโดนน้ำด้วยการสวมถุงมือยางเพื่อทำอาหาร หรือหลีกเลี่ยงการแช่น้ำอุ่นเป็นเวลานาน นอกจากนั้นการขาดน้ำก็ยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดหัว และอาการอื่น ๆ ดังนั้น การดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวันจะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ

สำหรับในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น เด็ก หรือผู้สูงอายุ อาจจะต้องได้รับการดูแลและได้รับคำแนะนำสำหรับวิธีการช่วยเหลือ ซึ่งได้แก่

  • จัดหาเครื่องดื่มพร้อมอาหาร
  • เสนออาหารที่มีปริมาณของเหลวสูง เช่น ซุป หรือแตงโม
  • หาน้ำที่มีรสชาติมากขึ้นมาดื่ม เช่น ชาสมุนไพร หรือน้ำผลไม้
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ
  • รักษาผิวให้สะอาดและแห้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ
  • ใช้สบู่อ่อนๆ และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดที่มากเกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และควันบุหรี่มือสอง
  • กินวิตามินบี 12 เสริม หรืออาจจะได้รับวิตามินบี 12 ด้วยการฉีด ยาเม็ด ยาที่ละลายใต้ลิ้น หรือสเปรย์พ่นจมูก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/01/2024

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา