backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/11/2020

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มรอบหัวใจมากผิดปกติ และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ

คำจำกัดความ

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion) คืออะไร

น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน (Pericardial Effusion)  คือการสะสมของเหลวส่วนเกินในถุงเยื่อหุ้มบริเวณหัวใจมากผิดปกติ และมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ

อย่างไรก็ตามการติดเชื้อน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจและติดเชื้อจากโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค   มะเร็ง เป็นต้น

อาการ

อาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกินจะไม่มีการแสดงออกมาให้เห็น หากไม่มีน้ำที่สะสมในเยื่อหุ้มหัวใจมากนัก โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วย จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจถี่ หายใจลำบาก
  • รู้สึกไม่สบายเมื่อหายใจขณะนอนราบ
  • เจ็บหน้าอก
  • อาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง

 ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน

สาเหตุของน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน เกิดจากการอักเสบบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ โดยเกิดจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus : CMV) เอคโคไวรัส(Echovirus) โรคลูปัส  วัณโรค เป็นต้น
  • โรคมะเร็ง
  • การได้รับบาดเจ็บบริเวณหัวใจ

การวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจดูความผิดปกติ และตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาข้อระบุของโรค ดังต่อไปนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) ตรวจดูสัญญาณไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาลักษณะที่แสดงว่าเป็นอาการของโรคน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน หรือหาการอักเสบบริเวณหัวใจที่จะนำไปสู่อาการของโรคนี้ได้
  • การเอ็กซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray film) ภาพเงาของหัวใจใหญ่ขึ้น นั่นอาจแสดงถึงอาการของโรคน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกินได้
  • การรักษาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน

    วิธีการรักษาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ อาการของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

    • การใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs : NSAIDs) เช่น ยาอัลลีฟ (Aleve®)  มอทริน (Motrin®)
    • ใช้ยากลุ่ม (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone)
    • ใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine)

    ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แพทย์ต้องทำการผ่าตัด โดยแพทย์อาจสอดเข็มผ่านหน้าอกสวนเข้าไปในเยื่อหุ้มหัวใจเพื่อดูดของเหลวออก หรือ ผ่าตัดนำส่วนของเยื่อหุ้มหัวใจออก เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นโรคซ้ำอีก

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเกิน มีดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • ตรวจสุขภาพประจำปี และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 16/11/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา