backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

บรูเซลโลซิส (Brucellosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/10/2020

บรูเซลโลซิส (Brucellosis)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า รู้สึกมีอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และหนาวสั่นจนผิดปกติ โปรดเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา ที่ก่อให้เกิดเป็นโรค บรูเซลโลซิส (Brucellosis) ได้

คำจำกัดความ

บรูเซลโลซิส (Brucellosis) คืออะไร

โรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า บรูเซลลา (Brucella) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่สามารถกระจายติดต่อได้ทั้งคนและสัตว์ โดยทั่วไปเชื้อบรูเซลลาจะปะปนอยู่ภายในเนื้อสัตว์ และนมที่ไม่ผ่านกระบวนการการฆ่าเชื้อ  อีกทั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ยังสามารถล่องลอยอยู่ในอากาศที่อาจส่งถึงความเสี่ยงต่อการสัมผัส และแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้อย่างมากเลยทีเดียว

โรคบรูเซลโลซิส สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ประกอบอาชีพที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์อาจเป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถได้รับเชื้อบรูเซลลามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น สัตวแพทย์ เกษตรกร ฟาร์มปศุสัตว์ นักล่าสัตว์ นักจุลชีวิทยา รวมไปถึงคนงานในโรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น

อาการ

อาการของโรคบรูเซลโลซิส

อาการของโรคบรูเซลโลซิสโดยทั่วไปมักคล้ายไข้หวัดธรรมดา และอาจเป็น ๆ หาย ๆ จนคุณอาจเกิดความสับสนได้ว่าตนเองกำลังประสบอยู่กับปัญหาทางสุขภาพแบบใด ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสังเกตได้ง่ายขึ้น คุณจึงควรมองหาสัญญาณของอาการเบื้องต้นไว้ ดังต่อไปนี้

  • มีไข้
  • หนาวสั่น
  • รู้สึกกระหายน้ำบ่อยครั้ง
  • ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลัง
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำหนักที่ลดลง
  • เบื่ออาหาร

อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังกล่าวขึ้น โปรดรีบเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากคุณปล่อยเป็นระยะเวลานาน และไม่เร่งรีบรักษาตั้งแต่เบื้องต้น ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบ โรคกระดูกสันหลังอักเสบ รวมไปถึงภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบได้อีกด้วย

สาเหตุ

สาเหตุของการเกิด บรูเซลโลซิส

  • การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น นม ชีส เนื้อสัตว์ ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก และไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • การสัมผัสกับของเหลวโดยตรงของสัตว์ที่ติดเชื้อ เนื่องจากแบคทีเรียในเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้ออาจสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดของคุณได้ผ่านบาดแผลสด หรือผิวหนังที่มีการถลอก
  • สูดอากาศที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องอยู่ตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และประกอบอาชีพเกษตรกร ห้องปฏิบัติการในโรงงานที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับสัตว์

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคบรูเซลโลซิส

โรคบรูเซลโลซิสสามารถส่งผลกระทบได้เกือบทุกส่วนของร่างกายที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นไปได้ ดังต่อไปนี้

  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ

ซึ่งกรณีนี้อาจเกิดมาจากการที่คุณมีการสะสมเชื้อไว้ในตนเองเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา หรือรับการตรวจอย่างละเอียดเมื่อมีอาการ จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไปทำลายลิ้นหัวใจ และอาจสามารถนำพาไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

เพราะแบคทีเรียบรูเซลลาที่เข้ามายังภายใน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณท่อนำอสุจิที่เชื่อมระหว่างหลอดเลือดดำ และลูกอัณฑะ จนในที่สุดเกิดการแพร่กระจายไปยังอัณฑะโดยตรงที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ปวด บวมขึ้น

  • โรคข้ออักเสบ

หากคุณมีการติดเชื้อที่ข้อต่อ อาจส่งผลให้บางครั้งคุณมีอาการปวดตึงและบวมที่ข้อต่อขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหัวเข่า สะโพก ข้อเท้า ข้อมือ และกระดูกสันหลังซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการที่อาจรักษาได้ยาก และส่งผลให้เกิดความเสียหายของกระดูกในระยะยาวได้อีกด้วย

  • ระบบประสาทส่วนกลางเกิดการติดเชื้อ

แบคทีเรียเหล่านี้อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเข้าไประบบประสาทส่วนกลาง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การอักเสบของสมองและไขสันหลัง จนเกิดความเจ็บปวด และทรมานขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย บรูเซลโลซิส

แพทย์อาจจำเป็นต้องมีการวิจิฉัยโรคบรูเซลโลซิสด้วยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียที่อาจแทรกซึมอยู่ภายใน หรืออาจใช้เทคนิคอื่น ๆ เข้ามาเสริมตามแต่ละอาการของแต่ละบุคคล ดังนี้

  • การถ่ายภาพรังสีเอกซ์เรย์ (X-ray) เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อและกระดูก
  • การถ่ายภาพรังสีโทโมกราฟีย์ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Computerized tomography หรือ CT Scan) หรืออาจเป็น (Magnetic resonance imaging หรือ MRK) สาเหตุที่แพทย์ต้องใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นเพราะจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ป่วยทราบได้ว่า ส่วนใดในอวันวะภายในที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อบรูเซลลาหรือไม่ เช่น เนื้องอก เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นต้น
  • การตรวจของเหลวบริเวณไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid culture) วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจสอบของเหลวรอบ ๆ ไขสันหลัง และสมอง เพื่อหาการติดเชื้อที่อาจตามมาได้ เช่น ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไข้สมองอักเสบ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) การทดสอบนี้ใช้เพื่อวัดคลื่นเสียงหัวใจของคุณ เพื่อตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อหรือบริเวณรอบ ๆ หัวใจที่อาจได้รับความเสียหายจากแบคทีเรีย บรูเซลลา

การรักษา บรูเซลโลซิส

การรักษานั้นอาจเป็นไปตามอาการของแต่ละผู้ป่วยที่ประสบ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์อาจทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ไรแฟมพิน (Rifampin) ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline) ซึ่งคุณต้องรับประทานยานี้อย่างน้อย 6 สัปดาห์หรือตามระยะเวลาแพทย์กำหนด

ไม่ควรขาดการทานยาอย่างเด็ดขาด เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดอาการดื้อยา หรือกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ในอนาคต

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคบรูเซลโลซิส

เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากโรคบรูเซลโลซิส หรือเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา คุณควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ด้วยวิธีเหล่านี้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจากสัตว์ที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
  • ควรปรุงเนื้อสัตว์ เนื้อดิบให้สุกทุกครั้ง ด้วยอุณหภูมิอย่างน้อยตั้งแต่ 63 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 74 องศาเซลเซียส
  • สวมถุงมือ แว่นตา หน้ากาก หรืออุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอยู่ในฟาร์มสัตว์
  • ฉีดวัคซีน หรือหมั่นมีการตรวจสุขภาพสัตว์บ่อยครั้ง
  • หากกรณีที่มีแผลสด คุณควรหาผ้าปิดแผลมาพันไว้โดยรอบให้สนิท เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/10/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา