backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปอดบวม (Pneumonia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ปอดบวม (Pneumonia)

รู้เรื่องเบื้องต้น

โรค ปอดบวม คืออะไร

โรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นอาการติดเชื้อที่กลีบปอดข้างซ้าย หรือข้างขวา หรือทั้งสองข้าง มีเชื้อโรคหลายประเภทที่อาจก่อให้เกิดปอดบวม ปอดที่ติดเชื้อจะปล่อยของเหลวและกำจัดเซลล์ที่ตายแล้วออกมา ซึ่งจะไปคั่งในทางเดินอากาศ และสร้างความลำบากให้แก่ปอดในการลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เลือด เมื่อมีออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพร่างกายของคุณทำงานได้ไม่เต็มที่

โรคปอดบวมพบได้บ่อยแค่ไหน

ไม่ว่าใครก็ตามสามารถเป็นปอดบวมได้ทั้งนั้น โดยผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหอบหืด มีความเสี่ยงสูงในการเป็นปอดบวม แต่โรคนี้สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับหมอของคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

รู้จักอาการ

อาการของโรค ปอดบวม

อาการของโรคปอดบวมที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

อาจมีอาการบางประเภทที่ไม่ได้ปรากฏอยู่ข้างบน ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ

คุณควรติดต่อหมอของคุณทันที หากคุณมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่

  • มีไข้และอาการสั่นอย่างต่อเนื่อง
  • เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก
  • คุณมีอายุน้อยมาก (5 ปี) หรือแก่มาก (65 ปี)
  • ไอพร้อมเลือดหรือน้ำมูกที่มาจากปอด
  • หายใจตื้น หายใจเร็ว หายใจลำบากพร้อมกับหายใจถี่

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษากับหมอของคุณ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอของคุณ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

รู้จักกับสาเหตุ

สาเหตุของโรคปอดบวม

โรคปอดบวมมีสามประเภทใหญ่ๆ ที่จำแนกได้ด้วยสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

  • ปอดบวมจากแบคทีเรีย เกิดจากแบคทีเรียที่เกิดขึ้นเอง หรือเกิดหลังจากโรคหวัดขั้นรุนแรง
  • ปอดบวมจากไวรัส เป็นอาการที่ไม่รุนแรง และมักจะเกิดอาการแค่ช่วงสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถทำให้อาการปอดบวมจากไวรัสเพิ่มความรุนแรงขึ้น และเสียชีวิตได้ ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด ควรระวังเป็นพิเศษกับโรคนี้
  • ปอดบวมจากการติดเชื้อไมโคพลาสมา (Mycaplasma pneumonia): มีลักษณะที่พบได้ทั่วไปทั้งแบบไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคปอดบวมที่ไม่รุนแรง

รู้จักปัจจัยเสี่ยง

ความเสี่ยงสำหรับโรคปอดบวม

มีปัจจัยเสี่ยงมากมายสำหรับโรคปอดบวม อย่างเช่น

  • การสูบบุหรี่
  • การติดเชื้อตรงทางเดินหายใจ เช่น หวัด กล่องเสียงอักเสบ ไข้หวัดใหญ่
  • โรคปอดเรื้อรัง
  • โรครุนแรงอื่นๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ ตับแข็ง หรือเบาหวาน
  • โรคหอบหืด
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นมะเร็ง
  • ผู้ที่เด็กมากๆ หรือสูงอายุมากๆ

เข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ทุกครั้งควรปรึกษาหมอของคุณเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

การวินิจฉัยโรค ปอดบวม

ปอดบวมมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม คุณควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากโรคปอดบวมมักจะเกิดขึ้นนานกว่า และอาการรุนแรงมากกว่าโรคทั่วไป

เพื่อระบุว่าคุณเป็นโรคปอดบวมหรือไม่ หมอจะถามคำถามคุณบางข้อ เพื่อรู้เกี่ยวกับอาการของคุณมากขึ้น อย่างเช่น

  • อาการของคุณคืออะไร และเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน
  • คุณสูบบุหรี่หรือไม่
  • ประวัติทางการแพทย์มีอะไรบ้าง
  • คุณกำลังรับประทานยาอะไรอยู่หรือไม่

ถ้าจำเป็น หมออาจใช้การตรวจแบบทั่วๆ ไปบางอย่าง ก่อนทำการวินิจฉัยใดๆ ได้แก่

  • การตรวจร่างกาย
  • การเอกซ์เรย์หน้าอก
  • CT สแกน
  • การตรวจเสมหะ (เสมหะที่คุณไปออกมา)
  • การส่องกล้องหลอดลม ทำเพื่อดูหลอดลมภายในปอด

การรักษาโรคปอดบวม

การรักษาโรคปอดบวมส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค ในบางกรณี โรคปอดบวมสามารถรักษาได้ที่บ้าน

  • การรักษาปอดบวมจากแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะจะถูกพิจารณาว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาโรคนี้
  • การรักษาปอดบวมจากไวรัส ยาต้านไวรัสบางชนิดสามารถช่วยรักษาโรคนี้ได้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับโรคปอดบวม

การเปลี่ยนไลฟ์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้อาจช่วยจัดการกับโรคปอดบวม ได้แก่

  • นอนหลับพักผ่อนให้มาก
  • ดื่มน้ำให้มาก เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ
  • ปล่อยให้ตัวเองไอ เนื่องจากเป็นวิธีที่ร่างกายของคุณขจัดอาการติดเชื้อ หากการไอทำให้คุณนอนไม่หลับในตอนกลางคืน เกิดปัญหาการหายใจลำบาก หรือทำให้อาเจียน คุณควรรับประทานยาเพื่อป้องกันการไอ
  • รับประทานยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือยาแอสไพริน จะสามารถช่วยลดไข้และทำให้คุณรู้สึกสบายมากขึ้น

หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อเข้าใจวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับตัวคุณเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา