backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ปอดแฟบ (Atelectasis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/05/2021

ปอดแฟบ (Atelectasis)

ปอดแฟบ คือ อาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก

คำจำกัดความ

ปอดแฟบ คืออะไร

อาการปอดแฟบ (Atelectasis) หรืออาการที่ปอดหรือกลีบปอดบางส่วนยุบ เกิดขึ้นเมื่อถุงลม (Alveoli) ภายในปอดนั้นแฟบลง อาการปอดแฟบ ยังอาจเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ทั้งโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) การสูดหายใจเอาวัตถุแปลกปลอมเข้าไป เนื้องอกที่ปอด มีน้ำในปอด ระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ และการบาดเจ็บที่หน้าอก

ปอดแฟบ พบได้บ่อยได้แค่ไหน

อาการปอดแฟบ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการหายใจหลังจากการผ่าตัดที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์

อาการ

อาการของปอดแฟบ

อาการปอดแฟบ ไม่มีสัญญาณหรืออาการที่ชัดเจน หากคุณมีสัญญาณและอาการเกิดขึ้น อาจมีดังนี้

อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อไร

อาการปอดแฟบ มักจะเกิดขึ้นในตอนที่คุณอยู่ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรรับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีปัญหาการหายใจ หรือโรคอื่น ๆ นอกจาก อาการปอดแฟบ คุณจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาโดยทันที แล้วเมื่อคุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก ควรดรับการรักษาฉุกเฉินในทันที

สาเหตุ

สาเหตุของ อาการปอดแฟบ

อาการปอดแฟบ เป็นผลมาจากการอุดตันของทางเดินหายใจ หรือจากความดันจากด้านนอกของปอด (แบบไม่มีการอุดตัน) แทบทุกคนที่เคยผ่าตัด มักจะเกิดอาการปอดแฟบจากยาชาหรือยาระงับความรู้สึก (Anesthesia) อาการชานั้นจะเปลี่ยนรูปแบบของการหายใจ การดูดซึมก๊าซ และความดันตามปกติ ซึ่งอาจผสมกันแล้วทำให้เกิดอาการแฟบของถุงลมในปอด โดยจะมีโอกาสเกิด อาการปอดแฟบ ได้มากขึ้น หลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Heart Bypass)

สาเหตุของ อาการปอดแฟบ จากการอุดตัน อาจเกิดได้จาก

  • การอุดตันของเสมหะ การสะสมของเสมหะในทางเดินหายใจ มักจะเกิดหลังจากการผ่าตัด เนื่องจากไม่สามารถไอได้ เป็นสาเหตุทั่วไปของ อาการปอดแฟบ ยาที่ให้ขณะการผ่าตัดจะทำให้ปอดขยายตัวได้น้อยกว่าปกติ ดังนั้น สารคัดหลั่งตามปกติจะสะสมในทางเดินหายใจ การดูดเสมหะ (Suctioning) จากปอดขณะที่ทำการผ่าตัด จะช่วยเคลียร์ช่องให้โล่งได้ แต่ก็อาจจะสะสมต่อไปหลังจากนั้น การอุดตันของเสมหะ ยังพบได้มากในเด็ก ผู้ที่เป็นโรคซิสติก ไฟโบรซิส และขณะมีอาการหอบหืดอย่างรุนแรง
  • ของแปลกปลอมในร่างกาย อาการปอดแฟบ พบได้มากในเด็กที่ได้สูดหายใจเอาสิ่งของ เช่น ถั่วลิสง หรือชิ้นส่วนของของเล่นเล็ก ๆ เข้าไปในปอด
  • ทางเดินหายใจหลักแคบลงเพราะโรค การติดเชื้อเรื้อรัง ทั้งการติดเชื้อรา วัณโรค และโรคอื่น ๆ สามารถทำให้ทางเดินทางใจเป็นแผลเป็นและหดตัวลงได้
  • มีเนื้องอกในทางเดินหายใจส่วนหลัก เนื้องอกที่ผิดปกติสามารถทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้
  • ลิ่มเลือด จะเกิดขึ้นหากมีอาการเลือดออกอย่างมากในปอดที่ไม่สามารถไอออกไปได้

สาเหตุที่เป็นไปได้ของ อาการปอดแฟบ ที่ไม่ได้มาจากการอุดตัน มีดังนี้

  • การบาดเจ็บ อาการบาดเจ็บที่หน้าอก เช่น จากจากการล้มหรืออุบัติเหตุจากรถยนต์ สามารถทำให้คุณหลีกเลี่ยงการหายใจเข้าลึก ๆ (เนื่องจากความเจ็บ) ซึ่งอาจส่งผลให้มีแรงดันในปอด
  • ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusion) การสะสมของน้ำตรงพื้นที่ระหว่างเนื้อเยื่อหุ้มปอด (Pleura) ที่อยู่ในปอด และด้านในผนังหน้าอก
  • ปอดบวม (Pneumonia) โรคปอดบวมประเภทต่าง ๆ ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ปอด สามารถทำให้เกิด อาการปอดแฟบ ชั่วคราวได้
  • ภาวะปอดรั่ว (Pneumothorax) อากาศที่รั่วเข้าสู่พื้นที่ระหว่างปอดและผนังหน้าอก อาจส่งผลทางอ้อมให้ปอดบางส่วนหรือทั้งหมด ทำให้เกิดอาการปอดแฟบลงได้
  • แผลเป็นที่เนื้อเยื่อปอด รอยแผลเป็นที่อาจเกิดได้จากการบาดเจ็บ อาการปอดแฟบ หรือการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นกรณีที่หาได้ยาก อาการปอดแฟบจะเล็กน้อยไปเลย หากเปรียบเทียบกับความเสียหายจากรอยแผลเป็น
  • เนื้องอก เนื้องอกขนาดใหญ่สามารถกดทับปอด และทำให้ปอดแฟบได้ เป็นอาการที่ตรงข้ามกับการอุดตันของทางเดินหายใจ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการปอดแฟบ

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิด อาการปอดแฟบ นั้นมีมากมายดังนี้

  • อายุ โดยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะเสี่ยงต่อการเกิด อาการปอดแฟบ
  • สภาวะใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบกับการไอ การหาว และการถอนหายใจตามธรรมชาติ
  • การนอนติดเตียงที่เปลี่ยนท่าไม่บ่อยนัก
  • ระบบการกลืนกินที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ การสูดเอาสารคัดหลั่งเข้าไปในปอด คือ สาเหตุหลักของการติดเชื้อ
  • โรคปอด เช่น โรคหอบหืดในเด็ก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis) หรือโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • มีอาการปวดหรือผ่าตัดที่หน้าอก เมื่อไม่นานมานี้
  • การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไป เมื่อไม่นานมานี้
  • กล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจอ่อนแอ (Respiratory Muscle Weakness) เนื่องจากโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หรือสภาวะของประสาทกล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง (Neuromuscular Condition)
  • ทุกกรณีของการหายใจตื้น รวมทั้งจากยาและผลข้างเคียงของยา หรือข้อจำกัดทางกลไก เช่น ปวดท้องหรือกระดูกซี่โครงหัก

การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยอาการปอดแฟบ

เพื่อวินิจฉัย อาการปอดแฟบ และบ่งชี้สาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจจะทำการตรวจสอบดังนี้

  • เอกซเรย์หน้าอก การเอกซเรย์หน้าอกมักจะสามารถวินิจฉัย อาการปอดแฟบ ได้ ในบางครั้ง อาจสามารถตรวจพบของแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทั่วไปของ อาการปอดแฟบ จากการอุดตันได้
  • การทำซีทีแสกน (CT Scan) การตรวจด้วยซีทีแสกนจะการตรวจจับ อาการปอดแฟบ ได้ไวกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา เนื่องจากสามารถวัดปริมาตรปอด (Lung Volumes) ได้ทุกส่วนหรือบางส่วน การทำซีทีสแกนนั้นยังสามารถตรวจจับได้ว่า มีเนื้องอกที่ทำให้เกิด อาการปอดแฟบ หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะไม่ปรากฏในการเอกซเรย์ตามปกติ
  • การวัดความอิ่มตัวออกซิเจน (Oximetry) การทดสอบง่าย ๆ นี้ใช้เครื่องมือเล็ก ๆ วางไว้บนนิ้วข้างหนึ่งของคุณ เพื่อวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
  • การส่องกล่องหลอดลม (Bronchoscopy) ใช้ท่อยืดหยุ่นและติดแสงไฟสอดลงไปในลำคอ เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็น และอาจจะนำสิ่งที่อุดตันในทางเดินหายใจของคุณอย่างน้อยบางส่วนออกมาได้ เช่น เสมหะอุดตัน เนื้องอก หรือของแปลกปลอมในร่างกาย

การรักษา อาการปอดแฟบ

การรักษา อาการปอดแฟบ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค อาการปอดแฟบ ที่บริเวณส่วนน้อยในปอด อาจหายไปได้โดยไม่ต้องรับการรักษา หากมีสาเหตุที่แท้จริงของโรค เช่น เนื้องอก การรักษาก็จะเกี่ยวข้องกับการกำจัด หรือทำให้เนื้องอกหดตัวลงด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด หรือการฉายรังสีบำบัด

การทำกายภาพบำบัดทรวงอก (Chest physiotherapy)

ควรเรียนรู้เทคนิคเหล่านี้ก่อนรับการผ่าตัด ได้แก่ 

  • การเคาะ (Percussion) บนหน้าอกเหนือบริเวณที่แฟบ เพื่อทำให้เสมหะคลายตัวลง คุณยังสามารถใช้เครื่องกำจัดเสมหะ เช่น เสื้อกั๊กที่มีสั่นสะเทือนอากาศเป็นจังหวะ หรือเครื่องมือแบบถือด้วยมือ
  • ใช้เครื่องมือที่ช่วยให้หายใจเข้าได้ลึก ๆ อย่าง อินเซนทีฟ สไปรอเมทรี (Incentive Spirometry) และใช้เครื่องมือนี้เพื่อช่วยเหลือขณะที่ไอลึก ๆ ก็อาจจเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน
  • วางตำแหน่งให้ร่างกายของคุณอยู่ต่ำกว่าหน้าอก การจัดท่าระบายเสมหะ (Postural Drainage) ทำให้เสมหะระบายได้ดีขึ้นจากด้านล่างของปอด
  • การให้ออกซิเจนเพิ่มเติม สามารถบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มได้
  • การผ่าตัดหรือกระบวนการอื่น ๆ

    คุณหมออาจจะแนะนำให้คุณผ่าตัดเอาสิ่งที่อุดตันทางเดินหายใจออก เพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจ ซึ่งอาจทำได้โดยการดูดเอาเสมหะออก หรือการส่องกล่องหลอดลม การส่องกล่องหลอดลมนั้นทำได้ด้วยการใช้ท่อยืดหยุ่นสอดเข้าไปในลำคอ เพื่อเคลียร์ช่องทางเดินหายใจ

    การใช้แรงดันด้านบวกอย่างต่อเนื่องนี้ อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่อ่อนแอเกินกว่าจะไอ และมีระดับของออกซิเจนต่ำ หรือภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxemia) หลังจากการผ่าตัด

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยรับมือ อาการปอดแฟบ

    ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้อาจจะช่วยรักษาอาการของคุณได้

    • อาการปอดแฟบ ในเด็กเกิดจากการอุดตันของหลอดลม เพื่อลดความเสี่ยงของ อาการปอดแฟบ ควรเก็บสิ่งของที่มีขนาดเล็กให้ห่างไกลจากมือของเด็ก
    • สำหรับผู้ใหญ่ อาการปอดแฟบ มักจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัด หากคุณมีนัดผ่าตัด ควรปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการลดความเสี่ยงของ อาการปอดแฟบ

    หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 06/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา