backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 28/03/2021

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula)

ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก จนเกิดเป็นตุ่มหนองหรือ ฝี ที่เป็นหนองบริเวณทวารหนัก แก้มก้น หรือบริเวณขอบรูทวารหนัก

คำจำกัดความ

ฝีคัณฑสูตร คืออะไร

โรคฝีคัณฑสูตร หรือฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ อาการติดเชื้อของต่อมที่อยู่ในทวารหนัก เนื่องจากภายในทวารหนักจะมีต่อมเล็กๆ เรียงติดกันอยู่มากมาย ทำหน้าที่ในการผลิตเมือกภายในทวารหนัก ต่อมเล็กๆ เหล่านี้จะอยู่ในบริเวณที่เป็นทางผ่านของการลำเลียงอุจจาระออกจากทวารหนัก และเมื่อต่อมใดต่อมหนึ่งที่อยู่ในทวารหนักติดเชื้อขึ้นมา ก็จะทำให้เกิดเป็นตุ่มหนอง หรือเป็น ฝี ขึ้นที่บริเวณขอบรูทวารหนัก หรือบริเวณข้างทวารหนัก หรือแก้มก้น

ฝีคัณฑสูตร พบได้บ่อยแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้วฝีคัณฑสูตรนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก เช่นเดียวกับ ฝี แบบอื่นๆ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการติดเชื้อที่บริเวณทวารหนัก หรือรูทวารหนัก จะสามารถเกิดฝีคัณฑสูตรตามมาทีหลังได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ ฝีคัณฑสูตร

อาการทั่วไปของฝีคัณฑสูตร มีดังนี้

  • มีอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังรอบขอบรูทวารหนัก หรือรอบทวารหนัก
  • มีอาการเจ็บ ฝี หรือปวดที่ทวารหนักเวลานั่ง ขยับไปมา เวลาขับถ่าย เวลาปัสสาวะ หรือเวลาไอ
  • มีหนองหรือมีของเหลวคล้ายน้ำหนองไหลออกจากรูทวารหนัก
  • มีกลิ่นเหม็นจากบริเวณทวารหนัก หรือบริเวณใกล้ทวารหนัก
  • อุจจาระมีเลือดหรือหนองปนมา
  • มีอาการบวม แดง บริเวณขอบทวารหนัก
  • มีไข้ขึ้นสูงเมื่อมี ฝี
  • ในบางรายอาจไม่สามารถควบคุมการทำงานของลำไส้ได้ เช่น เวลาปัสสาวะ

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากมีอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก หรือมี ฝี หรือมีตุ่มหนองขึ้นที่ทหวารหนัก หรือสัมผัสได้ว่ากำลังมีอาการที่คล้ายกับว่าจะเป็นฝีคัณฑสูตร ควรไปพบกับคุณหมอทันที เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา

สาเหตุ

สาเหตุของฝีคัณฑสูตร

สาเหตุหลักของการเกิดฝีคัณฑสูตร คือมีการอุดตันหรือติดเชื้อขึ้นที่ต่อมเล็กๆ ซึ่งอยู่ภายในทวารหนัก เมื่อต่อมเล็กๆ เหล่านี้เกิดการอุดตันหรือติดเชื้อแบคทีเรียขึ้น ก็จะเกิดเป็นตุ่มหนองหรือ ฝี หนอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรอาจเกิดขึ้นได้หากมีอาการทางสุขภาพดังต่อไปนี้

  • โรคโครห์น (Crohn’s Disease)  เป็นอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
  • โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis)  เป็นอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับการอักเสบของเยื่อบุในลำไส้ใหญ่
  • การอักเสบของต่อมเหงื่อ 
  • การติดเชื้อวัณโรค
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่อยู่ใกล้กับทวารหนัก
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่

อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าที่ระบุไว้ข้างต้น โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยฝีคัณฑสูตร

ตามหลักของการวินิจฉัยฝีคัณฑสูตรแล้ว แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามอาการ ซักประวัติอาการเจ็บป่วย และทำการตรวจร่างกาย ซึ่งกระบวนการตรวจร่างกายเพื่อทำการวินิจฉัยฝีคัณฑสูตรนั้น อาจใช้วิธีดังต่อไปนี้

  • ในกระบวนการตรวจร่างกาย หากเม็ด ฝี สามารถที่จะมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก แพทย์สามารถที่จะประเมินได้ทันทีที่ได้ตรวจดูทวารหนัก
  • แพทย์จะใช้วิธีการสอดนิ้วเข้าไปในรูทวารหนักเพื่อทำการตรวจ
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยตรง อาจทำการทำซีทีสแกน (CT Scan)
  • แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องเข้าสู่ทวารหนักและลำไส้
  • แพทย์อาจทำการอัลตราซาวด์ หรือทำ MRI เพื่อตรวจดูบริเวณทวารหนัก

การรักษาฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรไม่มียารักษาโดยตรง แต่อาจใช้ยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการปวด และเพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หากเป็นฝีคัณฑสูตรจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

  • ในกรณีที่ ฝี อยู่ห่างจากขอบรูทวารหนัก แพทย์สามารถที่จะทำการเปิดปากแผลและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้เลย
  • ถ้าฝีอยู่บริเวณที่ใกล้กับรูทวารหนัก แพทย์อาจจำเป็นต้องมีการสอดท่อเข้าไปในรูทวารหนัก เพื่อทำการเปิดรูทวารหนักและนำเอาของเหลวที่ติดเชื้อออกมาก่อนที่จะเริ่มทำการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้อาจใช้ระยะเวลานานถึง 6 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น

ถ้าหากฝีคัณฑสูตรขึ้นที่ภายนอกทวารหนัก สามารถที่จะรับการผ่าตัดเอา ฝี ออก และกลับบ้านได้เลย แต่ผู้ป่วยที่มีรูทวารหนักขนาดใหญ่หรือลึกมาก อาจจำเป็นต้องพักอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลาสั้นๆ และผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งเพื่อกำจัดเอา ฝี ออกไปให้หมด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับฝีคัณฑสูตร

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันฝีคัณฑสูตรได้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง
  • ดูแลก้นหรือทวารหนักให้แห้งอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้อับชื้น เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ และเป็น ฝี ได้
  • หลีกเลี่ยงการเกร็งหรือตึงขณะกำลังขับถ่าย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 28/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา