backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ฝีเต้านม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

ฝีเต้านม สาเหตุ อาการ และการรักษา

ฝีเต้านม (Breast abscess) เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อภายในเต้านม ซึ่งทำให้เกิดหนองจนกลายเป็นฝีขึ้น โดยฝีหนองนี้ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณเต้านม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้

คำจำกัดความ

ฝีเต้านม (Breast abscess) คืออะไร

ฝีเต้านม (Breast abscess)  เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อภายในเต้านม ซึ่งทำให้เกิดหนองจนกลายเป็นฝีขึ้น โดยฝีหนองนี้ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณเต้านม หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้

อย่างไรก็ตาม ฝีเต้านมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้หญิงที่ให้นมบุตรเท่านั้น อาจเกิดขึ้นในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคอ้วน

พบได้บ่อยเพียงใด

ฝีเต้านมพบได้บ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในผู้ให้นมบุตร

อาการ

อาการของฝีเต้านม

ผู้ป่วยฝีเต้านม จะมีอาการปวดบวม บริเวณเต้านม รวมถึงอาการอื่นๆ ดังนี้

  • น้ำนมน้อย
  • ปวดบริเวณเต้านม
  • ผิวแดง
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีลักษณะอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • น้ำหนองอาจไหลออกมาจากเต้านม

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของฝีเต้านม

ฝีเต้านมเกิดจากการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) และเชื้อแบคทีเรียสเตรปโทคอกคัส (Streptococcus) พบได้บ่อยในเพศหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร 1-3 เดือนหลังคลอด โดยเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่มักเข้าสู่ร่างกายแม่ผ่านทางปากของทารก (เข้าไปในท่อน้ำนมผ่านรอยแตกของหัวนม)  นอกจากนี้ยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

  • เชื้อแบคทีเรียเข้าผ่านทางรอยแตกในหัวนม
  • ท่อน้ำนมอุดตัน
  • สิ่งแปลกปลอมบริเวณเต้านม เช่น การเจาะหัวนม
  • ปัจจัยเสี่ยงของฝีเต้านม

    • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    • มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
    • สตรีให้นมบุตร
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • ท่อน้ำนมอุดตัน
    • เจาะบริเวณหัวนม
    • สูบบุหรี่
    • โรคอ้วน

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยฝีเต้านม

    ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย ทำการตรวจเต้านม อาจทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) หรือตรวจหนองภายใน

    การรักษาฝีเต้านม

    วิธีการรักษาฝีเต้านมคือการระบายหนองออกจากฝี โดยการฉีดยาชาก่อนที่จะทำการระบายหนองออก ในกรณีผู้ป่วยที่มีฝีขนาดใหญ่ แพทย์อาจต้องผ่าให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้หนองไหลออกมา และเปิดปากแผลไว้ และจ่ายยายาปฏิชีวนะให้รับประทาน 4-7 วัน เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาฝีเต้านม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาฝีเต้านมมีดังต่อไปนี้

    • ทาครีมบำรุงที่หัวนมเพื่อป้องกันหัวนมแตก ลดความของเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย
    • รักษาสุขอนามัยบริเวณเต้าและหัวนมให้สะอาดอยู่เสมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา