backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ลำไส้อุดตัน (Intestinal Obstruction)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 22/09/2020

ลำไส้อุดตัน (Intestinal Obstruction)

ลำไส้อุดตัน (Intestinal obstruction) หมายถึงภาวะที่มีอาหาร หรือของเหลวอุดตันอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็ก ซึ่งอาจมีได้ทั้งการอุดตันบางส่วน และการอุดตันทั้งหมด

คำจำกัดความ

ลำไส้อุดตัน คืออะไร

ลำไส้อุดตัน (Intestinal obstruction) หมายถึงภาวะที่มีอาหาร หรือของเหลวอุดตันอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็ก ซึ่งอาจมีได้ทั้งการอุดตันบางส่วน และการอุดตันทั้งหมด อาจจะมีสาเหตุมาจากพังผืดของเนื้อเยื่อในลำไส้ ที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดลำไส้ การอักเสบในลำไส้เนื่องจากสภาวะบางอย่าง ไส้เลื่อน หรือโรคมะเร็งลำไส้ จนทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง และท้องบวมได้

ภาวะลำไส้อุดตันนั้นเป็นภาวะที่อันตราย หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา อาจทำให้ลำไส้ส่วนที่อุดตันเสียหาย และนำไปสู่สภาวะที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ลำไส้อุดตัน พบบ่อยแค่ไหน

ยังไม่มีงานวิจัยที่จะทำให้สามารถสรุปได้ว่า ภาวะลำไส้อุดตันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน แต่จากข้อมูลพบ่วา ภาวะลำไส้อุดตันนั้นจะพบได้บ่อยกับผู้ที่มีปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับลำไส้ และอาจพบได้ในทารกแรกเกิดที่ระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์

อาการ

อาการของลำไส้อุดตัน

สัญญาณและอาการที่พบได้บ่อยของภาวะลำไส้อุดตันมีดังต่อไปนี้

  • ท้องอืดอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ท้องบวม
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องผูก
  • ผายลมไม่ได้

อาการเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการทั้งหมด ร่างกายของคนเราต่างกัน บางคนก็อาจจะมีอาการนอกเหนือจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

เนื่องจากภาวะลำไส้อุดตันนั้นเป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอย่างถูกต้อง หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณและอาการของภาวะลำไส้อุดตัน หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง โปรดเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและหาทางรักษาโรคในทันที

สาเหตุ

สาเหตุของลำไส้อุดตัน

สาเหตุการณ์เกิดภาวะลำไส้อุดตัน มีดังต่อไปนี้

  • พังผืดในลำไส้ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของเนื้อเยื่อ มาอุดตันในลำไส้
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • โรคลำไส้กลืนกัน (Intussusception)
  • ไส้เลื่อน
  • ลำไส้อักเสบและอาการบวมของลำไส้
  • ลำไส้บิด
  • เนื้องอกบางชนิด
  • หลอดเลือดเสียหาย ที่อาจทำให้เนื้อเยื่อในลำไส้ตาย และอุดตันลำไส้ได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของลำไส้อุดตัน

สภาวะบางอย่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลำไส้อุดตันได้ เช่น

  • การผ่าตัดในช่องท้อง หรือการผ่าตัดลำไส้
  • โรคโครห์น (Crohn’s Disease) ที่ทำให้ผนังลำไส้หนาขึ้น และอาจทำให้ลำไส้ตีบตันได้
  • โรคมะเร็งในช่องท้องหรือลำไส้

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยลำไส้อุดตัน

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ เพื่อดูว่าคุณเคยมีอาการป่วย อาการท้องผูก หรืออาการใหม่ๆ อะไรหรือไม่ จากนั้นแพทย์ก็อาจจะทำการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจร่างกาย เพื่อดูว่าคุณมีอาการบวม อาการปวดท้อง หรือมีก้อนในช่องท้องหรือไม่
  • ทำการตรวจเลือด
  • ทำการตรวจปัสสาวะ
  • เอกซเรย์ เพื่อให้ภาพว่ามีการอุดตันในลำไส้หรือไม่
  • ซีทีแสกน (Computerized tomography) ทำการแสกนภาพในบริเวณลำไส้ เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นได้ว่าในบริเวณลำไส้มีการอุดตันหรือมีปัญหาอะไรบ้าง การทำซีทีแสกนนั้นจะละเอียดกว่าเอกซเรย์
  • อัลตราซาวน์ วิธีการตรวนนี้มักจะใช้กับการวินิจฉัยภาวะลำไส้อัดตันในเด็ก
  • การสวนแป้งแบเรียม (Barium enema)
  • เพื่อหาความผิดปกติของลำไส้

การรักษาลำไส้อุดตัน

การรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและระดับความรุนแรงของการอุดตัน

ภาวะลำไส้อุดตันบางส่วนนั้นมักจะทำการรักษาโดยการปรับการรับประทานอาหาร เพื่อพักลำไส้ แพทย์อาจจะให้คุณรับประทานเพียงแค่ของเหลว และของที่มีใยอาหารน้อย เพื่อให้ลำไส้ได้หยุดพัก ร่วมกับการให้น้ำเกลือ เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย

สำหรับในกรณีที่รุนแรง อาจต้องใช้การผ่าตัดในการรักษาการอุดตันของลำไส้ โดยกระบวนการผ่าตัดนั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เกิดการอุดตัน และบริเวณของลำไส้ที่ได้รับผลกระทบ โดยปกติแล้วการผ่าตัดจะเป็นการตัดเอาสิ่งอุดตัน และเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายอย่างถาวรแล้วออกไป ก่อนจะเชื่อมต่อลำไส้ส่วนที่ยังดีอยู่เข้าด้วยกัน

นอกจากนี้ แพทย์ก็อาจจะให้ยาบางชนิด เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษา เช่น

  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ยาลดอาการคลื่นไส้ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณอาเจียน
  • ยาแก้ปวด

การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรพยายามรักษาด้วยตัวเอง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ หรือรักษาไม่ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับลำไส้อุดตัน

การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือกับภาวะลำไส้อุดตัน มีดังนี้

  • การรักษาภาวะลำไส้อุดตัน ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรพยายามรักษาด้วยตัวเอง แต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อย อาจสามารถช่วยจัดการกับปัญหาภาวะลำไส้อุดตันบางส่วนได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใดๆ

หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 22/09/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา