backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส (Actinic Keratosis) เป็นโรคผิวหนังที่ทำให้ผิวหนังมีลักษณะหยาบ ตกสะเด็ด ผิวลอก อีกทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ โรคนี้อาจสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และการลอกผิว เพื่อช่วยเผยผิวใหม่ที่สุขภาพดีออกมา

คำจำกัดความ

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส คืออะไร

โรคแอกทินิกเคอราโทซิส หรือที่เรียกว่า โซล่าเคอราโทซิส (Solar Keratosis) เป็นอาการผิวหนังหยาบ ตกสะเก็ด ลอกเป็นแผ่น เนื่องจากการโดนแสงแดดเป็นเวลานาน อาการนี้มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า ริมฝีปาก หู หลังมือ แขน กระโหลกศีรษะ หรือคอ โดยจะพบได้มากที่สุดในผู้ที่มีผิวขาว ผมบลอนด์หรือผมแดง และตาสีฟ้าหรือสีเขียว

ในกรณีส่วนใหญ่ โรคแอกทินิกเคอราโทซิสนั้นจะไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่มีบางส่วนที่โรคแอกทินิกเคอราโทซิสนั้นอาจจะกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้

โรคแอกทินิกเคอราโทซิสพบได้บ่อยหรือไม่

ยิ่งอาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด ก็จะมีแนวโน้มในการเป็นโรคแอกทินิกเคอราโทซิสมากเท่านั้น โรคนี้มักจะพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย เนื่องจากผู้ชายมักจะต้องเผชิญกับแสงแดดมากกว่า และยังมีการป้องกันแสงแดดน้อยกว่าผู้หญิงอีกด้วย โรคนี้สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคแอกทินิกเคอราโทซิสมีอะไรบ้าง

อาการของโรคแอกทินิกเคอราโทซิสเริ่มจาก อาการผิวหนังหนา หยาบ ตกสะเก็ด โดยปกติแล้วจะมีขนาดเท่ายางลบขนาดเล็ก นอกจากนี้ก็อาจจะมีอาการคัน หรือแสบร้อนร่วมด้วย

เมื่อเวลาผ่านไป รอยโรคอาจหายไป มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นอย่างเดิม หรือพัฒนาไปกลายเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้

สัญญาณและอาการของโรคแอกทินิกเคอราโทซิสได้แก่

  • อาการผิวหนังหนา หยาบ ตกสะเก็ด โดยปกติขนาดจะเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร
  • ผิวลอกเป็นแผ่น หรือเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง
  • ในบางครั้ง ผิวอาจจะแข็ง และมีลักษณะคล้ายหูด
  • มีอาการคันและแสบร้อน
  • โรคแอกทินิกเคอราโทซิสนั้นจะพบได้ในบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น ใบหน้า ริมฝาก หู มือ หน้าแขน หนังศีรษะ และคอ

ควรพบหมอเมื่อใด

การแยกระหว่างจุดที่ไม่เป็นมะเร็งและจุดที่เป็นมะเร็งนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากที่ ดังนั้น จึงควรไปพบหมอเพื่อทำการวินิจฉัย โดยเฉพาะหากรอยโรคนั้นยังคงอยู่ ขยายใหญ่ขึ้น หรือมีเลือดออก

หากคุณพบสัญญาณ หรืออาการที่กล่าวถึงเบื้องต้น หรือหากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลแสดงอาการไม่เหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดคือควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่ดีที่สุด

สาเหตุ

สาเหตุของโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

โรคนี้อาจเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม การสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานานๆนั้นถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบมากที่สุดของโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

รังสีอัลตร้าไวโอเลตที่แผ่ออกมาจากโคมไฟรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตนั้นเป็นอันตรายมากกว่าแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจึงเตือนให้ระมัดระวังเกี่ยวกับการทำผิวแทนโดยใช้โคมไฟรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต

ในบางครั้ง โรคแอกทินิกเคอราโทซิส อาจเกิดจากการโดนรังสีเอ็กซ์เรย์เป็นเวลานานๆ หรือเกิดจากการใช้สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมมากๆ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคแอกทินิกเคอราโทซิสคือ

คุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคแอกทินิกเคอราโทซิส ถ้าหาก

  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • อาศัยอยู่ในที่ที่มีแดดจัด
  • มีผิวสีอ่อนและตาสีฟ้า
  • มีแนวโน้มที่จะโดนแดดเผาได้ง่าย
  • เคยโดนแดดเผามาก่อน
  • ในช่วงชีวิตสัมผัสกับแดดบ่อย
  • มีไวรัสเอชพีวี (hpv)
  • มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นผลมาจากการทำเคมีบำบัด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเอดส์ หรือการปลูกถ่ายอวัยวะ

เข้าใจการวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับขอมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอ

การวินิยฉัยโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

คุณหมออาจจะสามารถวินิจฉัยได้โดยการส่องไฟหรือส่องด้วยแว่นขยายเพื่อตรวจหาการเจริญเติบโต ไฝ หรือรอยโรค นอกจากนี้แพทย์อาจทำการทดสอบอื่นๆ เช่น การทดสอบชิ้นเนื้อ โดยแพทย์จะนำตัวอย่างชิ้นเนื้อเล็กๆ ของคุณไปวิเคราะห์ในห้องทดลอง

แม้ภายหลังการรักษาโรคแอกทินิกเคอราโทซิสคุณหมอก็จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจผิวหนังอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อหาสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนัง

การรักษาโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

โรคแอกทินิกเคอราโทซิสเกือบทั้งหมดสามารถหายได้ หากรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคนี้จะกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง การรักษามีหลากหลายทางเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น อายุของผู้ป่วย และสุขภาพของผู้ป่วย วิธีการรักษาเหล่านี้ทำให้ผิวของคุณไวต่อแสงมากขึ้น ควรหมั่นใช้ครีมกันแดดในระหว่างการรักษา การรักษาที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • การแช่แข็งส่วนที่มีอาการด้วยไนโตรเจนเหลว (การผ่าตัดด้วยความเย็น) เพื่อกำจัดโรค การผ่าตัดด้วยความเย็น (หรือเรียกว่าการบำบัดด้วยความเย็นจัด) อาจทำให้เจ็บปวดเล็กน้อยแต่อาจคงอยู่ถึง 3 วัน การรักษาโดยทั่วไปใช้เวลา 7 ถึง 14 วัน และอาจมีแผลเป็นเล็กน้อย หรือไม่มีเลย ถึงแม้ว่าผู้ที่มีผิวสีเข้มแต่ก็อาจจะมีรอยเป็นสีขาว
  • การขูดผิวออกโดยใช้กระแสไฟฟ้า (การขูดเนื้อเยื่อ และศัลยกรรมไฟฟ้า) ผิวหนังจะถูกทำให้ชา และส่วนที่เป็นโรคจะถูกขูดออกด้วยเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายช้อน หลังจากการขูด จะมีการศัลยกรรมไฟฟ้าเพื่อควบคุมการหลั่งของเลือด และเพื่อทำลายเซลล์ที่ไม่ปกติที่ยังตกค้าง การขูดเนื้อเยื่อเป็นการรักษาที่ไว แต่อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็น บางครั้งอาจเป็นรอยแผลเป็นหนา หรือคีลอยด์เกิดขึ้นหลังรับการรักษาด้วยวิธีนี้ คีลอยด์อาจมีอาการคัน หรือมีขนาดใหญ่ขึ้นตามเวลาแต่ไม่ต้องทำการรักษาใดๆ
  • การโกนออกด้วยมีดผ่าตัด (การผ่าตัดออกโดยการโกน) ซึ่งทำเพื่อตัดส่วนที่เป็นโรคออก และตรวจสอบเซลล์เพื่อหาเซลล์มะเร็งชนิดเบซาล หรือชนิดสะความัส การรักษาโดยทั่วไปใช้เวลา 7-14 วัน อาจมีรอยแผลเป็น และการเปลี่ยนสีของผิวหนัง
  • การใช้สารเคมีในการลอกผิว (การลอกผลัดเซลล์ผิว) การทำเช่นนี้ก็เพื่อให้ผิวใหม่เติบโตขึ้นแทนที่ผิวที่เสียไป
  • การเลเซอร์ให้ผิวลอก (การเลเซอร์ผิวหนัง) ลำแสงเลเซอร์ที่ร้อนแรง (อย่างคาร์บอนไดออกไซด์ หรือซีโอทูเลเซอร์) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายผิวชั้นนอกสุด เมื่อบริเวณที่ได้รับการรักษาหายแล้ว ผิวใหม่จะเกิดขึ้นแทนที่ผิวที่ถูกทำลาย
  • การรักษาผิวด้วยตัวยาทาผิว อย่างฟลูออโรยูราซิล (5-เอฟยู), อิมมิควิโมด (อัลดารา) อินจีนอล เมบูเตต (พิคาโท), ไดโคลฟีแนค (โซลาราซ)
  • การใช้ยาและแสงในการทำลายเซลล์ (การบำบัดด้วยแสง) การบำบัดด้วยแสงนั้นใช้ตัวยาอย่างกรดอะมิโนเลวูลินิก (ALA) ทาบนผิวแล้วถึงใช้แสง แสงที่ว่าจะทำให้ตัวยาทำลายโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองแบบไหนที่จะช่วยจัดการกับโรคแอกทินิกเคอราโทซิส

วิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรคแอกทินิกเคอราโทซิส คือการป้องกันตัวเองจากแสงแดด เหล่านี้คือนิสัยในการป้องกันตนเองจากแดดที่ทำได้จริง

  • อยู่ในร่มเสมอ โดยเฉพาะเวลา 10 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น
  • หลีกเลี่ยงการอาบแดด และไม่อาบแดดด้วยเครื่องอบยูวีเด็ดขาด
  • ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด รวมถึงการใส่หมวกปีกกว้าง และแว่นตาป้องกันยูวี
  • ใช้ครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติในการป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี ที่มีค่าเอสพีเอฟตั้งแต่ 15 ขึ้นไปทุกวัน สำหรับการทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ยาวนาน ให้ใช้ครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี ที่มีค่าเอสพีเอฟตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
  • ทาครีมกันแดด 1 ออนซ์ (2 ช้อนโต๊ะ) ทาให้ทั่วตัว 30 นาทีก่อนออกนอกบ้าน และทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือหลังการว่ายน้ำ หรือออกเหงื่อมาก
  • ระวังการให้เด็กเกิดใหม่ถูกแสงแดด ควรใช้ครีมกันแดดกับทารกที่อายุเกิน 6 เดือน
  • ตรวจสอบผิวทั่วตัว ในทุกๆเดือน
  • พบคุณหมอทุก ๆ ปีเพื่อทำการทดสอบผิว

หากมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาคุณหมอเพื่อให้เข้าใจการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา