backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (Viral Gastroenteritis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ (Viral Gastroenteritis)

คำจำกัดความ

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ คืออะไร

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ หรือไวรัสลงกระเพาะ (Viral Gastroenteritis) หรือที่เรียกว่า ไข้หว้ดลงกระเพาะ (stomach flu) เป็นการติดเชื้อในลำไส้ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว ปวดท้องอย่างรุนแรง คลื่นไส้หรืออาเจียน และในบางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งอาจเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับทารก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะอาจถึงแก่ชีวิตได้

ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ พบได้บ่อยได้แค่ไหน

โรคไวรัสลงกระเพาะสามารถพบได้บ่อยมาก อย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการ

อาการทั่วไปของโรคไข้หวัดลงกระเพาะ ได้แก่

  • ถ่ายเหลว ซึ่งมักไม่มีเลือดปน การถ่ายที่มีเลือดปนมักเกิดจากการติดเชื้อชนิดอื่นที่รุนแรงกว่า
  • ปวดท้องรุนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการทั้งสองอย่าง
  • ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะในบางครั้ง
  • มีไข้ต่ำ
  • สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

    ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

    ควรเข้าพบคุณหมอ หากมีอาการดังต่อไปนี้

    • ไม่สามาถหยุดถ่ายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
    • อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 2 วัน หรืออาเจียนเป็นเลือด
    • มีภาวะขาดน้ำ คือเหงื่อออกมากกว่าปกติ ปากแห้ง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะไม่ออก รวมทั้งอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หรือมึนศีรษะอย่างรุนแรง
    • มีเลือดปนในอุจจาระ
    • มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส สำหรับผู้ใหญ่ และ 39 องศาเซลเซียส สำหรับทารกและเด็ก

    หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

    ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของ ไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

    สาเหตุที่พบได้มากที่สุดของโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ คือ การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน โดยมีไวรัสหลายชนิดที่สามารถทำให้เกิดโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ได้ เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) ไวรัสโรต้า (Rotavirus)

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

    กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสูงในการเกิดไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ ได้แก่

  • เด็กเล็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ การที่เด็กใช้เวลาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนประถมศึกษาก็ยิ่งทำให้เสี่ยงได้รับเชื้อสูงขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ใหญ่มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุในสถานพยาบาลจะมีความไวต่อเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงและอยู่อาศัยใกล้ชิดกับผู้สูงอายุรายอื่นที่อาจแพร่เชื้อโรคได้
  • เด็กนักเรียน ผู้อาศัยในหอพัก หรืออยู่ในสถานที่ปิดที่มีคนอยู่กันมากๆ ซึ่งถือเป็นสภาพแวดล้อมที่ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ผู้ที่มีการต้านเชื้อต่ำจากภาวะต่างๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความบกพร่องจากเชื้อเอชไอวี จากโรคเอดส์ การเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือภาวะสุขภาพอื่นๆอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น
  • การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

    ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

    การตรวจตามอาการและการตรวจร่างการมักนำมาใช้เพื่อวินิจฉัย

    โรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ นอกจากนี้ การตรวจอุจจาระก็สามารถ ตรวจจับโนโรไวรัส หรือไวรัสโรต้า ตลอดจนการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือพยาธิได้

    การรักษาโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

    ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ แม้แต่การใช้ยาปฏิชีวนะก็ไม่สามารถต้านไวรัสได้ อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปอาจทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาได้ การรักษาในเบื้องต้นที่แนะนำนั้นคือ การดูแลตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางประการอาจช่วยให้คุณรับมือกับโรคไวรัสลงกระเพาะและลำไส้ได้

    • ดื่มของเหลวใส เช่น น้ำเปล่า น้ำซุป ซึ่งเป็นของเหลวที่ดีที่สุดที่ควรบริโภค และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
    • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก กล้วย ไก่ และควรงดรับประทานอาหารใดๆ หากอาการคลื่นไส้กำเริบ
    • หลีกเลี่ยงอาหารและสารบางชนิดจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น เช่น  ผลิตภัณฑ์จากนม คาเฟอีน แอลกอฮอล์ นิโคติน อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด
    • พักผ่อนให้มากๆ อาการป่วยและภาวะขาดน้ำอาจทำให้คุณอ่อนเพลีย และเหนื่อยล้าได้

    หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา