backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia)

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้

คำจำกัดความ

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ คืออะไร

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้

อาการของโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ จะไม่ได้ดีขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา แต่อาจทำให้เกิดปัญหาที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ด้วยเหตุผลนี้ แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษาอาการไส้เลื่อนที่เกิดการเจ็บปวดหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น โรคนี้ทำให้หน้าท้องนูนขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อไอ ก้มตัวลง หรือทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก หรืออาจขัดขวางการทำงานของระบบย่อยอาหาร

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ พบบ่อยแค่ไหน

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเกิดได้กับคนทุกวัย การรักษาอาการของโรคสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

บางครั้งไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบอาจเกิดขึ้น โดยไม่ปรากฎอาการใดๆ หากลำไส้มีขนาดเล็ก คุณอาจไม่สังเกตเห็นหรือไม่รู้สึกเจ็บ ในบางกรณี อาจรู้สึกปวดหรือหน่วงบริเวณขาหนีบ โดยปกติ ลำไส้สามารถกลับสู่ภายในผนังช่องท้องได้ โดยการลดแรงดันที่ผนังช่องท้อง เช่น การเอนหลังหรือนอนราบ

ปัญหาอาจเกิดขึ้น เมื่อลำไส้ติดค้างอยู่ที่ผนังช่องท้อง ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนในลำไส้ เนื้อเยื่อในลำไส้อาจตาย เนื่องจากไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ อาจเกิดการอุดตันในระบบขับถ่าย และหากลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษา

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์

ควรพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์

  • มีอาการผิดปกติหรือสังเกตอาการนูนบริเวณท้อง
  • หากมีอาการปวดขณะก้ม และอาการดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
  • หากมีไข้สูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส
  • ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการติดต่อแพทย์

    สาเหตุ

    สาเหตุของโรคไส้เลื่อน

    ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเกิดจากผนังช่องท้องบาง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิดในผู้ใหญ่ และเกิดจากการที่ผนังช่องท้องยังไม่พัฒนาเต็มที่ในเด็ก โรคไส้เลื่อนเป็นโรคที่อาจใช้เวลาในการเกิดหรือสามารถเกิดได้เฉียบพลัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิด

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

    ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ มีดังนี้

    • เพศชาย โรคไส้เลื่อนเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาจเกี่ยวข้องกับลำไส้เคลื่อนลงจากผนังช่องท้องสู่ถุงอัณฑะในขณะที่เป็นทารก
    • ประวัติครอบครัว ความเสี่ยงของการเป็นโรคไส้เลื่อนจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีสมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อแม่หรือพี่น้อง เคยเป็นโรคนี้
    • ภาวะโรคต่างๆ อาการของโรคบางชนิด เช่น โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) และโรคท้องร่วงเรื้อรัง สามารถทำให้เกิดการไอเรื้อรัง ส่งผลให้เกิดแรงดันในผนังช่องท้องที่เพิ่มขึ้น
    • น้ำหนักมาก น้ำหนักที่มากเกินไปเพิ่มแรงดันในช่องท้อง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อท้องไม่แข็งแรง และทำให้เกิดความดันที่เพิ่มขึ้นในช่องท้อง
    • อาชีพบางอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานาน หรือใช้แรงงานหนัก เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคไส้เลื่อนได้

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลเหล่านี้ไม่เจตนาให้ใช้แทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

    แพทย์ทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายของผู้ป่วยในท่านั่งและท่ายืนขณะไอ หากสามารถสังเกตได้จากภายนอก แพทย์สามารถจับพบการนูนและถามผู้ป่วยว่ารู้สึกเจ็บบริเวณที่นูนขณะคลำหรือไม่

    ในบางกรณี การวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายถูกนำมาใช้เพื่อยืนยันและตรวจดูว่ามีอาการซับซ้อนใดหรือไม่ การวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย ได้แก่

    • การเอ็กซเรย์แบเรียม แพทย์จะให้กลืนของเหลวที่มีแบเรียมเพื่อให้ภาพของลำไส้ชัดเจนขึ้นบนฟิล์มเอกซเรย์
    • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร แพทย์ทำการใส่กล้องเข้าไปในช่องท้องเพื่อตรวจดูภายในช่องท้องของผู้ป่วย

    การรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

    แม้ว่าไส้เลื่อนเพียงเล็กน้อยอาจไม่ทำให้เกิดความรุนแรง แต่แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อป้องกันอาการที่อาจรุนแรงขึ้น สำหรับเด็กทารก แพทย์แนะนำให้ทำการผ่าตัดโดยเร็วเนื่องจากอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดได้

    การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคไส้เลื่อนอาจทำได้โดยวิธีการดั้งเดิม คือการใช้มีดผ่า หรือการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เมื่อแพทย์ผ่าตัด แพทย์จะใส่ท่อพร้อมกับกล้องและไฟส่อง เพื่อตรวจดูไส้เลื่อน และจะทำการคีบไส้เลื่อนยัดกลับไปในผนังช่องท้อง พร้อมกับการปิดโพรงบริเวณผนังช่องท้อง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ มีดังนี้

    • ใช้ยาแก้ปวดหลังจากการผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์
    • การเดินหรือขึ้นบันได ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหักโหม
    • ระวังไม่ให้เกิดอาการท้องผูก รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว คุณอาจต้องใช้ยาระบายอ่อนๆ เพื่อให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
    • ควบคุมน้ำหนัก 
    • พยายามอย่ายกของหนัก

    หากมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการักษาที่ดีที่สุด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา