backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจหมู่โลหิต (Blood Typing)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตรวจหมู่โลหิต (Blood Typing)

ตรวจหมู่โลหิต ใช้เพื่อระบุหมู่โลหิตของผู้ป่วยก่อนให้หรือรับเลือด และเพื่อระบุหมู่เลือดของผู้ที่ต้องการมีบุตรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเข้ากันไม่ได้ของ Rh ระหว่างมารดาและบุตร

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตรวจหมู่โลหิต คืออะไร

ในเลือดหมู่ต่างๆ นั้น มีสารชีวเคมีหรือแอนติเจน ABO (ABO antigens) และ Rh เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด โดยสามารถตรวจสอบเลือดของผู้บริจาคและเลือดของผู้ที่อาจจะรับบริจาค เพื่อดูการเข้ากันของเลือด นอกจากนี้ การทดสอบนี้ใช้ระบุหมู่เลือดของหญิงตั้งครรภ์และทารกเกิดใหม่ได้ด้วยบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ตลอดจนปฏิกิริยาข้ามกัน (cross-reactions) ระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีที่เกิดขึ้น เมื่อมีความไม่เข้ากันของหมู่เลือดต่างกลุ่ม หรือต่างระบบกัน

เลือดของมนุษย์ได้รับการจัดหมวดหมู่ตามการมีหรือไม่มีของแอนติเจนเอและบี ในเลือดกรุ๊ปเอ เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงจะประกอบด้วยแอนติเจนเอ ในเลือดกรุ๊ปบี เยื่อเม็ดเลือดแดงหมู่บีประกอบด้วยแอนติเจนบี ส่วนกรุ๊ปเลือดเอบี จะมีทั้งแอนติเจนเอและบีที่พื้นผิวของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ในขณะที่เลือดกรุ๊ปโอ จะไม่มีทั้งแอนติเจนเอและบีที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงเลย

โดยปกติแล้ว ซีรัมในเลือดของบุคคลหนึ่งจะประกอบด้วยแอนติบอดีที่เข้ากันกับแอนติเจนบนเซลล์เม็ดเลือดแดง หมายความว่าแอนติเจนเอ (หมู่เลือดเอ) จะไม่มีแอนติบอดี anti-A แต่จะมีแอนติบอดี anti-B ในทางกลับกัน ผู้ที่มีแอนติเจนบีจะไม่มีแอนติบอดี anti-B แต่จะมีแอนติบอดี anti-A ส่วนเลือดกรุ๊ปโอจะมีสารแอนติบอดีทั้ง anti-A และ anti-B โดยแอนติบอดีเหล่านี้จะผลิตขึ้นในสามเดือนแรกหลังคลอดโดยการสัมผัสกับสารแวดล้อม เช่น แอนติเจนจากเม็ดเลือดแดง หรือแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร

การถ่ายเลือด หมายความถึง การย้าย (ในที่นี้หมายถึงเลือด) จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผู้รับเลือดต้องไม่มีแอนติบอดีที่ต้านเม็ดเลือดแดงของผู้บริจาคเลือด หากสิ่งนี้เกิดขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity reaction) ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการไข้ต่ำหรือมีอาการเม็ดเลือดแดงแตกตัวในเส้นเลือด (intravascular hemolysis) ขั้นรุนแรง ในบางกรณีซึ่งพบได้น้อย คือแอนติบอดีในระบบเอบีโอของผู้บริจาคเลือดต่อต้านกับแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี (antinuclear antibody)

ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ปโอสามารถบริจาคเลือดให้กับเลือดทุกหมู่ได้ (โดยทั่วไป) เนื่องจากไม่มีแอนติเจนบนเซลล์เม็ดเลือดแดง ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ปเอบีสามารถรับเลือดได้จากทุกหมู่เนื่องจากไม่มีแอนติบอดีที่มีผลต่อการถ่ายเลือด กรุ๊ปเลือดโอมักมีการถ่ายเลือดในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเฉพาะในกรณีที่มีการสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือดทันที การถ่ายเลือดโดยใช้เลือดกรุ๊ปโอเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาต่อต้านน้อยมาก

ในการคลอดนั้น หากต้องมีการใช้เลือด หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับเลือดหมู่โอลบ (O negative) ส่วนในผู้ชายมักได้รับหมู่เลือดโอบวก (O positive) ในการถ่ายเลือดฉุกเฉิน

ผู้ที่มีหมู่เลือดระบบเอบีโอไม่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือดให้ตนเอง (การให้เลือดแก่ผู้ป่วยเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ก่อนทำการถ่ายเลือดครั้งใหญ่หรือการถ่ายเลือดหลังการผ่าตัด) อย่างไรก็ดี ในโรงพยาบาลส่วนใหญ การตรวจหมู่เลือด ABO จะดำเนินการต่อเมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องเก็บเลือดไว้เพื่อใช้ในกรณีที่มีแนวโน้มว่าจะเสียเลือดมาก

ประเภทของแอนติเจนและแอนติบอดีของเลือดแต่ละหมู่

  • หมู่เลือดเอ ประเภทแอนติเจน A แอนติบอดี B
  • หมู่เลือดบี ประเภทแอนติเจน B แอนติบอดี A
  • หมู่เลือด AB (ผู้รับเลือด) ประเภทแอนติเจน A, B
  • หมู่เลือด O (ผู้บริจาคเลือด) ไม่มีประเภทแอนติเจน A, B

หมู่เลือดระบบอาร์เอช (Rh)

การมีหรือไม่มีแอนติเจน Rh บนพื้นผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นการจำแนกว่าค่า Rh จะเป็นบวกหรือลบ การตรวจหมู่เลือดระบบอาร์เอชมีความสำคัญสำหรับการถ่ายเลือดมาก ส่วนประกอบสำคัญของกลุ่มเลือดระบบอาร์เอชคือ Rho หรือ แอนติเจน D นอกจากนี้ ยังมีแอนติเจนอีกสองสามประการที่สำคัญน้อยกว่า หากตวรจพบว่าไม่มีแอนติเจน Rho (D) แล้ว จึงจะตรวจหาแอนติเจน Rh ชนิดอื่นๆ และหากค่าเป็นลบ ผู้ป่วยจะถูกจัดว่ามี Rh negative (Rh-)

ระบบหมู่เลือดอื่นๆ

มีรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกัน 9 ประการเมื่อทำการวิเคราะห์หมู่เลือด ส่วนใหญ่มีความสำคัญน้อยและไม่มีผลต่อการตรวจทางคลินิกมากเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี การตรวจแอนติเจนของเลือดที่สำคัญน้อยกว่าอาจจำเป็นต่อการถ่ายเลือดในกรณีเฉพาะ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อมีการถ่ายเลือดหรือเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) โดยจะใช้วิธีการสังเคราะห์ชิ้นส่วนของดีเอ็นเอ ที่เรียกว่า Multiplex PCR Analysis microarray ซึ่งสามารถจำแนกตัวแปรที่สัมพันธ์กับระบบหมู่เลือดและมีประโยชน์ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยเฉพาะ

ความจำเป็นในการตรวจหมู่โลหิต

การตรวจเลือดใช้เพื่อระบุหมู่โลหิตของผู้ป่วยก่อนให้หรือรับเลือด และเพื่อระบุหมู่เลือดของผู้ที่ต้องการมีบุตรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเข้ากันไม่ได้ของ Rh ระหว่างมารดาและบุตร

สถานการณ์ที่จำเป็นต้องมีการถ่ายเลือด ได้แก่

  • ภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรงหรือความผิดปกติเกี่ยวกับโลหิตจาง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และธาลัสซีเมีย (โรคเกี่ยวกับเลือดแต่กำเนิด)
  • มีเลือดออกในระหว่างหรือหลังผ่าตัด
  • ได้รับบาดเจ็บเสียเลือดมาก
  • โรคมะเร็งหรือผลของเคมีบำบัด
  • พยาธิวิทยาเกี่ยวกับโลหิต เช่น ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

นอกจากนี้ การตรวจเลือดยังใช้เมื่อต้องการบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือไขกระดูก หรือกับผู้ป่วยที่ต้องการบริจาคเลือด การทดสอบแบบนี้เป็นหนึ่งในการทดสอบอีกหลายอย่างที่ดำเนินการเพื่อประเมินความเข้ากันได้ระหว่างผู้บริจาคและผู้รับเลือด

ในบางครั้ง การตรวจหมู่เลือดยังดำเนินการเพื่อตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วย

ข้อควรทราบก่อนตรวจ

ข้อควรทราบก่อนตรวจหมู่โลหิต

  • นอกเหนือจากแอนติเจนเอและบี เลือดยังมีแอนติเจนอีกเป็นจำนวนมาก การมีหมู่เลือดที่พบได้น้อยมักเป็นปัญหาเมื่อจำเป็นต้องได้รับเลือด
  • หากการถ่ายเลือดเข้ากันไม่ได้กับหมู่เลือดของผู้ป่วย จะเกิดปฏิกิริยาข้ามกัน

ดังนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคำเตือนและการป้องกันก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมุลและคำแนะนำเพิ่มเติม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ขั้นตอนการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจหมู่โลหิต

  • ควรฟังคำแนะนำเกี่ยวกับการทดสอบของแพทย์
  • ไม่จำเป็นต้องอดอาหารหรือการเตรียมตัวเฉพาะใดๆ ก่อนการตรวจ

ขั้นตอนการตรวจหมู่โลหิต

  • พันผ้ารอบแขนพื่อหยุดกระแสเลือด
  • ฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่เจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
  • เจาะเข็มเข้าไปในเส้นเลือด แพทย์อาจทำการเจาะมากกว่าหนึ่งครั้งหากจำเป็น
  • ใส่ท่อยางเข้าไปเพื่อบรรจุเลือด
  • นำผ้ารัดแขนออกหลังจากได้เลือดเพียงพอแล้ว
  • ใช้ผ้าพันแผลหรือสำลีปิดบริเวณที่เจาะเลือด
  • ใช้พลาสเตอร์ปิดแผลบริเวณที่เจาะเลือด

แพทย์หรือพยาบาลจะดำเนินการต่อไปนี้

  • เก็บตัวอย่างเลือดในหลอดที่มีฝาปิดสีแดง (สีของหลอดอาจแตกต่างกันออกไป)
  • หลีกเลี่ยงการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • ติดฉลากที่หลอดเก็บเลือดที่เหมาะสมก่อนส่งตรวจ

หลังการตรวจหมู่โลหิต

โดยทั่วไป จะไม่รู้สึกปวดเมื่อเจาะเลือด ในบางคนอาจรู้สึกปวดเมื่อเจาะเข็มเข้าผิวหนัง แต่เมื่อเจาะเข็มเข้าในเส้นเลือดและเริ่มเก็บตัวอย่างเลือดแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกปวด โดยทั่วไปแล้ว ระดับของอาการปวดขึ้นอยู่กับทักษะในการเจาะเลือดของพยาบาล ภาวะของเส้นเลือด และอาการไวต่ออาการปวดของแต่ละบุคคล

หลังจากได้ตัวอย่างเลือดแล้ว ต้องใช้ผ้าพันแผลและกดเบาๆ ที่รอยเจาะเพื่อห้ามเลือด และสามาถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติหลังการทดสอบเลือด

หากมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับการตรวจหมู่โลหิต โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจคำแนะนำของแพทย์ได้ดีขึ้น

ทำความเข้าใจผลการตรวจ

ผลการตรวจหมู่โลหิต

การระบุหมู่เลือดระบบ ABO

หากเซลล์เม็ดเลือดมีการรวมตัวกับ

  • ซีรัมที่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนเอ คุณมีหมู่เลือดเอ
  • ซีรัมที่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนบี คุณมีหมู่เลือดบี
  • ซีรัมที่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนเอและบี คุณมีหมู่เลือดเอบี
  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณไม่รวมตัวกันเมื่อผสมกับซีรัมแอนติบอดีเอและบี คุณมีหมู่เลือดโอ

การจำแนก

  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมเลือดหมู่บีกับตัวอย่างเลือด คุณมีหมู่เลือดเอ
  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมเลือดหมู่เอกับตัวอย่างเลือดเท่านั้น คุณมีหมู่เลือดบี
  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมเลือดหมู่เอหรือบีเท่านั้น คุณมีหมู่เลือดโอ
  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณไม่ติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมเลือดหมู่เอหรือบี คุณมีหมู่เลือดเอบี

การระบุหมู่เลือดระบบ Rh

  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมกับแอนติบอดีต่อ Rh คุณมีเลือด Rh-positive
  • หากเซลล์เม็ดเลือดของคุณไม่ติดเข้าด้วยกันเมื่อผสมกับแอนติบอดีต่อ Rh คุณมีเลือด Rh negative

จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ค่าปกติสำหรับการตรวจหมู่โลหิตอาจมีความหลากหลาย โปรดปรึกษาแพทย์หากมีคำถามใด ๆ เกี่ยวกับผลการทดสอบ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา