backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

Hyponatremia (โซเดียมในเลือดต่ำ) คือ อะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

Hyponatremia (โซเดียมในเลือดต่ำ) คือ อะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา

Hyponatremia คือ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปริมาณโซเดียมในร่างกายของคุณลดต่ำลงกว่าปกติ ซึ่งโซเดียมนั้น คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำบริเวณในและรอบ ๆ ของเซลล์ โดยมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต

คำจำกัดความ

Hyponatremia คือ อะไร

โซเดียมในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อปริมาณโซเดียม (Sodium) ในร่างกายของคุณลดต่ำลงกว่าปกติ ซึ่งโซเดียมนั้น คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำบริเวณในและรอบๆของเซลล์ โดยมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต โดยมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต

อย่างไรก็ตาม โดยปกติระดับโซเดียมจะต้องมีปริมาณระหว่าง 135-145 มิลลิอิควิวาเลนท์/ลิตร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน รู้สึกสับสน กล้ามเนื้ออ่อนล้าหมดแรง

โซเดียมในเลือดต่ำ พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ  พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กินอาหารที่มีโซเดียมต่ำ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น

อาการ

อาการของ Hyponatremia คือ อะไร

อาการโซเดียมในเลือดต่ำอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หากระดับโซเดียมในร่างกาย ค่อย ๆ ลดระดับลง อาจยังไม่มีอาการใด ๆ แต่หากลดลงอย่างรวดเร็ว อาจทำให้คุณหมดสติได้ โดยอาการทั่วไปจะมีลักษณะ ดังนี้

  • ปวดศีรษะ
  • เมื่อยล้า อ่อนแรง
  • อาเจียน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • รู้สึกสับสน มึนงง
  • มีอาการหงุดหงิดง่าย

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ Hyponatremia คือ 

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • มีอาการท้องเสีย หรืออาเจียนรุนแรง
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท และยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำมากจนเกินไปในระหว่างการออกกำลังกาย
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • ความผิดปกติของต่อมหมวกไต เช่น โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease)
  • กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม (Syndrome Of Inappropriate Anti-Diuretic Hormone: SIADH) ซึ่งทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้แทนการขับปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของอาการภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

ปัจจัยบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะโซเดียมต่ำ ดังนี้

  • อายุมากขึ้น
  • ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท
  • เป็นนักกีฬา
  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สภาพอากาศอบอุ่น
  • รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ
  • มีโรคประจำตัว เช่น มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น

หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโซเดียมต่ำ อาจต้องระมัดระวังในการบริโภคเกลือแร่และน้ำมากขึ้น

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย โซเดียมในเลือดต่ำ

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติ และตรวจเลือดเพื่อวัดระดับโซเดียมในร่างกาย ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการโซเดียมต่ำ แต่แพทย์อาจทำการทดสอบธาตุอิเล็กโทรไลต์ในเลือด

หากระดับโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติแพทย์อาจนำปัสสาวะมาตรวจหาปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ ผลการทดสอบนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถหาข้อบ่งชี้ของโรคได้อย่างชัดเจน

  • หากระดับโซเดียมในเลือดต่ำ แต่ระดับโซเดียมในปัสสาวะของคุณสูง หมายความว่า ร่างกายสูญเสียโซเดียมมากเกินไป
  • หากระดับโซเดียมต่ำทั้งในเลือดและปัสสาวะ หมายความว่าร่างกายไม่ได้รับปริมาณโซเดียมเพียงพอ อาจมีน้ำในร่างกายมากจนเกินไป

การรักษา โซเดียมในเลือดต่ำ

วิธีการรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ 

  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโซเดียมต่ำ ด้วยการรักษาระดับน้ำและอิเล็กโทรไลต์อย่างสมดุล
  • หากคุณเป็นนักกีฬา ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ผู้หญิงควรดื่มวันละ 2.2 ลิตร ผู้ชายควรดื่มวันละ 3 ลิตร และควรดื่มน้ำไม่เกิน 1 ลิตร/ชั่วโมง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา