backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

นิ้วซ้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/09/2023

นิ้วซ้น อาการ สาเหตุ วิธีรักษา และการป้องกัน

นิ้วซ้น (Finger Dislocation) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากกระดูกนิ้วเคลื่อนที่จากตำแหน่งปกติ สามารถเกิดได้กับข้อนิ้วข้อ แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ อาการซ้นที่นิ้วก้อยและนิ้วกลาง

คำจำกัดความ

นิ้วซ้น คืออะไร

นิ้วซ้น (Finger Dislocation) เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เกิดจากกระดูกนิ้วเคลื่อนที่หรือหลุดออกจากตำแหน่งปกติ โดยอาการนิ้วซ้นอาจเกิดขึ้นกับข้อต่อของนิ้วใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วก้อยและนิ้วกลาง

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการนิ้วซ้นเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในผู้ที่เล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล หรือทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการใช้นิ้วมือ

อาการ

อาการของนิ้วซ้น

ผู้ที่มีอาการนิ้วซ้น นิ้วจะมีลักษณะคดงอ บวม เจ็บปวดมาก และอาจมีอาการดังต่อไปนี้ด้วย

  • อาการชา หรือรู้สึกเสียวซ่า
  • นิ้วที่ซ้นมีสีซีด บาดเจ็บ
  • ข้อต่อนิ้วมีลักษณะคด หรือผิดรูป
  • มีอาการบวมช้ำบริเวณข้อต่อ
  • ขยับนิ้วไม่ได้
  • ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากมีสัญญาณของอาการนิ้วซ้น ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพราะหากเข้ารับการรักษาช้า อาจส่งผลให้ต้องรักษานานขึ้นหรือรักษายากขึ้น และอาจทำให้อาการหายช้า หรือทำให้นิ้วผิดปกติถาวรได้

    สาเหตุ

    สาเหตุของนิ้วซ้น

    นิ้วซ้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อย อาจมีดังต่อไปนี้

    • อุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล เบสบอล วอลเลย์บอล ซึ่งลูกบอลอาจกระแทกปลายนิ้วที่ยื่นออกมา จนทำให้นิ้วซ้นได้
    • การหกล้ม

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยนิ้วซ้น

    ในเบื้องต้นคุณหมอจะซักประวัติและดูอาการของผู้ป่วย และอาจเอกซเรย์ (X-ray) นิ้วที่มีอาการ เพื่อดูความผิดปกติของกระดูก

    การรักษานิ้วซ้น

    หากผู้ป่วยมีอาการนิ้วซ้น ควรรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาจากคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจทำให้กระดูกข้อนิ้วยิ่งเคลื่อนที่และรักษายากกว่าเดิม ในเบื้องต้น คุณหมออาจใช้ถุงน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวด

    หากกระดูกนิ้วหัก คุณหมออาจรักษาด้วยการเข้าเฝือกเพื่อดามกระดูกให้คงที่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 อาทิตย์ หรืออาจใช้เทปทางการแพทย์ ที่เรียกว่า บัดดี้เทป เพื่ดมัดนิ้วที่ซ้นติดกับนิ้วข้าง ๆ ที่ปกติ วิธีนี้จะช่วยพยุงนิ้วที่ซ้น ช่วยให้สามารถขยับนิ้วได้มากขึ้น และช่วยป้องกันข้อต่อกระดูกนิ้วตึง

    ในบางกรณี คุณหมออาจต้องผ่าตัดเพื่อจัดตำแหน่งนิ้ว และซ่อมแซมกระดูกที่หักหรือเอ็นที่ฉีกขาด เพื่อทำให้นิ้วกลับมาขยับได้ตามเดิม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันนิ้วซ้น

    วิธีต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงในการเกิดนิ้วซ้นได้

    • สวมอุปกรณ์กีฬาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บขณะเล่นกีฬา
    • หลีกเลี่ยงการสัญจรบนทางเดินขรุขระ พื้นไม่ราบเรียบ  เพื่อป้องกันการเดินหกล้ม
    • ถอดเครื่องประดับออกขณะเล่นกีฬา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา