สุขภาพ

สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้รวบรวมข้อมูลที่จะช่วยให้คุณดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นไว้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยคุณได้แน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพ

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

อากาศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้บ่อย ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจึงส่งผลให้โรคหลายชนิดแพร่ระบาดง่ายและรวดเร็ว การดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังต้องระมัดระวังโรคที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศเปลี่ยน [embed-health-tool-heart-rate] อากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ อากาศมักจะเปลี่ยนแปลงจากร้อนมากไปอากาศหนาว หรือมีฝนตกแบบฉับพลัน อาจมีหลายสภาพอากาศในหนึ่งวันสำหรับบางพื้นที่ โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ เช่น ช่วงเวลากลางวัน อากาศร้อนอบอ้าว แต่เมื่อฝนตกอากาศเย็นและเปียกชื้น หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม และหัด  โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง  โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด  โรคจากความร้อน โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก วิธีดูแลสุขภาพแต่ละช่วงวัย ในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวังสุขภาพมากเป็นพิเศษในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยมีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ ดังนี้ กลุ่มทารก : ทารกควรกินนมแม่เป็นประจำ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยเฉพาะทารกแรกเกิด-6 เดือน  กลุ่มเด็กเล็ก : เด็กเล็กสามารถกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนอายุครบ 2 ปี เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน : ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับช่วงวัย เลือกอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ พยายามลดความเครียดลง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงได้ กลุ่มผู้สูงอายุ […]

สำรวจ สุขภาพ

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อาการวัยทอง เกิดจากอะไร และรับมือได้อย่าง

อาการวัยทอง คือ ช่วงวัยที่มีระดับฮอร์โมนเพศลดลงเมื่ออายุมากขึ้นที่เข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยอาจสังเกตได้จากอารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่อย สภาพผิวเปลี่ยนแปลง  [embed-health-tool-ovulation] อาการวัยทองเกิดจากอะไร อาการวัยทอง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ที่มีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้ อาการวัยทองในผู้หญิง ฮอร์โมนเพศลดลง ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป การทำงานของรังไข่ที่ช่วยผลิตระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะเริ่มน้อยลง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญในภาวะเจริญพันธุ์และการมาของประจำเดือน จึงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมาน้อย และอาจหยุดลงเมื่ออายุ 40-50 ขึ้นไป การผ่าตัดรังไข่ออก เพราะรังไข่เป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ช่วยผลิตฮอร์โมนเพศและควบคุมการมาของประจำเดือน ดังนั้น เมื่อผ่าตัดนำรังไข่ออกทั้งหมดจะทำให้ประจำเดือนหยุดและเข้าสู่ช่วงวัยทอง การทำเคมีบำบัดและการฉายรังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของรังไข่ที่ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนลดลง ประจำเดือนหยุดลงและเริ่มมีอาการวัยทอง ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Primary ovarian insufficiency) อาจพบได้น้อยในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุมาจากรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ในระดับที่เพียงพอต่อร่างกาย จึงส่งผลให้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนถึงช่วงวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ อาการวัยทองในผู้ชาย อาการวัยในทองในผู้ชายอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงอายุ 45-50 ปีขึ้นไป และอาจมีอาการรุนแรงขึ้นหลังจากอายุ 70 ปี ซึ่งอาจตรวจสอบด้วยการเข้ารับการตรวจเลือดเมื่อเช็กระดับฮอร์โมนว่าลดลงหรือไม่ เพื่อรับการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวัยทอง หากมีอาการระดับรุนแรงที่นำไปสู่การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและภาวะซึมเศร้า อาการวัยทอง เป็นอย่างไร อาการวัยทองอาจสังเกตได้ ดังนี้ ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนหมดในผู้หญิงอารมณ์แปรปรวน ช่องคลอดแห้ง เจ็บเต้านม ซึมเศร้าและรู้สึกหดหู่ ปวดไมเกรน ร้อนวูบวาบ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เครื่องช่วยหายใจ คืออะไร ใช้อย่างไร

เครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจสามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจมักใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อในปอด ป่วยเป็นโรคโควิด-19 เป็นโรคหอบหืดหรือโรคปอดอักเสบ รวมทั้งใช้ระหว่างผ่าตัดด้วย [embed-health-tool-heart-rate] เครื่องช่วยหายใจคืออะไร เครื่องช่วยหายใจ (Mechanical Ventilation หรือ Ventilator) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่หายใจได้ลำบากหรือไม่สะดวก หายใจได้ตามปกติ ด้วยการปล่อยออกซิเจนเข้าไปในปอด และกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากปอดในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไป เครื่องช่วยหายใจนิยมใช้ในสถานพยาบาลหรือรถพยาบาล แต่หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง จึงมีการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่ออยู่บ้านด้วย ทั้งนี้ เครื่องช่วยหายใจมีอยู่ 2 แบบ คือแบบไม่ใส่ท่อ (Noninvasive Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับหน้ากากพลาสติกที่รัดกับใบหน้าของผู้ป่วย และแบบใส่ท่อ (Invasive Mechanical Ventilation) ซึ่งเชื่อมต่อกับท่อที่สอดเข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย และนิยมใช้ในกรณีที่มีอาการหายใจติดขัดหรือมีปัญหาระบบหายใจผิดปกติรุนแรง เครื่องช่วยหายใจใช้ตอนไหน เครื่องช่วยหายใจมักใช้ในสถานการณ์ต่อไปนี้ เมื่อเป็นโรคเกี่ยวกับปอด หรือมีการติดเชื้อบริเวณปอด ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการหายใจ เมื่อมีปัญหาสุขภาพฉุกเฉิน เช่น ภาวะแพ้รุนแรง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการหายใจ หรือทำให้หายใจไม่ออก เมื่อมีอาการป่วยหรือบาดเจ็บบริเวณสมอง ซึ่งทำให้การทำงานระหว่างสมองกับปอดบกพร่อง เป็นผลให้หายใจไม่สะดวก เมื่อมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงกว่าปกติ หรือออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เมื่อมีความเสี่ยงที่ของเหลวจะไหลเข้าไปในปอด ระหว่างผ่าตัด เนื่องจากยาสลบที่คุณหมอใช้มีออกฤทธิ์ทำให้หายใจลำบาก เครื่องช่วยหายใจ ต้องใช้นานแค่ไหน ระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจนั้นขึ้นอยู่กับอาการป่วยหรือภาวะสุขภาพของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม หากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณหมอมักเปลี่ยนจากการสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผ่านลำคอ เป็นการเจาะคอแล้วสอดท่อเข้าไปในหลอดลมแทน กระบวนการอื่น ๆ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ ระหว่างใช้เครื่องช่วยหายใจ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษ สาเหตุ อาการ การรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) หมายถึง การที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนจนมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งมักส่งผลให้มีอาการหัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลดลง หรือรู้สึกร้อนกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ไทรอยด์เป็นพิษรักษาให้หายได้จากการรับประทานยาและการผ่าตัด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษหมายถึงภาวะที่ร่างกายมีฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพหรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา จนก่อให้เกิดอาการป่วยต่าง ๆ ตามมา ทั้งนี้ ภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) หรือการที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งมักพบในเพศหญิงประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ และพบในเพศชายประมาณ 0.2 เปอร์เซ็นต์ อาการ อาการ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการที่พบได้ เมื่อมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ มีดังนี้ อาการในระดับเบาหรือปานกลาง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นเร็ว มักเกิน 100 ครั้ง/นาที กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตัวสั่น ประหม่า วิตกกังวล ขี้หงุดหงิด รู้สึกร้อนกว่าปกติ เหงื่อออก ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการในระดับรุนแรง หัวใจเต้นเร็วมาก ไข้สูง รู้สึกมึนงง ปั่นป่วน ท้องร่วง หมดสติ สาเหตุ สาเหตุของ ไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์เป็นพิษมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคเกรฟส์ (Graves’ Disease) เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากกว่าปกติ หรือมีภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไป […]


สุขภาพ

Massage (การนวด) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

Massage หมายถึง การนวด ซึ่งอาจมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การนวดแผนไทย การนวดน้ำมันอโรมา ที่อาจช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ลดความเครียด และอาจลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ โดยควรเลือกการนวดให้เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ ป้องกันอาการปวดเมื่อยแย่ลง [embed-health-tool-heart-rate] Massage คืออะไร Massage คือ การนวดบำบัดด้วยการใช้มือหรืออุปกรณ์กด บีบ คลึงกล้ามเนื้อหรือลูบผิวหนัง โดยเทคนิคและวิธีการนวดอาจแตกต่างกันตามแต่ละประเภท ดังนี้ นวดแผนไทย นวดแผนไทย คือ การนวดแผนโบราณซึ่งเป็นศาสตร์การบำบัดร่างกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย ปรับความยืดหยุ่นของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด โดยจะเน้นการนวด กด คลึง ดึง โยกและบีบด้วยมือหรือลูกประคบที่ทำจากสมุนไพร จากการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Science Monitor Basic Research เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการนวดแผนไทยต่อความเครียดทางจิตใจในคนที่มีสุขภาพดี โดยมีผู้เข้าร่วมการทดสอบจำนวน 29 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการนวดแผนไทยและกลุ่มที่ได้รับการบรรเทาความเครียดด้วยเทคนิคอื่น และเริ่มการทดสอบด้วยการกระตุ้นให้เกิดความเครียดทางจิตใจ พบว่า กลุ่มที่ได้รับการนวดแผนไทยมีระดับความเครียดทางจิตใจลดลง แต่อาจมีผลแค่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น […]


สุขภาพ

Toxic คืออะไร และวิธีรับมือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ Toxic

Toxic คือ คำที่มีความหมายว่า เป็นพิษ แต่อาจมีความหมายถึงผู้ที่แสดงความคิดและพฤติกรรมไม่ดีต่อผู้อื่นโดยที่อาจไม่รู้ตัวหรือตั้งใจ ทำให้บุคคลที่โดนกระทำไม่อยากอยู่ใกล้หรือเข้าสังคมกับคนกลุ่มนี้ แต่หากจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็ควรศึกษาถึงวิธีการรับมือกับพฤติกรรมหรือคำพูดที่อาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้รู้สึกหดหู่ ไม่มีความสุข เครียดและวิตกกังวล Toxic คืออะไร ปัจจุบัน คำว่า Toxic มักใช้เพื่อบ่งบอกถึงพฤติกรรมและความคิดเห็นเชิงลบที่บางคนอาจแสดงออกมาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจส่งผลไม่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น เช่น พฤติกรรมการหึงหวงมากผิดปกติ พฤติกรรม การนินทาลับหลังผู้อื่น การเอาแต่ใจยึดถือแต่ความคิดของตัวเอง Toxic นั้นไม่ถือเป็นโรคทางจิต แต่ปัญหาเกี่ยวกับสภาพจิตใจบางอย่างอาจส่งผลให้แสดงพฤติกรรมไม่ดีใส่ผู้อื่น เช่น ถูกละเลย ปัญหาในครอบครัว บาดแผลทางจิตใจที่เคยพบเจอมาแล้วจดจำไปแสดงต่อกับผู้อื่น ซึ่งหากไม่ปรับตัวลดความ Toxic ที่กระทำต่อผู้อื่นลงก็อาจส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าและใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขได้ [embed-health-tool-heart-rate] ปัญหา Toxic ที่พบได้บ่อย ปัญหา Toxic ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้ Toxic People (บุคคลที่เป็นพิษ) บุคคลที่เป็นพิษ คือ กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะชอบเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางไม่รับฟังผู้อื่น เอาแต่ใจ ชอบได้รับความสนใจ อิจฉาริษยา มองโลกในแง่ลบ โดยจะแสดงพฤติกรรม ความคิด และคำพูดออกมาในเชิงลบที่ไม่สนใจความรู้สึกคนรอบข้างว่าจะรู้สึกอย่างไร เช่น การพูดจาดูถูก การพูดจาใส่ร้าย การนินทาและชักจูงผู้อื่นให้ร่วมต่อต้านบุคคลที่ตัวเองไม่ชอบ การอยู่ร่วมกับบุคคลกลุ่มนี้จึงอาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ยาเสพติด ส่งผลต่อสุขภาพกาย จิตใจและสังคมอย่างไร

ยาเสพติด ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เนื่องจากยาเสพติดออกฤทธิ์กด กระตุ้น และหลอนประสาทจนทำให้เกิดอาการติดยาขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้เสพมีอาการเห็นภาพหลอน หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ขาดสติ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผู้เสพมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหาในสังคม เช่น การลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น เกิดอุบัติเหตุ [embed-health-tool-bmr] ยาเสพติด คืออะไร ยาเสพติด คือ สารที่อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือถูกสังเคราะห์ขึ้น และมีการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสมองและร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาในสังคมได้ด้วย โทษของยาเสพติด ต่อสุขภาพร่างกาย โทษของยาเสพติดอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความถี่ในการเสพ โดยอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายติดเชื้อง่ายและป่วยง่าย ความผิดปกติของหัวใจ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หัวใจวาย เส้นเลือดยุบตัว การติดเชื้อในกระแสเลือด อาการคลื่นไส้และปวดท้อง ซึ่งอาจส่งผลต่อความอยากอาหารจนอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลง เซลล์และเนื้อเยื่อในตับอักเสบมาก เนื่องจากตับต้องทำงานหนักในการขับสารพิษจากยาอยู่ตลอดเวลา จึงอาจส่งผลให้ตับอักเสบและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาต่อตับได้ ความผิดปกติทางสมอง เช่น อาการชัก โรคหลอดเลือดสมอง ความสับสนทางจิตใจ สมองได้รับความเสียหาย โรคปอด โดยเฉพาะการใช้ยาเสพติดด้วยการสูดดม อาจทำให้ปอดทำงานหนักมากขึ้นจนลุกลามกลายไปเป็นโรคปอดได้ ปัญหาในการใช้ชีวิต […]


สุขภาพ

โรคทางพันธุกรรม คืออะไร

โรคทางพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปสู่บุตรหลานรุ่นสู่รุ่น ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจดูแลตัวเอง ปรับวิถีการใช้ชีวิต หรือรับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โรคทางพันธุกรรม คืออะไร โรคทางพันธุกรรม คือ คำที่ใช้เรียกโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอ ที่ส่งผลทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติและถ่ายทอดไปยังบุตรหลานรุ่นสู่รุ่น ดีเอ็นเอนั้นประกอบด้วย ยีนที่รวมตัวกันจนกลายเป็นโครโมโซม ที่มีลักษณะเป็นแท่งเกลียว สำหรับผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX ส่วนผู้ชายจะมีโครโมโซม XY โดยปกติแล้วโครโมโซมจะมีจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ เช่น ผิว ใบหน้า สีผม ความสูง จากพ่อแม่สู่ลูก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ ก็อาจส่งผลให้เด็กมีลักษณะผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรืออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมบางอย่างได้ ประเภทของโรคทางพันธุกรรม ประเภทของโรคทางพันธุกรรม มีดังนี้ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนเดี่ยว (Single Gene Disorder) คือ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกิดความผิดปกติของยีน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. โรคที่เกิดจากยีนเด่น (Autosomal Dominant) คือ การที่ลูกได้รับยีนเด่นซึ่งเป็นยีนที่แสดงลักษณะเด่น เช่น ผมหยิก ห่อลิ้น พับลิ้นได้ […]


สุขภาพ

Introvert คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง

Introvert (อินโทรเวิร์ต) คือ บุคคลที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว ซึ่งอาจถูกผู้คนมองว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางจิตใจ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องปกติและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนบุคคลอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม สาเหตุบางอย่างอาจส่งผลให้เป็นอินโทรเวิร์ตโดยไม่รู้ตัว เช่น การต้องกักตัวในช่วงโควิด-19 ความเครียด ความเหนื่อยล้า การชอบความสงบ ซึ่งอาจทำให้มีอาการที่คล้ายกับภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ดังนั้น หากมีข้อกังวลหรือมีข้อสงสัยว่ามีความผิดปกติ ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอและแจ้งอาการที่เป็นให้คุณหมอทราบเพื่อรับการวินิจฉัยให้แน่ชัด [embed-health-tool-bmi] Introvert คืออะไร Introvert คือ บุคคลที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าเข้าสังคมไม่ได้ แค่ชอบความเงียบสงบและรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่กับตัวเองหรือคนกลุ่มน้อยมากกว่า ซึ่งนับว่าเป็นบุคลิกทั่วไปของมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเป็นโรค การเป็นอินโทรเวิร์ตไม่ได้หมายความว่าจะชอบเก็บตัวเสมอไป บางคนอาจสามารถเข้าสังคมพบปะเพื่อนหรือชอบออกไปเที่ยวเหมือนคนอื่น ๆ เพียงแต่อาจจำเป็นต้องมีช่วงเวลาอยู่ตัวคนเดียวเพื่อเติมพลังให้ตัวเอง แตกต่างจากบุคลิกแบบเอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) ที่ชื่นชอบการอยู่รวมกับคนกลุ่มใหญ่ ไม่ชอบอยู่คนเดียว และรู้สึกว่าการใช้เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ คือการเติมพลังให้ตัวเอง นอกจากนี้ คนที่เป็นอินโทรเวิร์ตบางคนอาจมีอาการคล้ายกับโรคทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms) ฮิคิโคโมริ ซินโดรม (Hikikomori Syndrome) ดังนั้น หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์แปรปรวน เหม่อลอย […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไทรอยด์ และโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคบางอย่างหรือเมื่อร่างกายตกอยู่ในภาวะไม่ปกติ เช่น อยู่ในภาวะหลังคลอดบุตร หรือได้รับการฉายแสง อาจส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ [embed-health-tool-bmi] ไทรอยด์คืออะไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำคอ หรือข้างใต้ลูกกระเดือก เรื่อยไปจนถึงหลอดลม มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อแบ่งเป็นสองพูซึ่งเชื่อมกันตรงกลางด้วยส่วนที่เรียกว่าคอคอดหรืออิสมัส (Isthmus) โดยมีน้ำหนักรวมประมาณ 25 กรัม ไทรอยด์ สำคัญต่อร่างกายอย่างไร ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไธรอกซิน (Thyroxine หรือ T4) และไธไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine หรือ T3) เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานให้สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ร่างกายต้องการ ทั้งนี้ การทำงานของไทรอยด์ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ผ่านฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid-stimulating Hormone หรือ TSH) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมไม่ให้ไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากหรือน้อยเกินไป จนนำไปสู่ความผิดปกติภายในร่างกาย นอกจากนั้น ฮอร์โมนไธรอกซินและไธไอโอโดไธโรนีน ยังมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้ เร่งหรือชะลอการเต้นของหัวใจ เพิ่มหรือลดอุณหภูมิภายในร่างกาย เสริมสร้างพัฒนาการให้สมองส่วนต่าง ๆ ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ รักษาความแข็งแรงของผิวหนังและกระดูก โรคต่าง ๆ เกี่ยวกับ ไทรอยด์ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ […]


อาการของโรค

SLE คือ อะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

SLE คือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรืออาจเรียกว่า “โรคพุ่มพวง” ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่อาจสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือด ข้อต่อ ผิวหนัง ไต สมอง หัวใจ ปอด โรคแพ้ภูมิตัวเองไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่การรักษาอาจช่วยควบคุมหรือบรรเทาอาการได้ SLE คืออะไร  โรค Systemic Lupus Erythematosus หรือ SLE คือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานผิดปกติ โดยปกติแล้ว เม็ดเลือดขาวจะมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม แต่ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นระบบภูมิกันกลับไปทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง เนื่องจากอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต  อาการของ SLE อาการของ SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยอาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ มีไข้  มีแผลบริเวณเพดานปาก  มีผื่นสีแดงรูปผีเสื้อบริเวณจมูกและแก้ม หรือตามลำตัว  ปวดศีรษะ สับสน มึนงง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม