backup og meta

อาหารเสริมถังเช่า สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หรือผู้ร้ายทำลายไต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/01/2021

    อาหารเสริมถังเช่า สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หรือผู้ร้ายทำลายไต

    ในปัจจุบันนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของ ถังเช่า กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะเชื่อกันว่าเป็นสุดยอดสมุนไพร ที่สามารถช่วยบำรุงร่างกาย และป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้ แต่จริง ๆ แล้ว อาหารเสริมถังเช่า นั้นดีต่อสุขภาพจริง หรืออันตรายต่อร่างกายกันแน่ มาหาคำตอบพร้อมกันกับ Hello คุณหมอ เลยค่ะ

    เห็ดถังเช่า คืออะไร

    เห็ดถังเช่า (Cordyceps) คือเชื้อราชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเห็ดสีน้ำตาลหรือสีส้ม รูปร่างคล้ายกับนิ้วมือ งอกขึ้นมาจากตัวหนอนผีเสื้อ ถังเช่านั้นได้มีการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในตำรับยาจีนตั้งแต่โบราณ เพื่อช่วยเสริมพละกำลัง บำรุงร่างกาย อีกทั้งยังอาจใช้เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคเบาหวาน หรือคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น

    เห็ดถังเช่านั้นกลายมาเป็นหนึ่งในส่วนผสม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในการนำมาทำเป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม เห็ดถังเช่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่หายาก และไม่เพียงพอต่อการผลิตเป็นอาหารเสริม ดังนั้น ถังเช่าในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส่วนใหญ่ จึงมักจะเป็นถังเช่าที่เพาะขึ้นภายในห้องแล็บนั่นเอง

    ประโยชน์ของ อาหารเสริมถังเช่า

    ประโยชน์ที่ได้จากการับประทานถังเช่า อาจมีดังต่อไปนี้

    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย

    มีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานอาหารเสริมถังเช่าเป็นประจำ อาจสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาได้ โดยการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจนของร่างกาย โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการออกกำลังกาย

    งานวิจัยนั้นได้ทดลองให้ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจำนวน 30 คน มาขี่จักรยาน โดยแบ่งให้กลุ่มหนึ่งได้รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของถังเช่าวันละ 3 กรัม ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอก และทำการวัดค่าการใช้ออกซิเจนของร่างกายเมื่อออกกำลังกายให้เหนื่อยที่สุด (VO2 max) เพื่อดูระดับความฟิตของร่างกายเมื่อออกกำลังกาย พบว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมถังเช่า จะมีค่า VO2 max ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก

    อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่า สรรพคุณของอาหารเสริมถังเช่านั้นอาจจะไม่มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายของนักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีแล้ว

    ช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน

    การรับประทานถังเช่า อาจสามารถช่วยในการจัดการและควบคุมโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานสารสกัดจากถังเช่า อาจสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และลดน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการควบคุมโรคเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาจช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินได้

    อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยนั้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดถังเช่า ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อระดับน้ำตาลในเลือด และแก้ไขภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) แต่อย่างใด

    ข้อควรคำนึงในการกินอาหารเสริมถังเช่า

    ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

    แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการรับประทานถังเช่าอยู่จริง แต่งานวิจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม และยังไม่อาจสามารถสรุปข้อเท็จจริงของผลการวิจัยได้อย่างแน่ชัด

    อาจมีผลข้างเคียง

    การรับประทานถังเช่านั้นอาจจะมีความปลอดภัยหากรับประทานในระยะสั้น แต่บางคนที่รับประทานถังเช่า ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น

    ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะไม่มีอันตราย และหายไปได้เองหลังจากหยุดกินอาหารเสริม แต่อย่างไรก็ตาม บางคนก็อาจจะมีอาการที่รุนแรง หรือไม่ยอมหายได้ หากคุณสังเกตพบว่าอาการผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่หายไป แม้ว่าจะหยุดกินอาหารเสริมถังเช่าแล้วก็ตาม ควรรีบติดต่อแพทย์ในทันที

    อาจเป็นอันตรายต่อไต

    การรับประทานอาหารเสริมต่าง ๆ อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ที่ทำหน้าที่กรองของเสียได้ โดยเฉพาะหากกินในปริมาณมาก หรือกินนานกว่าที่กำหนด ทางที่ดีก่อนจะกินอาหารเสริมใด ๆ ควรอ่านฉลากยาที่ระบุข้างกล่องให้ดี และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้แน่ชัด

    สุดท้ายนี้ แม้ว่าการใช้อาหารเสริมถังเช่าอาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกายจริง แต่การใช้สมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง ก็อาจจะกลายเป็นยาพิษที่ทำร้ายร่างกายของเราได้ ดังนั้น ก่อนจะเลือกรับประทานอาหารเสริมใด ๆ ควรศึกษาข้อมูลให้ดี และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองค่ะ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา