backup og meta

สูตรน้ำเต้าหู้ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    สูตรน้ำเต้าหู้ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

    น้ำเต้าหู้ เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่หลายๆ คนเลือกดื่มในยามเช้า เพราะนอกจากจะให้อิ่มท้องแล้ว ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ทั้งมีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงสุขภาพของกระดูกและฟัน อีกทั้งยังมีโปรตีนสูงและมีไขมันต่ำ ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ สูตรน้ำเต้าหู้ แบบทำง่าย ๆ และดีต่อสุขภาพ

    น้ำเต้าหู้ มีประโยชน์อย่างไร

    โดยปกติแล้วในนมนั้นจะอุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งในน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ก็อุดมไปด้วยแคลเซียมเช่นกัน แต่นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยโปรตีน ทั้งยังมีไขมันอิ่มตัวต่ำอีกด้วย จึงสามารถบอกได้ว่า น้ำเต้าหู้ นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

    นอกจากนั้นจากการศึกษายังพบด้วยว่า น้ำเต้าหู้ ยังอุดมไปด้วย ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งเป็นสารเคมีจากพืชที่อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens) ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน และยังมีสารประกอบที่ช่วยลดอาการของวัยหมดประจำเดือนได้ด้วย

    น้ำเต้าหู้ ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?

    ไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) คือสิ่งหลักที่พบได้ในถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลืองถือเป็นส่วนผสมหลักที่อยู่ในน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองนั่นเอง ดังนั้นการดื่มน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง จึงดีต่อสุขภาพ ดังนี้

    • ลดคอเลสเตอรอลและไขมัน
    • ปรับปรุงภาวะเจริญพันธุ์
    • ลดอาการของวัยหมดประจำเดือน

    แต่ในทางกลับกัน น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ก็อาจจะมีผลเสียได้เช่นกัน ดังนี้

    • ไม่ทราบผลของมะเร็งเต้านม
    • ส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์
    • ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศชาย
    • ถั่วเหลืองส่วนใหญ่มีจีเอ็มโอ (Genetically Modified Organismsหรือ GMOs)

    สูตรน้ำเต้าหู้

    วัตถุดิบ

    1. ถั่วเหลือง 500 กรัม (แช่น้ำไว้ 5 ชั่วโมง)
    2. ใบเตย 2 ใบ
    3. น้ำตาลทราย 60 กรัม
    4. น้ำเปล่า 1,000 มิลลิลิตร

    อุปกรณ์

    • เครื่องปั่น
    • หม้อ
    • ผ้าขาวบาง

    วิธีทำ

    1. ตักถั่วเหลือง, น้ำเปล่า ลงในโถปั่น ปั่นให้ละเอียดจากนั้นนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง
    2. รวบผ้าขาวบางและบิดผ้าให้แน่นเพื่อให้ได้น้ำเต้าหู้ลงในหม้อ
    3. นำน้ำเต้าหู้ลงต้มพร้อมกับใบเตย โดยใช้ไฟอ่อนในการต้ม
    4. เมื่อเริ่มเดือดให้เติมน้ำตาลทรายลงไปช้อนฟองเต้าหู้ทิ้งไป
    5. จัดเสิร์ฟได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น

    อย่างไรก็ตาม หากต้องการบริโภคน้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ควรพิจารณาตามความเหมาะสมของร่างกายว่า ร่างกายควรได้รับ น้ำเต้าหู้ หรือนมถั่วเหลือง ในปริมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม หรือทางที่ดี ควรไปปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้คำแนะนำที่ถูกต้อง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา