backup og meta

ผลไม้ต้านมะเร็ง มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    ผลไม้ต้านมะเร็ง มีอะไรบ้าง

    มะเร็ง เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายผิดปกติ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรทั่วโลก และพฤิตกรรมการรับประทานอาหารก็อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง หากรับประทาน ผลไม้ต้านมะเร็ง ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ ทั้งนี้ ควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพชนิดอื่น เช่น ผักสดหลากสี เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี ร่วมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งแต่ละชนิด ตามเวลาที่เหมาะสม หรือตามที่คุณหมอนัด หากพบสัญญาณของโรคมะเร็ง คุณหมอจะได้รักษาได้โดยเร็วที่สุด

    อาหารกับการ ป้องกันมะเร็ง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

    “You are what you eat” หรือ กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ยังคงเป็นประโยคที่ใช้ได้ดีในปัจจุบัน เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปจะมีผลต่อร่างกายของเราเสมอ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เมื่อเรารับประทานอาหารจนเต็มที่แล้ว เราจะรู้สึกอิ่มทันที แต่นอกเหนือไปจากการรับประทานให้อิ่มเพื่อเพิ่มพลังงานแล้ว อาหารก็ยังส่งผลต่อร่างกายของเราในอีกหลาย ๆ แง่มุม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างร่ายกายให้สมบูรณ์และแข็งแรง ตลอดจนช่วยป้องกันและบรรเทาอาการทางสุขภาพได้อีกด้วย โดยเฉพาะกับโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารบางอย่างอาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ โดยเฉพาะ เนื้อแดง เนื้อแปรรูป เนื่องจากมีสารก่อมะเร็งปะปนในอาหาร หรือเกิดขึ้นในกระบวนการปรุงอาหาร ขณะเดียวกันการรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง สารต้านอนุมูลอิสระ ก็จะมีส่วนช่วย ป้องกันมะเร็ง ได้ด้วยเช่นกัน 

    ผลไม้ต้านมะเร็ง มีอะไรบ้าง

    หนึ่งในอาหารดี ๆ ที่มีส่วนช่วย ป้องกันมะเร็ง ได้เป็นอย่างดีก็คืออาหารจำพวกผลไม้ การรับประทานผลไม้ดังต่อไปนี้ อาจสามารถลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้

    แอปเปิ้ล ป้องกันมะเร็ง

    หนึ่งในผลไม้ที่แทบจะอยู่ในทุกหมวดหมู่ของอาหารเพื่อสุขภาพก็คือแอปเปิ้ล ทั้งนี้เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง และให้สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ รวมถึงแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ อีกมากมาย โดยจากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ไฟเบอร์และสารโพลีฟีนอล (Polyphenol)  ในแอปเปิ้ล เป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ ช่วยในการย่อยอาหารและการขับถ่าย และลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้อีกด้วย มากไปกว่านั้น ยังพบว่าการรับประทานแอปเปิ้ลเป็นประจำยังมีส่วนช่วยลดโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงด้วยเช่นกัน

    ส้ม

    ส้ม เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของวิตามินซี ซึ่งวิตามินซีนี้จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีส่วนช่วย ป้องกันมะเร็ง ได้ และจากผลการวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ผู้ที่รับประทานส้มหรือน้ำส้มคั้นสด 3-4 วันต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มในการเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่รับประทานผลไม้ หรือรับประทานเพียง 2 วันต่อสัปดาห์ ถึง 2 เท่า

    ผลไม้ตระกูลเบอร์รี

    หากจะไล่เรียงเบอร์รีออกมาแต่ละชนิดก็คงจะไม่สามารถไล่เรียงได้หมด เพราะผลไม้ที่จัดอยู่ในตระกูลเบอร์รีนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น บลูเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี ราสเบอร์รี หรือมัลเบอร์รี ซึ่งเบอร์รีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ก็เป็นสุดยอดของอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะเป็นกลุ่มผลไม้ที่มีไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระสูง รวมถึงแร่ธาตุและสารอาหารต่าง ๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะ แอลลาจิแทนนิน (Ellagitannin) ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่พบได้ในพืช และมีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

    องุ่น

    นอกเหนือจากแร่ธาตุและสารอาหารในองุ่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว อีกหนึ่งสารประกอบที่โดดเด่นขององุ่นก็คือ โปรแอนโทรไซยานิดิน (Proanthocyanidin) ซึ่งพบได้มากในเมล็ดองุ่น และเปลือกองุ่น มีฤทธิ์ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ และเป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรียชั้นดีในลำไส้ มีส่วนช่วย ป้องกันมะเร็ง ได้

    กีวี 

    กีวี เป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ให้วิตามินซีและไฟเบอร์สูง ดีต่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อลำไส้ การรับประทานกีวีเป็นประจำ จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจำพวก มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่

    อย่างไรก็ตาม การรับประทานผลไม้เป็นประจำ ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงได้บ้าง และนอกจากการรับประทานผลไม้แล้ว การรับประทานผักเป็นประจำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่สูบบุหรี่ ก็จะช่วย ป้องกันมะเร็ง ได้มากขึ้นอีกด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา