backup og meta

5 คำถามคาใจที่ใครๆ ควรรู้เกี่ยวกับ ไข้เลือดออก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    5 คำถามคาใจที่ใครๆ ควรรู้เกี่ยวกับ ไข้เลือดออก

    ไข้เด็งกี่ (Dengue) หรือ ไข้เลือดออก (Dengue Herrmohagic fever) เป็นเชื้อโรคอันตรายที่อาจเกิดได้เมื่อคนเราถูกยุงกัด เนื่องจากทุกคนสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ การรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้นจึงอาจช่วยปกป้องตัวเองได้ดีขึ้น

    ไข้เลือดออก คืออะไร

    ไข้เด็งกี่ หรือไข้เลือดออก เป็นโรคร้ายที่มีแมลง (ยุงลาย) เป็นพาหะนำพาเอาเชื้อไวรัสเด็งกี่มาสู่ร่างกายคนเรา โดยยุงไวรัสเด็งกี่มีด้วยกัน 4 ชนิด คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 และไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีปัญหาเรื่องไข้เลือดออกหรือไข้เด็งกี่ แต่โรคนี้พบได้ทั่วไปในเขตเส้นศูนย์สูตรและเขตร้อนชื้น อย่างเช่นประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก แอฟริกา และแคริบเบียน

    อาการของไข้เลือดออกเป็นอย่างไร

    คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นไข้เลือดออกแบบไม่รุนแรงจะไม่มีอาการใดๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปรากฏขึ้น ปกติมักจะเป็นในช่วง 4-10 วันหลังจาที่มีการติดเชื้อแล้ว อาการของไข้เลือดออกจะมีเป็นดังนี้คือ

    • มีไข้สูง (40ºC)
    • ปวดหัวรุนแรง
    • ปวดตามข้อ
    • ปวดกระบอกตา
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • ปวดกระดูก
    • มีผื่นแดงขึ้นกระจายตามลำตัว
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • อ่อนแรง
    • มีเลือดออก (อย่างเช่นในจมูก เหงือก เกิดรอยช้ำตามลำตัว)

    เด็กเล็กและคนที่เป็นไข้เด็งกี่ครั้งแรกมักจะมีอาการของโรคไม่รุนแรงมากนัก แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่สอง โดยที่เชื้อต่างสายพันธ์ุกับครั้งแรก อาการมักรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือเสียชีวิต หรือเมื่อกลายเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (Dengue Herrmohagic fever) ในภาวะที่วิฤกตที่สุดจะกินเวลา 3-7 วัน หลังจากที่สังเกตเห็นสัญญาณแรกของโรค ต่อมน้ำเหลืองและหลอดเลือดอาจเสียหายได้ ทำให้เกิดอาการรุนแรงอันได้แก่

    • มีเลือดออกจากจมูกและเหงือก
    • อาเจียนออกมาเป็นเลือด
    • อ่อนล้าหมดแรง
    • หายใจหอบถี่
    • มีอาหารปวดท้องรุนแรง
    • เลือดออกภายใต้ผิว ซึ่งทำให้ดูเหมือนเกิดรอยฟกช้ำ
    • ตับโต
    • มีปัญหากับระบบไหลเวียนโลหิต

    อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

    ถ้าสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกจะทำอย่างไร

    ถ้าคุณสงสัยว่าคุณอาจเป็นไข้เด็งกี่ ควรไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หมอจะเช็คอาการและสัญญาณต่างๆ ถามคุณเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ตรวจเลือดเพื่อดูว่าคุณมีไวรัสเด็งกี่หรือไม่ จากนั้น หมอจะคิดโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมตามความจำเป็น

    ทางเลือกในการรักษา

    ในตอนนี้ ยังไม่มียาต้านไวรัสสำหรับไข้เด็งกี่หรือไข้เลือดออกโดยเฉพาะ หมออาจแนะนำวิธีการบางอย่างต่อไปนี้ เพื่อให้บรรเทาอาการและทำให้คุณรู้สึกสบายขึ้น ได้แก่

    • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดน้ำเนื่องจากอาการไข้และการอาเจียน
    • กินยาอะซิโตมิโนเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการไข้
    • ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของไอบูโพรเฟนและนาพร็อกเซน โซเดียม เนื่องมาจากมันอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกเพิ่มมากขึ้นได้

    ถ้าคุณรู้สึกแย่ลง ควรไปพบหมอเพื่อให้ตรวจสอบอาหารอีกครั้ง ไข้เลือดออกในแบบรุนแรงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อช่วยจัดการกับอาการต่างๆ ควรมีการจับตาดูความดัน การให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ และการถ่ายเลือด

    ป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างไร

    ปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก อย่างเช่น วัคซีน “เดงวาเซีย’ ซึ่งได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย แต่เนื่องจากมีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนชนิดนี้ โดยวัคซีนอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสเด็งกี่มาก่อน แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมา ก่อนทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงไม่แนะนำให้ฉีดในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน และกรมควบคุมโรคก็ยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก

    ดังนั้น จนกว่าจะมีการรับรองความปลอดภัยในการฉีดวัคซีนตัวนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคก็คือ การปกป้องตัวเองจากการถูกยุงกัด และลดจำนวนยุงในบริเวณใกล้เคียง และนี่คือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจช่วยได้

    • อย่าพยายามอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีผู้คนแออัดในช่วงมีสถานการณ์ระบาดของโรค
    • ใช้ยากันยุงที่มีประสิทธิภาพ เช่น ยากันยุงที่มีส่วนผสมของเพอร์เมธริน (Permethrin) ซึ่งสามารถฉีดที่เสื้อผ้า รองเท้า หรือบริเวณที่นอนได้
    • เวลาอยู่นอกอาคาร ควรใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว เพื่อปกป้องตัวเองไม่ให้โดนยุงกัด
    • อยู่ในห้องปรับอากาศหรือบ้านที่มีการปกป้องยุงอย่างดี
    • เพื่อลดประชากรยุง ควรกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุง เช่น แหล่งที่อาจมีน้ำขังรอบๆ บริเวณบ้าน ภาชนะใส่น้ำที่อาจเป็นที่วางไข่ของยุงควรมีฝาปิด

    ปกป้องตัวเองและครอบครัวให้ดี เพราะเชื้อไวรัสสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ผ่านทางการถูกยุงกัด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรค แต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา