backup og meta

ไอตอนกลางคืน สาเหตุและวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

    ไอตอนกลางคืน สาเหตุและวิธีช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น

    ไอตอนกลางคืน เป็นอาการไอที่เกิดในช่วงเวลากลางคืน โดยเฉพาะระหว่างการนอนหลับ ซึ่งมักมีอาการจากอาการคันคอเล็กน้อยเรื่อยไปจนถึงอาการไออย่างรุนแรง ทำให้รบกวนการนอนหลับ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ อะไรคือสาเหตุการไอตอนกลางคืน และมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

    สาเหตุของการไอตอนกลางคืน  

    อาการไอ เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต้องการกำจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เมือก เสมหะ เชื้อโรค สารพิษ ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจเกิดความระคายเคืองออกไปจากร่างกาย ส่วนอาการ ไอตอนกลางคืน  เป็นอาการไอที่มักเกิดในช่วงกลางคืน โดยเฉพาะเวลานอนหลับ สาเหตุที่ทำให้เกิดการไอตอนกลางคืน มักจะมาจากปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดังต่อไปนี้

    หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้กลายเป็นไอเรื้อรัง อาจรบกวนการนอนหลับ และอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในภายหลัง

    วิธีแก้ไอตอนกลางคืน

    วิธีบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนอาจทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง หรือการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อช่วยให้อาการไอดีขึ้นได้ ดังต่อไปนี้

    ปรับหัวเตียงให้เอียงขึ้น

    เนื่องจากสารก่อความระคายเคืองทั้งหลายสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้โดยง่าย เมื่อร่างกายอยู่ในท่านอนราบ ดังนั้น อาจปรับให้นอนหมอนสูงขึ้น เพื่อให้ศีรษะอยู่ในระดับสูงขึ้นจากที่นอนเล็กน้อย

    จิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้ง 

    การผสมน้ำผึ้งลงในเครื่องดื่มอุ่น ๆอาจช่วยละลายเสมหะที่ติดในลำคอได้ ลองใช้น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเครื่องดื่มสุขภาพ เช่น ชาสมุนไพรต่าง ๆ ที่ปราศจากคาเฟอีน แล้วดื่มก่อนเข้านอน อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรให้แด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่มน้ำผึ้ง

    ใช้ยาแก้ไอ 

    หากเกิดอาการไออย่างรุนแรงจนรบกวนการนอนหลับอย่างมาก ยาแก้ไอ ถือเป็นตัวช่วยในการบรรเทาอาการเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับอาการไอ  โดยยาแก้ไอมี 3 ชนิด ได้แก่

    • ยาลดหรือระงับอาการไอ ยาชนิดนี้ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ มักมีตัวยาสำคัญคือ โคเดอีน (Codeine)
    • ยาขับเสมหะ ยาชนิดนี้จะกระตุ้นการขับเสมหะโดยกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ มักมีตัวยาสำคัญคือ ไกวเฟนิซิน (Guaifenesin)
    • ยาละลายเสมหะ ยาชนิดนี้จะช่วยลดความเหนียวของเสมหะลงทำให้ร่างกายกำจัดหรือขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ตัวยาสำคัญในยาละลายเสมหะ คือ อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้โมเลกุลเสมหะแตกตัวและหลุดจากผนังหลอดลมได้ง่าย ร่างกายจึงสามารถกำจัดเสมหะออกมาได้ดีขึ้น

    รักษาอาการกรดไหลย้อน

    โรคกรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของอาการไอแบบรุนแรงในตอนกลางคืน ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการไอตอนกลางคืน จึงควรหาวิธีรักษาภาวะโรคไหลย้อน โดยปฏิบัติดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยต้องสังเกตอาหารที่กินในแต่ละวันว่าทำให้ร่างกายมีอาการของโรคกรดไหลย้อนหรือไม่
    • ไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ควรรอประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งขึ้นไป
    • หนุนศีรษะให้สูงกว่าที่นอนประมาณ 6-8 นิ้ว

    ใช้เครื่องกรองอากาศ และเครื่องนอนที่ป้องกันอาการภูมิแพ้

    สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว  โอกาสไอตอนกลางคืนจะมีสูงกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงเวลานอน ตัวการสำคัญที่ทำให้ไอตอนกลางคืน ได้แก่ ไรฝุ่น หรือสะเก็ดผิวหนังสัตว์เลี้ยงที่ติดอยู่บนที่นอน ดังนั้น ควรดูแลรักษาความสะอาดห้องนอนให้ปราศจากไรฝุ่น โดยปฏิบัติดังนี้

  • ใช้ปลอกหมอน ผ้านวม ฟูก ชนิดป้องกันไรฝุ่น
  • ซักทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำอุ่นสัปดาห์ละครั้ง
  • ใช้เครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองประเภท HEPA เพื่อช่วยกรองสารก่อภูมิแพ้
  • ไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในห้องนอนเพราะขนของสัตว์เลี้ยงอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองของทางเดินหายใจได้
  • ป้องกันห้องนอนให้ไกลจากแมลงสาบและแมลง

    น้ำลายของเห็บ และเศษซากของแมลงสาบ เป็นหนึ่งในสาหตุสำคัญของการไอตอนกลางคืน  ควรรักษาความสะอาด และสุขภาวะภายในบ้าน เพื่อลดจำนวนแมลงสาบ โดยปิดฝาภาชนะใส่อาหารทุกครั้ง รวมทั้งกำจัดกองหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ซึ่งเป็นตัวก่อฝุ่นและเป็นที่หลบซ่อนของแมลงสาบและเหล่าแมลงอื่น ๆ

    เลิกสูบบุหรี่

    การสูบหรี่เป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ซึ่งมักไอรุนแรงระว่างนอนหลับ การเลิกบุหรี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการช่วยบรรเทาอาการไอตอนกลางคืน และยังดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน · แก้ไขล่าสุด 27/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา