backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมาก (​Prostate Cancer) คือโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ชาย เกิดขึ้นในบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ผลิตอสุจิ และอาจลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้ หากสังเกตว่ามีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว

คำจำกัดความ

มะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง และพบได้บ่อย ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณต่อมลูกหมากของเพศชาย ต่อมนี้มีลักษณะเหมือนถั่ววอลนัทเม็ดเล็กๆ ผลิตน้ำอสุจิที่เป็นสารอาหารและช่วยขับเคลื่อนสเปิร์ม มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในประเภทของมะเร็งที่พบเจอได้มากที่สุดในเพศชาย ปกติมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะลุกลามอย่างช้าๆ และตอนแรกมักจะอยู่ในเฉพาะบริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงนัก ในขณะที่มะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิด จะลุกลามอย่างช้าๆ และอาจต้องการการรักษาเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการรักษาเลย แต่มะเร็งบางประเภทอาจมีอาการรุนแรงและแพร่ขยายได้ไวมาก มะเร็งต่อมลูกหมากที่พบตั้งแต่เนิ่นๆ ในขณะที่มันยังอยู่บริเวณต่อมลูกหมาก มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมากมีโอกาสพบได้บ่อยแค่ไหน

มะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบผู้ชายหลายพันคนในช่วงวัยกลางคนจนถึงวัยท้ายของชีวิต มะเร็งต่อมลูกหมากที่พบส่วนใหญ่จะเกิดกับเพศชายที่มีอายุมากกว่า 65 ขึ้นไป ในปี 2013 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ประเมินไว้ว่า จำนวนเพศชายชาวอเมริกัน กว่า 239,000 คน จะต้องโดนวินิจฉัยเจอโรคนี้

อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้สามารถจัดการได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง

โปรดปรึกษากับคุณหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากอาจไม่แสดงสัญญาณหรืออาการใดๆ ในช่วงแรก มะเร็งต่อมลูกหมากที่พัฒนามากขึ้น อาจแสดงสัญาณและอาการดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาในการปัสสาวะ
  • ความแรงในการปล่อยปัสสาวะลดลง
  • มีเลือดปนอยู่ในอสุจิ
  • รู้สึกเจ็บบริเวณเชิงกราน
  • ปวดกระดูก
  • อวัยวะเพศมีปัญหาไม่แข็งตัว
  • หมดสติ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบคุณหมอ

หากมีสัญญาณหรืออาการอะไรก็ตามที่เหมือนอาการตามด้านบน หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับหมอ ร่างกายของทุกคนแสดงออกแตกต่างกันไป มันจึงดีที่สุดเสมอในการปรึกษากับหมอ

สาเหตุ

สาเหตุที่ก่อให้เกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก

จนถึงปัจจุบัน ก็ยังหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ได้ หมอหลายคนทราบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากนั้นจะเริ่มเกิดเมื่อเซลล์บางตัวในต่อมลูกหมากมีความผิดปกติ การกลายพันธุ์ในดีเอนเอเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้เซลล์เติบโตและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วกว่าเซลล์ปกติ เซลล์ที่ผิดปกติจะมีชีวิตอยู่ ขณะที่เซลล์ปกติจะค่อยๆ ตายลง การเพิ่มจำนวนและสะสมตัวของเซลล์ผิดปกติ สร้างให้เกิดเป็นเนื้องอกที่สามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง เซลล์ผิดปกติบางตัวสามารถลุกลามและแพร่ขยาย (ระยะแพร่กระจาย) ไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • สูงอายุ ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ
  • สีผิว ผู้ชายผิวดำ มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้มากกว่าชาติพันธุ์อื่น ในกลุ่มคนผิวสี มะเร็งต่อมลูกหมากยังมีความเป็นไปได้ที่จะรุนแรง หรืออันตรายมากขึ้น แต่ยังไม่มีเหตุผลแน่ชัดว่าเพราะอะไร
  • กรรมพันธุ์ หากผู้ชายในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น และถ้าหากมียีนที่สืบทอดกันในครอบครัวซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม (BRCA1 or BRCA2) หรือครอบครัวที่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจน ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็อาจเพิ่มสูงขึ้น
  • โรคอ้วน โรคอ้วน หรือผู้ชายอ้วนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งชนิดที่ซับซ้อนซึ่งยากแก่การรักษา
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่สามารถทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ กรุณาปรึกษากับคุณหมอของท่านทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติม

    การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

    การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะตัดสินโดยอ้างอิงจากการทดสอบทางกายภาพ ประวัติสุขภาพ และการทดสอบอื่นๆ เช่น

    การทดสอบทางทวารหนัก

    นี่เป็นการทดสอบทางกายภาพ ซึ่งแพทย์จะตรวจสอบต่อมลูกหมากผ่านทวารหนัก โดยการใช้นิ้วที่สวมถุงมือเพื่อคลำหาว่า มีก้อนแข็งที่อาจจะเป็นเนื้องอกอยู่ตรงต่อมลูกหมากหรือไม่

    การตรวจเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก

    คุณหมออาจจะสั่งให้ตัดเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ในกระบวนการตรวจเนื้อเยื่อ ชิ้นส่วนขนาดเล็กจากต่อมลูกหมาก จะถูกตัดออกและนำไปทดสอบต่อไป

    การฉายภาพอวัยวะภายในร่างกาย (MRI)

    อาจมีการใช้วิธีการตรวจภายในด้วยการสแกนกระดูก หรือการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

    สมาคมแพทย์โรคทางเดินปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกา ไม่สนับสนุนวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต อย่างการตรวจเลือดเพื่อหาสารแอนติเจน (PSA) หรือสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก นั่นเป็นเพราะความเสี่ยงของกระบวนการที่ตามมาโดยไม่จำเป็นส่งผลเสียมากกว่าประโยชน์ การตรวจเลือดเป็นการเช็คจำนวนสารแอนติเจนเฉพาะอย่างในเลือด อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอีกมากมายว่า ทำไมอาจจะมีค่า PSA ในเลือด ซึ่งนั่นจะนำไปสู่การวินิจฉัยผิดพลาด และการรักษาที่ไม่จำเป็น

    อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากจริงๆ การทดสอบนี้ก็ยังสามารถปฎิบัติต่อไปได้เพื่อประเมินขนาดและระยะการแพร่กระจายของมะเร็ง ก่อนที่จะตัดสินใจตรวจ PSA ปรึกษากับคุณหมอถึงความความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

    การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมีวิธีการอย่างไร

    หากถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ขึ้นอยู่กว่าความร้ายแรงของมะเร็ง และระยะของการแพร่กระจาย หมอจะเป็นผู้แนะนำทางเลือกในการรักษา หากมะเร็งไม่ได้มีความรุนแรง นักกายภาพอาจจะแนะนำให้คอยจับตาดู หรือเฝ้าระวังในเชิงรุก การผ่าตัด การฉายรังสี การบำบัดด้วยความเย็น การบำบัดด้วยฮอร์โมน และเคมีบำบัด เป็นทางเลือกการรักษา โดยหมอจะหาการรักษาที่เหมาะสมสำหรับมะเร็ง จากพื้นฐานของอายุ สุขภาพ สถานะ และระยะมะเร็ง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองแบบไหนที่ช่วยจัดการกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

    เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ประกอบไปด้วยผักและผลไม้

    หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เน้นไปที่ผัก ผลไม้ต่างๆ และธัญพืชแทน ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แม้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ ที่ชัดเจนว่าอาจสามารถหลีกเลี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากได้ผ่านการควบคุมอาหาร แต่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยผักและผลไม้หลายชนิด จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

    เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแทนอาหารเสริม

    ไม่มีงานวิจัยใดที่แสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมมีบทบาทในการลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลองเลือกกินอาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุแทน เพื่อที่จะได้รักษาระดับวิตามินที่ดีต่อสุขภาพร่างกายเอาไว้ได้

    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    การออกกำลังกายจะช่วยพัฒนาสุขภาพโดยรวม ช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น มีหลักฐานบางอย่างชี้ว่าผู้ชายที่ไม่ออกกำลังกายมีระดับ PSA สูงกว่า ในขณะที่ผู้ชายที่ออกกำลังกายอาจจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่า

    ควบคุมน้ำหนัก

    หากน้ำหนักปัจจุบันนั้นอยู่ในเกณฑ์ดี พยายามรักษามันไว้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ หากต้องการลดน้ำหนัก เพิ่มการออกกำลังกาย และลดจำนวนแคลอรี่ที่รับประทานแต่ละวัน ขอความช่วยเหลือจากหมอ ในการวางแผนเพื่อการลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา